การขลิบหนังหุ้้มอวัยวะเพศ  (อ่าน 8554 ครั้ง)

halim

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 38
การขลิบหนังหุ้้มอวัยวะเพศ
« เมื่อ: มีนาคม 15, 2011, 09:31:33 am »
salam  อาจารย์อาลี ขอให้อาจารย์สุขภาพดี และตอบปัญหาคาใจนานๆนะครับ
วันนี้ผมมีคำถามอยู่
1. การขลิบหนังหุ้มอวัยเพศของผู้ชายหรือที่บ้านผมเรียกว่าการเข้าสุนัต สมควรทำตอนอายุเท่าไหร่
2. ผู้หญิงต้องทำด้วยมั้ย ทำอย่างไร
3. เด็กที่ยังไม่ขลิบหนังออกมันจะมีอะไรอยู่สีขาวใต้หนังนั้น สิ่งนี้จะนายิสมั้ย สามรถถูกอัลกุรอานได้มั้ย ถูกคนที่กำลังหมาดได้มั้ย

ขอบคุณมากครับ   salam

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ตอบ : การขลิบหนังหุ้้มอวัยวะเพศ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2011, 12:02:16 am »
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد


ขอให้คุณ Halim มีสุขภาพที่สมบูณ์แข็งแรงเช่นกัน และขอให้เป็นหนึ่งจากบรรดาผู้ได้รับความรู้อันเป็นประโยชน์ทั้งในโลกและโลกหน้า อามีน


1. ตามทัศนะที่มีน้ำหนัก ถือว่าการคิตาน (ختان)  หรือที่เรียกว่า “เข้าสุนัต” หรือ “มะโซ๊ะ ญาวี” นั้นเป็นสิ่งที่ส่งเสริม (มุสตะหับ) ให้กระทำนับแต่แรกเกิดและที่ดีที่สุด (อัฟฎ็อล) ให้กระทำในวันที่ 7 นับจากวันที่เด็กเกิด เพราะอัล-หากิม และ อัล-บัยฮะกียฺได้รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ (ร.ฎ.) ว่า

أَنَّ النبىَ صلى الله علىه وسلام خَتَنَ الْحَسَنَ وَالْحَسَيْنَ يو مَ السا بِعِ مِنْ ولا دتِهِمَا

“แท้จริงท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้คิตานท่านอัล-หะสัน (ร.ฎ.) และท่านอัล-หุสัยนฺ (ร.ฎ.) ในวันที่ 7 นับจากการคลอดบุคคลทั้งสอง”


แต่นักวิชาการฟิกฮฺบางท่านกล่าวว่า “ห้าม (หะรอม) ทำการคิตานก่อนอายุครบ 10 ขวบ เนื่องจากมีคำกล่าวของอิบนุ อับบาส (ร.ฎ.) ว่า “พวกเขา (บรรดาเศาะหาบะฮฺ) จะไม่ทำคิตานผู้ชายจนกว่าผู้นั้นจะถึงอายุเสียก่อน” รายงานโดย อัล-บุคอรียฺ


แต่อัล-หะดีษที่ท่านหญิงอาอิชะฮฺ (ร.ฎ.) รายงานได้โต้แย้งกับคำกล่าวนี้ เพราะอัล-หะดีษของท่านหญิงอาอิชะฮฺ (ร.ฎ.) อยู่ในสถานะหะดีษมัรฟูล (ฟี หุกมิลมัรฟูอฺ) คืออ้างถึงการกระทำของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) จึงตีความคำกล่าวของอิบนุอับบาส (ร.ฎ.) ที่ห้ามมิให้คิตานก่อนถึงวัยอันควรนั้นว่าเป็นกรณีของเด็กที่การคิตานตั้งแต่ยังเป็นทารกนั้นจะเป็นอันตรายต่อเด็ก ก็ให้รอจนกระทั่งถึงวัยที่สามารถทำการคิตานได้ และไม่อนุญาตให้มีอายุเกินวัยเข้าเกณฑ์บังคับตามศาสนบัญญัติโดยไม่มีการทำการคิตาน (อะหฺกามุฏเฏาะฮาเราะฮฺ อะลัล มะซาฮิบ อัล-อัรบะอะฮฺ ,  ดร.อบูสะรีอฺ มุฮัมมัด อับดุลฮาดียฺ หน้า 55)


อนึ่ง ในปัจจุบันเด็กทารกแรกเกิดในบางโรงพยาบาลนั้นจะมีบริการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศให้แก่ทารกโดยหมอผู้ชำนาญการด้วย ซึ่งปลอดภัยและสะดวกในการรับบริการส่วนนี้ได้เลย



2. นักวิชาการสังกัดมัซฮับอัช-ชาฟีอียฺและกลุ่มหนึ่งจากนักวิชาการสังกัดมัซอับอัล-หัมบะลียฺ ถือว่าการคิตานเป็นสิ่งจำเป็น (วาญิบ) ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ส่วนนักวิชาการสังกัดมัซฮับอัล-หะนะฟียฺและอัล-มาลิกียฺ ถือว่าการคิตานเป็นสุนนะฮฺไม่ใช่วาญิบ แต่นักวิชาการส่วนมากกล่าวว่าการคิตานเป็นสุนนะฮฺในสิทธิของผู้ชายและเป็นเหตุในการให้เกียรติ (มักรุมะฮฺ) ในสิทธิของผู้หญิง ซึ่ง ดร.อบูสะรีอฺ มุฮัมมัด อับดุลฮาดียฺ ให้น้ำหนักแก่ทัศนะนี้ (อ้างแล้ว หน้า 56)


ดังนั้นการคิตานผู้หญิงซึ่งเรียกว่า อัลค็อฟฏุ้ คือการฝานส่วนหนึ่งของติ่งที่อยู่เหนืออวัยวะเพศด้านบนทางเข้าออกของปัสสาวะ (หรือที่เรียกว่า ต่อมกระสันต์) จึงไม่ใช่สิ่งจำเป็นและไม่ใช่สุนนะฮฺ (อ้างแล้ว 57) แต่เป็นการกระทำที่เป็นเหตุในการทำให้ผู้หญิงไม่มีกำหนัดและอารมณ์จนเกินงาม


ทั้งนี้การฝานดังกล่าวจะต้องไม่กระทำให้หนาจนเกินไปเพราะอาจจะทำให้ฝ่ายหญิงหมดอารมณ์ความรู้สึกในการมีเพศสัมพันธ์ได้ และการคิตานผู้หญิงนี้แตกต่างจากการคิตานของพวกฟิรอูนียฺ (อียิปต์โบราณ) ที่นิยมแพร่หลายในกลุ่มประเทศอาหรับ โดยเฉพาะในซูดานซึ่งมีการตัดหนังและติ่งดังกล่าวออกไปทั้งหมด การกระทำดังกล่าวเป็นที่ต้องห้าม (หะรอม) ตามหลักศาสนบัญญัติและเป็นการกระทำของผู้พวกญาฮิลียะฮฺตลอดจนอาจทำให้เกิดปัญหาระยะยาวเมื่อสตรีนั้นมีครอบครัว (อ้างแล้ว 57-58)



3. ถือว่าเป็นนะญิส ซึ่งจำเป็นต้องล้าง ในกรณีของคนที่โตแล้วแต่ยังไม่ได้ขลิบ (เข้าเกณฑ์บังคับทางศาสนา) ก็จำเป็นต้องล้างอวัยวะส่วนนี้เพราะถือเป็นอวัยวะส่วนนอก ส่วนการถูกหรือสัมผัสอัลกุรอานนั้นหากเป็นเด็กที่ยังไม่บรรลุศาสนภาวะก็สามารถสัมผัสหรือจับต้องได้เนื่องจากเด็กยังไม่เข้าเกณฑ์ที่ศาสนาบังคับ และไม่มีข้อห้ามในการที่เด็กนั้นจะถูกตัวผู้ละหมาดแต่อย่างใด

والله اعلم بالصواب