ทายาทต้องถือศีลอดชดใช้ให้หรือไม่  (อ่าน 6195 ครั้ง)

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ทายาทต้องถือศีลอดชดใช้ให้หรือไม่
« เมื่อ: มกราคม 22, 2011, 10:45:50 pm »
salam
ขอความสันติ ความเมตตาและความจำเริญจากอัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา จงประสบแด่ท่านอาจารย์
คำถามมีอยู่ว่า   \"ผู้เป็นบิดา/มารดา ขาดการถือศีลอด อันเนื่องจากป่วย หรือ เจตนาขาดเฉยๆ แล้วเขาได้เสียชีวิตลง โดยยังไม่ได้ชดใช้    ผู้เป็นทายาทจะต้องถือศีลอดชดใช้แทนให้หรือไม่\"
ขออัลลอฮ์ทรงตอบแทนความดีแก่อาจารย์ครับ


ถามโดย - หะซัน « เมื่อ: กันยายน 07, 2010, 05:10:08 PM »

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ตอบ:ทายาทต้องถือศีลอดชดใช้ให้หรือไม่
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 22, 2011, 10:46:09 pm »
وعليكم السلام ورحمة الله و بركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد...؛

ต้องแยกเป็น 2 กรณี คือ

1) กรณีขาดการถือศีลอด อันเนื่องจากป่วยหรือมีอุปสรรค (อุซรฺ) และยังไม่สามารถเกาะฎออฺชดใช้จนกระทั่งเสียชีวิต ก็ถือว่าไม่มีสิ่งใดจำเป็นเหนือบุคคลในกรณีนี้ไม่ต้องถือศีลอดชดใช้ (เกาะฎออฺ) แทนให้และไม่ต้องออกอาหารแทนแต่อย่างใด กรณีนี้ไมีมีข้อขัดแย้งในมัซฮับอัซ-ซาฟิอียฺ และตามนี้อิหม่ามอบูหะนีฟะฮฺ อิหม่ามมาลิก และปวงปราชญ์ กล่าวเอาไว้

อัล-อับดะรียฺกล่าวว่า : เป็นคำพูดของบรรดานักปราชญ์ทั้งปวง ยกเว้น ฏอวูส และเกาะตาดะฮฺ ซึ่งทั้ง 2 กล่าวว่า จำเป็นต้องออกอาหารให้แก่คนยากจนวันละ 1 มุดดฺ ตามจำนวนวันที่ขาดไป

2) กรณีบุคคลที่สามารถถือศีลอดในเราะมะฎอนได้ แต่ไม่ถือจนกระทั่งเสียชีวิต ในมัซฮับ อัซ-ซาฟิอียฺมี 2 คำกล่าว ที่มัซฮู๊รที่สุดคือให้ออกอาหารแทนวันละ 1 มุดดฺตามจำนวนวันที่ขาดไป สองเป็นคำกล่าวที่ถูกต้องที่สุด (อะเศาะหฺ) ตามหลักฐานคือให้ผู้ปกครอง (วะลียฺ) อันหมายถึงญาติใกล้ชิด เช่น ลูก เป็นต้น ถือศีลอดชดใช้  (เกาะฎออฺ) แทนให้แก่ผู้เสียชีวิต  ซึ่งฏอวูส อัล-หะสัน อัล-บะศอรียฺ อัซ-ซุฮฺรียฺ  เกาะตาดะฮฺ อบูเษาริน และอาวูด ก็กล่าวเช่นนี้

ส่วนอิบนุ อับบาส อิหม่ามอะหฺหมัด และอิสหาก กล่าวว่า : ถ้าเป็นการถือศีลอดนะซัร (บนบาน) ก็ให้ถือศีลอดชดใช้แทนให้แก่ผู้เสียชีวิต  แต่ถ้าเป็นการถือศีลอดเราะมะฎอนก็ให้ออกอาหารแทน  ส่วนอิหม่ามอบูหะนีฟะฮฺและมาลิกชี้ขาดว่าให้ออกอาหารแทนและไม่อนุญาตให้ถือศีลอดแทน (กิตาบ อัล-มัจญมูอฺ ซัรหุ้ลมุฮัซซับ เล่มที่ 6 หน้า 421) ก็ให้พิจารณาตามที่กล่าวมาข้างต้น

والله أعلم بالصواب