บทลงโทษต่างๆ  (อ่าน 3687 ครั้ง)

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
บทลงโทษต่างๆ
« เมื่อ: มกราคม 22, 2011, 10:40:46 pm »
salam อยากทราบว่าเมื่อเราทำบาปแล้ว โดนลงโทษโดยกฎหมายอิสลาม เช่นกรณี เราไปทำซีนา แล้วเราโดนลงโทษโดยการถูกเฆี้ยน 100 ครั้ง หรือการดื่มสุราแล้วโดนเฆี่ยมตามกฎหมายอิสลามนั้น รวมทั้งการถูกลงโทษในเรื่องที่กระทำความผิดต่างๆ เมื่อเราโดนลงโทษในโลกนี้ไปแล้วอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดต่างๆ ด้งที่กล่าวมาข้างต้น ในวันกียามัติเราต้องโดนลงโทษอีกหรือไม่ อย่างไร ขอบคุณมากครับ


ถามโดย - มูด « เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 10:48:29 PM »

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ตอบ:บทลงโทษต่างๆ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 22, 2011, 10:41:11 pm »
وعليكم السلام ورحمة الله و بركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد...؛

มีปรากฏในหะดีษที่รายงานโดย อุบาดะฮฺ อิบนุ อัศ-ศอมิต (ร.ฎ.) ว่าท่านรสูล (صلى الله عليه وسلم) กล่าวว่า :   وَمَنْ أَصَابَ مِنْ ذلِكَ شَيْئًا فَعُوْقِبَ فِي الدُّنْيَا فَهُوَ كَفَارَةٌ لَهُ : الحديث   “และผู้ใดประสพสิ่งหนึ่งจากเรื่องดังกล่าว (คือกระทำความผิดในคดีอาญา เช่น ซินา ลักโขมย เป็นต้น)  แล้วเขาก็ถูกลงโทษในดุนยา  นั่นคือการไถ่ถอนสำหรับเขาผู้นั้น...”  รายงานโดย อัล-บุคอรีและมุสลิม


อัล-หะดีษบทนี้อยู่ภายใต้หัวข้อเรื่อง “การลงโทษต่างๆ ตามที่ศาสนากำหนด (อัล-หุดู๊ด) คือการไถ่ถอน (กัฟฟาเราะฮฺ) สำหรับผู้ถูกดำเนินการตามบทลงโทษนั้น” บทที่ 10 กิตาบ อัล-หุดู๊ด อัล-หะดีษ เลขที่ 1111 ในหนังสือ อัลลุอฺลุอฺ วัล-มัรญาน ภาคที่ 2 หน้า 190  และในเชิงอรรถอธิบายประโยคใน อัล-หะดีษที่ว่า  فَعُوْقِبَ فِي الدُّنْيَا   ว่า  (أَىْ بِأَنْ أُقِيْمَ عَلَيْهِ الحَدُّ)   หมายถึงด้วยการดำเนินการลงโทษต่อผู้นั้น

ท่าน อัล-หาฟิซฺ อิบนุ หะญัร อัล-อัสเกาะลานียฺ กล่าวว่า : สิ่งที่ได้รับจาก อัล-หะดีษคือ แท้จริงการดำเนินการลงโทษ (إِقَامَةُ الْحَدِّ) (เช่นการตัดมือ, การเฆี่ยน, การประหารชีวิต เป็นต้น)  นั่นคือการไถ่ถอนลบล้างความผิดนั้น  ถึงแม้ว่าผู้ถูกลงโทษจะไม่เตาบะฮฺตัวก็ตาม  อันเป็นคำกล่าวของปวงปราชญ์ (ญุมฮู๊ร) บ้างก็กล่าวว่า จำเป็นจะต้องมีการเตาบะฮฺตัวด้วย โดยสิ่งดังกล่าวชนรุ่นตาบิอีนบางท่านได้ชี้ขาดไว้...” (ฟัตหุ้ลบารียฺ เล่มที่ 1 หน้า 57)


อย่างไรก็ตามตอนท้ายของอัล-หะดีษระบุว่า  إِنْ شَاءَ عَفَا عَنْهُ وَإِنْ شَاءَ عَاقَبَهُ  “หากอัลลอฮฺประสงค์ พระองค์ก็อภัยโทษแก่เขาผู้นั้น และหากพระองค์ประสงค์ พระองค์ก็ทรงลงโทษเขาผู้นั้น”

ซึ่งเป็นการบอกว่า เขาผู้นั้นอยู่ภายใต้พระประสงค์ของอัลลอฮฺ และครอบคลุมทั้งผู้ที่เตาบะฮฺหรือไม่เตาบะฮฺจากความผิดดังกล่าว แต่ปวงปราชญ์กล่าวว่า ผู้ที่เตาบะฮฺตัวนั้นจะไม่เหลือการลงโทษอันใดอีกเหนือเขาผู้นั้น (อ้างแล้ว 1/58)

สรุปได้ว่า  ถ้าผู้ที่ถูกดำเนินคดีตามกฎหมายอิสลามในโลกนี้เตาบะฮฺตัวในขณะถูกดำเนินคดีในโลกนี้แล้ว ในวันกิยามะฮฺเขาผู้นั้นก็รอดพ้นจากการลงทัณฑ์อันเป็นผลมาจากความผิดที่การทำเอาไว้ซึ่งถูกชำระไปแล้ว  กรณีนี้ไม่มีข้อขัดแย้ง ส่วนถ้าถูกดำเนินคดีโดยถึงที่สุดแต่ไม่ได้เตาบะฮฺตัว บั้นปลายของเขาในวันกิยามะฮฺก็ขึ้นอยู่กับพระประสงค์ของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) แต่ในทัศนะของปวงปราชญ์ถือว่าเขาได้รับการอภัยแล้วและจะไม่ถูกลงโทษอีก หรืออย่างน้อยก็ผ่อนหนักเป็นเบา

والله أعلم بالصواب