หาความเข้าใจ (แนวทางสายกลาง)  (อ่าน 2802 ครั้ง)

muneer abdullok

  • บุคคลทั่วไป
หาความเข้าใจ (แนวทางสายกลาง)
« เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2010, 12:16:43 am »
แนวทางสายกลางคือ แนวทางแบบใด
ยามาอะฮ์อิควานมุสลิมูน คือ กลุ่มใด แนวคิด จุดยืนอย่างไร

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ตอบ : หาความเข้าใจ (แนวทางสายกลาง)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 05, 2011, 09:55:47 pm »
الحمد لله والصلاة والسلام على رسول الله   وبعد

แนวทางสายกลางคือ “ศาสนาอิสลาม” นั้นเอง ดังที่อีหม่าม อัฏ-เฏาะหาวียฺ กล่าวไว้ในตำรา “อัล-อะกีดะฮฺ” อัฏ- เฏาะหาวียะฮฺ ของท่านว่า :

  ودين الله فى السماء والأرض واحد، وهودين الإسلام قال تعالى { ان الدين عند الله الإسلام } وقال تعالى { ورضيت لكم الاسلام د ينا } وهوبين الغلو والتقصير، وبين التشبيه والتعطيل ، وبين الجبر والقد روبين الأمن والإياس

“และศาสนาของอัลลอฮฺ ทั้งในชั้นฟ้าและแผ่นดินนั้น หนึ่งเดียวคือ ศาสนาอิสลาม พระองค์ตรัสว่า “แท้จริงศาสนา ณ อัลลอฮฺคือ อิสลาม” และทรงตรัสว่า : “และข้าพอใจให้อิสลามเป็นศาสนาสำหรับพวกเจ้าแล้ว” คือ ศาสนาที่ (มีหลักคำสอนและแนวทาง) อยู่ระหว่างความสุดโต่ง และการบกพร่อง และอยู่ระหว่างการเปรียบ (คุณลักษณะของอัลลอฮฺกับสิ่งที่ถูกสร้าง) และการทำให้ (คุณลักษณะของอัลลอฮฺ) หยุดชะงัก (คือปฏิเสธคุณลักษณะของอัลลอฮฺ) และอยู่ระหว่างอัลญับรฺ (คือความเชื่อที่ว่า มนุษย์เป็นไปตามลิขิตของอัลลอฮฺโดยไม่มีสิทธิเลือก และไม่มีการขวนขวาย) และ อัลก็อดรฺ (คือ ความเชื่อที่ว่ามนุษย์มีเสรีสมบูรณ์ในการกระทำและไม่ได้อยู่ภายใต้ลิขิตของอัลลอฮฺ) และอยู่ระหว่าง “ความประมาท” (คือ วางใจในพระเมตาของอัลลอฮฺโดยประมาทอาญา และโทษทัณฑ์ของพระองค์) และ  ความสิ้นหวัง  (คือหมดหวังจากพระเมตาของอัลลอฮฺ และหวาดกลัวต่ออาญาและการลงทัณฑ์ของพระองค์จนเลยเถิด)


ความเป็นทางสายกลางของศาสนาอิสลามคือ มิใช่ตะวันตก และมิใช่ตะวันออก หลักความเชื่อ เช่น ความเชื่อในพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวก็เป็นกลางอยู่ระหว่างความเชื่อที่ตกขอบ และสุดขั้ว 2 ฝ่ายคือ ความเชื่อที่ปฏิเสธพระเจ้า แต่อิสลามยืนยัน และเชื่อว่าพระเจ้ามี และความเชื่อที่ว่าพระเจ้ามีหลายองค์ แต่อิสลามยืนยัน และเชื่อว่าพระเจ้ามีองค์เดียวเท่านั้น หลักนิติธรรมอิสลามตั้งอยู่บนพื้นฐานของการให้ความสมดุลระหว่าง วัตถุและจิตวิญญาณ การดำเนินชีวิตอย่างเป็นปรกติสุขในโลกนี้ และเชื่อในชีวิตหลังความตาย


กล่าวคือให้ความสำคัญทั้งในเรื่องโลกนี้ และโลกหน้า ในอิสลามไม่มีวรรณะของพระสงฆ์หรือบรรพชิต หลักคำสอนของอิสลามไม่ขัดกับธรรมชาติของมนุษย์ที่พระผู้เป็นเจ้าทรงกำหนดไว้ พิธีกรรม และศาสนกิจในศาสนาอิสลามมีความพอดี เป็นกลาง และปฏิบัติได้ไม่ซับซ้อน หรือเคร่งเครียดจนเกินพอดี  ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งจากคุณลักษณะอันเป็นทางสายกลางของศาสนาอิสลามที่เรียกว่า อัล-วะสะฏียะฮฺ


ส่วนกลุ่มญะมาอะฮฺ อิควาน อัลมุสลิมีน นั้น ถูกก่อตั้งโดย ชัยคฺ หะสัน อัลบันนา เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1906 ในเมืองมะหฺมูดียะฮฺ อียิปต์ เมื่ออายุได้ 16 ปี หะสัน อัลบันนา ได้เข้าศึกษาที่ ดารุลอุลูม กรุงไคโร และจบการศึกษาในปี ค.ศ. 1927  เมื่ออายุได้ 21 ปี แล้วเข้าเป็นครูในโรงเรียนรัฐบาล ที่จังหวัด อิสไมเลีย (อิสมาอิลียะฮฺ) ซึ่งหลังจากนั้นไม่กี่เดือน หะสัน อัลบันนา ก็จัดตั้งสมาคม ภราดรมุสลิม (หรือ ญะมาอะฮฺ อิควาน อัลมุสลิมีน) ในปี ค.ศ. 1933 หะสัน อัลบันนา ได้ย้ายศูนย์บัญชาการของกลุ่ม จากอิสไมเลีย ไปยังกรุงไคโรโดยนโยบายของกลุ่มมุ่งเน้นในประเด็นหลักๆดังนี้

- ให้การศึกษาตามแบบอิสลาม
- จัดตั้งข่ายงานตามมัสญิด
- จัดสร้างโรงเรียน และศูนย์สังคมสงเคราะห์
- ปฏิรูปสังคมของอียิปต์ และเรียกร้องให้นำกฎหมายอิสลามมาใช้บังคับ
- มีจดหมายถึงผู้ปกครองของอียิปต์ โดยเรียกร้องให้เลิกวิถีแบบตะวันตก และหันมาปฏิบัติตามหลักการของศาสนา เป็นต้น


ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ขบวนการ อิควาน อัลมุสลิมีน มีบทบาทสำคัญอย่างมากโดยเรียกร้องให้ลุกขึ้นสู้กับจักรวรรดินิยมอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1948 กลุ่มอิควานได้เข้าเป็นกองทัพอาสาสมัครต่อสู้กับรัฐอิสราเอล และพวกไซออนิสต์ จากการที่ขบวนการอิควานมีบทบาทตามลำดับ ทำให้ผู้มีอำนาจของอียิปต์ในเวลานั้น ได้ประกาศว่าขบวนการอิควานเป็นขบวนการผิดกฎหมาย ในปี ค.ศ. 1948 นับแต่นั้นสมาชิกของขบวนการอิควานก็ถูกจับกุมคุมขัง และถูกกวาดล้าง ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1949 ชัยคฺ หะสัน อัลบันนาก็ถูกลอบสังหารในกรุงไคโร


ในทุกวันนี้แนวความคิดของขบวนการอัลอิควาน ยังคงมีอยู่ในเกือบทุกประเทศของโลกอาหรับ และมีการปรับแนวทางในเชิง รอมชอมแบบสันติวิธีมากกว่าในอดีต มีการตั้งพรรคการเมือง มีการตั้งกลุ่มเผยแพร่แนวทางที่ชัดเจน ทั้งในอียิปต์ และนอกอียิปต์ อย่างไรก็ตาม ขบวนการ อัล – อิควาน ก็ยังคงเป็นที่จับตาดูของฝ่ายอำนาจรัฐ และบ่อยครั้งที่พวกเขาถูกยัดเยียดข้อหาว่า อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์สร้างความรุนแรงในอียิปต์ และกลุ่มประเทศอาหรับ บุคคลหนึ่งที่เป็นสมาชิกของกลุ่ม อิควาน ก็คือ สัยยิดกุฏุบฺ ผู้เขียนตำรา “ฟีซิลาลิลกุรอาน” อันโด่งดัง และ ดร.ยูสุฟ อัล – กอรฎอวีย์ ในช่วงวัยหนุ่มของท่านก็เคยเข้าร่วมกลุ่มขบวนการ อัล – อิควาน อัล – มุสลิมีน เช่นกัน


(والله اعلم بالصواب)