ยึดทัศนะที่มีน้ำหนักมากสุด  (อ่าน 4179 ครั้ง)

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ยึดทัศนะที่มีน้ำหนักมากสุด
« เมื่อ: กันยายน 26, 2010, 03:42:12 am »
ในความเป็นจริงการปฏิบัติในเรื่องหนึ่งๆ ทางฟิกซ์ มีหลายทัศนะที่แตกต่างกัน แล้วอยากถามว่า เราจะเลือกทัศนะไหนดี
มีสองทางเลือก

หนึ่งยึดปฏิบัติตามทุกเรื่องในมัซฮับเดียวกัน

สองยึดปฎิบัติในแต่ละเรื่องตามทัศนะที่มีน้ำหนักมากสุดโดยดูเป็นเรื่องๆไป

สรุปแล้วอย่างไหนจะถูกต้องหรือว่า สามารถทำได้ทั้งสองแบบ ถูกทั้งคู่

โดย ส่วนตัวสับสนว่าจะยังงัยดี บางคนบอกว่ามีความสามารถก็ต้องศึกษาเอง ไม่ใช่มุดหัวตามมัซฮับอย่างเดียว บางท่านบอกว่าเราต้องดูว่าเรื่องนี้ ทัศนะไหนมีน้ำหนักมากสุดก็ยึดตามนั้น

โดยส่วนตัวคิดว่าอิหม่ามทั้ง สี่เป็นที่ยอมรับได้มานานมากแล้ว ถ้าจะต้องนำมาเปรียบเทียบกันก็ว่าเรื่องนี้ทัศนะนี้มีน้ำหนักมากสุดอะไร ทำนองนี้เป็นเรื่องที่ทำไม่ให้  เลยสับสนมาก อาจารย์ช่วยตอบปัญหาด้วย

ว่า จะยังงัยดี โดยเฉพาะเห็นมีหนังสือฟิกที่มีการเปรียบเทียบเรื่องหนึ่งๆ ระหว่างมัซฮับ แล้วยึดที่มีน้ำหนักมากสุด ความเห็นส่วนใหญ่อุลามาอ  ประมาณนี้

ยาซากิลลาฮุคอยรอนมากมาก


ถามโดย - said « เมื่อ: มกราคม 26, 2009, 11:59:35 pm »

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ยึดทัศนะที่มีน้ำหนักมากสุด
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 26, 2010, 03:42:38 am »
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد...؛


“อัลฟิกฮฺ”  (اَلْفِقْهُ)  หมายถึง  ความเข้าใจ  (اَلْفَهْمُ)  ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่นักวิชาการฟิกฮฺจะมีความเข้าใจในตัวบทที่ต่างกัน  ทางเลือกในสมมติฐานของคุณsaidที่ระบุว่า  ทางเลือกที่สองคือการปฏิบัติในแต่ละเรื่องนั้นให้ถือตามทัศนะที่มีน้ำหนัก มากที่สุด  โดยดูเป็นเรื่อง ๆ ไป  ทางเลือกที่  2  นี้แหล่ะคือทางเลือกที่ดีที่สุด  โดยเฉพาะทัศนะที่มีตัวบทหลักฐานที่ถูกต้องมาสนับสนุนซึ่งในมัซฮับ อัชชาฟิอีย์นั้นโดยมากปัญหาทางด้านฟิกฮฺ  (اَلْمَسَاﺋِﻞُ الفِقْهِيّة)  จะมีหลักฐานมาสนับสนุน



ทั้งนี้เพราะมัซฮับอัชชาฟิอีย์ เป็นมัซฮับที่ผสมผสานระหว่างการยึดถือตัวบทหลักฐานและการใช้สติปัญญาในการ วิเคราะห์หลักฐาน  มีความยืดหยุ่นและละเอียดอ่อนสูงมาก  การศึกษาและสืบค้นในประเด็นปัญหาทางฟิกฮฺเป็นสิ่งที่พึงกระทำ  โดยยึดมาตรฐานของมัซฮับเป็นเกณฑ์  หลังจากนั้นก็ศึกษาวิเคราะห์ในเชิงเปรียบเทียบ เรียกว่า ฟิกฮฺมุกอร็อนฺ  (فِِقْهٌ مُقَارَنٌ)  ระหว่างมัซฮับจะทำให้สติปัญญากว้างไกล



จริงอยู่ที่บางครั้งในบางประเด็นข้อปัญหาเราอาจจะเกิดความสับสนได้  แต่เมื่อเกิดความสับสนแล้วก็ต้องทุ่มเทพยายามในการศึกษาต่อไปเพื่อให้บรรลุ ถึงจุดแห่งความชัดเจนกระจ่างชัดซึ่งมีอยู่  อย่าให้ความสับสนมาเป็นอุปสรรคขวางกั้นในการเรียนรู้และแสวงหาข้อเท็จจริง  การยึดถือหรือสังกัดมัซฮับเปรียบเสมือนแนวทางในการนำไปสู่ตัวบทหรือข้อสรุป อันเป็นทัศนะที่มีน้ำหนัก



ดังนั้นมัซฮับจึงไม่ใช่เป้า หมายอันเป็นที่สิ้นสุดเป้าหมายจริง ๆ คือการบรรลุถึงข้อเท็จจริงที่ชัดเจนและเกิดความสงบทางจิตใจในการปฏิบัติ  เมื่อพูดอย่างนี้บางคนอาจจะคิดว่า  ถ้าอย่างนั้นเราถือตัวบทและหลักฐานเพียว ๆ เลยไม่ดีกว่าหรือ?  ฟังผาด ๆ ก็น่าจะเป็นเช่นนั้น  แต่ทว่าถ้าเราไม่อาศัยแนวทางที่นักวิชาการวางเอาไว้  แล้วเราซึ่งมีความรู้อันน้อยนิดจะลุยไปถึงตัวบทและหลักฐานซึ่งเป็นเป้าหมาย สูงสุดได้อย่างไร?



ก็ขอให้คุณsaid อย่าละความพยายามในการแสวงหาข้อเท็จจริง  และอย่าให้ความสับสนที่เกิดขึ้นมาบั่นทอนกำลังใจในเรื่องนี้  อันความรู้ที่เจนจัดและชัดเจนเกิดขึ้นได้ด้วยความมานะในการฝึกฝนและการเอื้อ อำนวยจากพระองค์อัลลอฮฺ  (ซ.บ.)

والله ولي التوفيق والهداية