ตำแหน่งจุฬาราชมนตรี  (อ่าน 3255 ครั้ง)

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ตำแหน่งจุฬาราชมนตรี
« เมื่อ: มกราคม 22, 2011, 10:08:41 pm »
salam  อ.อาลี
ผมมีปมอยากจะให้อาจารย์คลายหน่อยครับ
1.ตำแหน่ง จุฬาราชมนตรีในประเทศไทย เป็นตำแหน่งผู้นำสูงสุดของคนมุสลิมในประเทศไทยหรือเปล่าครับ พอจะมีหลักฐานการเป็นผู้นำผู้ตามมั้ยครับ
2.เกี่ยวกับเรื่องทัศนของอุลา มะที่ไม่ตรงกันเราควรตามองค์กรไหนถูกต้องที่สุดครับ เช่น การเข้าบวช ออกบวช พอจะมีหลักฐานการเป็นผู้นำผู้ตามมั้ยครับ
3.ผมเคยได้ยินมาว่าบางองค์กร จะตั้งสภาอุลามะในองค์กรเพื่อสำหรับแ้ก้ไขปัญหาเรื่องชารีอะห์อิสลามโดย บอกว่าไม่เกี่ยวกับสำนักจุฬาฯ เรื่องศาสนาใครจะทำยังไงก็ได้ที่มันถูกต้อง แล้วคนมุสลิมจะฟังใครดีระหว่างสำนักจุฬากับองค์กรบางกลุ่ม
4.ผมเคยได้ยิน ผู้รู้บางท่านมักจะยกปัญหาทางสังคมให้จุฬารับผิดชอบ และโจมตีทัศนะที่จุฬายือถือซึ่งไม่ตรงกับตัวเค้าปฏิบัติ อาจารย์คิดว่ามันน่าจะถูกมั้ย

สุดท้ายนี้ผมขอให้ผมและอาจารย์และพี่น้องมุสลิมทุกคนมีสุขภาพแข็งแรง ทำความดีและละทิ้งความชั่ว อามีน  วัสลาม

ถามโดย - halim « เมื่อ: สิงหาคม 24, 2010, 11:03:26 AM »

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ตอบ:ตำแหน่งจุฬาราชมนตรี
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 22, 2011, 10:09:08 pm »
وعليكم السلام ورحمة الله و بركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد...؛

1. จุฬาราชมนตรีคือตำแหน่งผู้นำทางศาสนาสูงสุดของคนมุสลิมในประเทศไทยครับ เพราะผู้ดำรงตำแหน่งนี้ได้รับการเสนอชื่อและผ่านการคัดเลือกโดยตัวแทนของมุสลิมส่วนใหญ่ในประเทศไทยและได้รับการมุบายะอะฮฺจากบรรดาคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด คณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย บรรดาอิหม่าม  และเคาะฏีบ บิล้าล และคณะกรรมการมัสญิดถือเป็นบุคคลที่เข้าอยู่ในนัยของคำว่า วะลียุ้ล อัมริ (وَلِيُّ الْأَمْرِ) ที่อัล-กุรอ่านและอัล-หะดีษระบุเอาไว้


2. ให้ตามองค์กรที่รับผิดชอบในกิจการทางศาสนาอิสลามโดยตรง ซึ่งในกรณีการประกาศเข้าบวช ออกบวช กำหนดวันอีดทั้งสอง เป็นอำนาจหน้าที่ของจุฬาราชมนตรี ทั้งนี้เพราะเป็นการตามในสิ่งที่ชอบด้วยหลักการของศาสนาและคำตัดสินของจุฬาราลมนตรีในฐานะผู้นำสูงสุดเป็นการให้น้ำหนักแก่ทัศนะที่มีความเห็นต่างในประเด็นที่มีการวินิจฉัยได้


3. การจัดตั้งองค์กรที่เรียกว่า สภาอุลามาอฺ นั้นเป็นสิ่งที่ดีหากมีเป้าหมายที่ดี เช่น สร้างเอกภาพและความสามัคคีของประชาคมมุสลิมโดยรวม แต่ถ้ามีเป้าหมายและวิธีการที่นำไปสู่ความขัดแย้งและสร้างปัญหามากขึ้นก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ชอบตามหลักการของศาสนา ความจริงสำนักจุฬาราชมนตรีมีคณะผู้ทรงคุณวุฒิทางศาสนาอยู่แล้ว หากจะมีดำริตั้งองค์กรที่เรียกว่า สภาอุลามาอฺ ก็ต้องประสานกับองค์กรหลักที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงเพื่อความเป็นเอกภาพและสามัคคีของประชาคมมุสลิม มิใช่ตั้งขึ้นมาแล้วก็สร้างความสับสนให้กับผู้คน



ผมมีคำถามสำหรับกลุ่มผู้มีดำริจัดตั้งสภาอุลามาอฺว่า:

1) ผู้ที่เป็นสมาชิกของสภาอุละมาอฺนั้นควรมีคุณสมบัติอย่างไร? คนที่เข้าร่วมนั้นเป็นอุละมาอฺจริงหรือไม่? และการเป็นอุละมาอฺนั้นอาศัยใบปริญญาเพียงอย่างเดียวหรือว่าเข้าใจว่าตัวเองเป็นอุละมาอฺก็เข้าร่วมได้ พวกเขาไม่กระดากปากเลยหรือที่ยกตัวเองว่าเป็นอุละมาอฺ?

2) มั่นใจแค่ไหนว่าการจัดตั้งสภาอุละมาอฺจะไม่อยู่ใต้อาณัติของใครบางคนหรือองค์กรบางองค์กร และการดำเนินการของสภาฯ มีความเป็นอิสระมากน้อยเพียงใด

3) มุสลิมส่วนใหญ่ให้การยอมรับสภาที่จัดตั้งขึ้นหรือไม่? บรรดาผู้รู้ทางศาสนาที่มีคุณสมบัติเป็นอุละมาอฺจริงๆ มีท่าทีอย่างไร? เพราะมีการจำกัดคุณสมบัติว่าต้องมีทัศนะและมุมมองที่เป็นไปได้ในทิศทางเดียวกัน  ซึ่งจริงๆ แล้วอาจจะไม่ใช่  แต่เป็นการรวมตัวของศิษย์เก่าจากสถาบันศึกษาทางศาสนาในสายเดียวกันเสียมากกว่า  สภาต้องมีบริบทที่แตกต่างจากชมรมหรือสมาคมและต้องเปิดกว้างตลลอดจนเป็นเวทีสำหรับการแสดงความเห็นที่หลากหลาย

4) เป็นธรรมดาของมนุษย์ที่มักจะโยนความผิดให้กับผู้อื่น ปัญหาทางสังคมมิได้เกิดจากจุฬาราชมนตรีและจุฬาราชมนตรีก็มิได้สร้างปัญหาทางสังคมทั้งหมด ถึงแม้ว่าในบางเรื่องจะเป็นเช่นนั้น แต่มิใช่ว่าจุฬาราชมนตรีจะต้องรับผิดชอบไปเสียทุกเรื่อง และก็ใช่ว่าจุฬาราชมนตรีจะแก้ปัญหาได้ทุกเรื่องเช่นกัน จุฬาราชมนตรีก็คือมนุษย์ผู้มีผิดมีถูกไม่ต่างอะไรกับผู้รู้ที่ชอบว่ากล่าวและโจมตีแต่อย่างใดเลย และที่ปรากฏอยู่บ่อยครั้งก็กลับกลายเป็นว่าผู้รู้จำพวกนี้นั่นเองที่สร้างปัญหาให้กับสังคมและสำคัญตนผิด!

والله أعلم بالصواب