การเช็ดรองเท้าโค๊ฟ  (อ่าน 9646 ครั้ง)

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
การเช็ดรองเท้าโค๊ฟ
« เมื่อ: กันยายน 26, 2010, 03:57:03 am »
ผมเคยเรียนกีตาบมลายู มีการอนุญาติให้เช็ดรองเท้าโค๊ฟด้วยใช่มั๊ยคับ
  --  ถามว่านิยามของรองเท้าโค๊ฟเป็นแบบไหนคับ
แล้วศาสนาอนุญาติให้ใช้การเช็ดรองเท้าโค๊ฟแทนการล้างเท้าด้วยน้ำได้ตอนไหนคับ
เพราะบางครั้งผมไม่สะดวกที่จะถอดรองเท้าออกเพื่อล้างอะคับ

ขอบคุณครับ


ถามโดย - rnus  « เมื่อ: ตุลาคม 27, 2008, 05:16:18 pm »

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
การเช็ดรองเท้าโค๊ฟ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 26, 2010, 03:58:04 am »
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد  ؛


ครับ!  เรื่องการเช็ดรองเท้าโค๊ฟนั้นมีระบุไว้ในตำราฟิกฮฺทั้งภาษามลายู ภาษาอาหรับ และภาษาไทย คำว่า คุฟฟ์ (خُفٌّ) ซึ่งเราเรียกกันว่า โค๊ฟ นั้นตามหลักภาษาหมายถึง สิ่งที่ถูกสวมใส่ที่เท้า (مَايُلْبَسُ بالرِّجْلِ) ส่วนคำนิยามตามศัพท์เทคนิคนั้น หมายถึง รองเท้าที่ปกปิดตาตุ่มทั้งสองข้าง ซึ่งรองเท้านี้ถูกทำมาจากหนัง เป็นต้น การเช็ดรองเท้าโค๊ฟ เป็นสิ่งที่ผ่อนผัน (รุคเซาะฮฺ) ให้กระทำได้ทั้งชายและหญิงในทุกสภาพ ทั้งในฤดูร้อนหรือฤดูหนาว ทั้งในการเดินทางไกลและการที่อยู่กับบ้าน (ไม่ได้เดินทาง) ทั้งในยามสุขภาพดีและยามเจ็บป่วย การเช็ดรองเท้าโค๊ฟเป็นสิ่งที่ทดแทนการล้างเท้าทั้งสองในการอาบน้ำละหมาด

หลักฐาน : ท่านญ่ารีร อิบนุ อับดิลลาฮฺ อัลบะญะลีย์ (ร.ฎ.) ได้กล่าวว่า : ฉันเคยเห็นท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้ทำการปลดทุกข์เบา (ปัสสาวะ) ต่อมาท่านก็อาบน้ำละหมาดและเช็ดบนรองเท้าโค๊ฟของท่านทั้ง 2 ข้าง\" (รายงานโดยอัลบุคอรีย์ (1478) และมุสลิม (272)


เงื่อนไขในการเช็ดรองเท้าโค๊ฟทั้ง 2 ข้าง

1- ให้สวมรองเท้าโค๊ฟทั้ง 2 ข้างหลังจากการอาบน้ำละหมาดที่สมบูรณ์ (คือรวมถึงการล้างเท้าทั้งสองข้างด้วย)

2- รองเท้าโค๊ฟทั้ง 2 ข้างนั้นต้องปกปิด (คลุม) ตำแหน่งของการล้างที่เป็นฟัรฎูจากเท้าทั้ง 2 ข้างนั้นทั้งหมด (ในกรณีนี้รองเท้าแตะ รองเท้าผ้าใบที่หุ้มส้นแต่ไม่คลุมตาตุ่มทั้งสอง หรือรองเท้าที่ส้นเปิด จึงไม่เรียกว่าโค๊ฟ)

3- รองเท้าโค๊ฟทั้ง 2 ข้างนั้นต้องกันน้ำไม่ให้เข้าถึงเท้าทั้งสองอื่นจากรูเย็บของด้าย

4- รองเท้าโค๊ฟทั้ง 2 ข้างนั้นต้องแข็งแรง เวลาเดินมันติดเท้าไปด้วยเสมอ

5- รองเท้าทั้ง 2 ข้างนั้นต้องสะอาด ถึงแม้ว่าจะทำมาจากหนังของสัตว์ที่ตายเอง (มัยตะฮฺ) ที่ถูกฟอกแล้วก็ตาม (ถือว่าสะอาดเพราะหนังของสัตว์ที่ตายเองนั้นจะถูกทำให้สะอาดได้ด้วยการฟอก)


ระยะเวลาที่อนุญาตให้เช็ดรองเท้าโค๊ฟ : 1 วัน 1 คืนสำหรับผู้ที่ไม่ได้เดินทาง และ 3 วัน 3 คืน สำหรับผู้เดินทาง และระยะเวลาของการเช็ดรองเท้าโค๊ฟจะเริ่มนับจากการมีหะดัษหลังจากการสวมรองเท้าโค๊ฟแล้ว อาทิเช่น เมื่ออาบน้ำละหมาดตอนซุบฮิโดยล้างเท้าอย่างสมบูรณ์แล้ว และสวมใส่รองเท้าโค๊ฟ ต่อมาเกิดหะดัษในขณะดวงอาทิตย์ขึ้น ก็ให้เริ่มนับระยะเวลาจากดวงอาทิตย์ขึ้นเป็นต้นไป



วิธีการเช็ดรองเท้าโค๊ฟ : ที่เป็นฟัรฎู คือ การเช็ดส่วนหนึ่ง ถึงแม้เพียงเล็กน้อยจากส่วนบนของรองเท้าโค๊ฟ และการเช็ดด้านล่างของรองเท้าเพียงอย่างเดียว ถือว่าไม่เพียงพอ ส่วนสุนัตให้เช็ดส่วนบนและส่วนล่างของรองเท้าเป็นแนวเส้น ด้วยการวางนิ้วมือขวาที่แยกกันลงบนส่วนหัวของเท้าจากด้านบนของรองเท้าและวางนิ้วมือซ้ายลงที่ปลายเท้าจากด้านล่าง แล้วลูบมือขวากลับมาข้างหลัง ลูบมือซ้ายไปข้างหน้า



สิ่งที่ทำให้เสียการเช็ดโค๊ฟ :
1- ถอดรองเท้าออกทั้ง 2 ข้างหรือข้างหนึ่งข้างใด หรือมันหลุดออกจากเท้าไม่ว่าทั้ง 2 ข้างหรือข้างเดียว

2- หมดระยะเวลาของการอนุญาตให้เช็ดโค๊ฟ ฉะนั้นถ้าหมดเวลา และเขามีน้ำละหมาดอยู่แล้วก็ให้ถอดรองเท้าออกทั้ง 2 ข้างและล้างเท้าทั้ง 2 แล้วก็สวมกลับเข้าไปดังเดิม ถ้าหากเขาไม่มีน้ำละหมาด ก็ให้อาบน้ำละหมาดจนครบถ้วน ต่อมาก็สวมรองเท้าทั้ง 2 ตามประสงค์

3- เกิดหะดัษที่จำเป็นต้องอาบน้ำทั่วร่างกาย ฉะนั้นถ้าจำเป็นที่เขาต้องอาบน้ำยกหะดัษ ก็ให้ถอดรองเท้าโค๊ฟออกทั้ง 2 ข้าง และล้างเท้าทั้ง 2 นั้น เพราะการเช็ดบนรองเท้าโค๊ฟ นั้นใช้แทนการล้างเท้าทั้งสองในการอาบน้ำละหมาด มิใช่แทนในการอาบน้ำยกหะดัษ (ดู อัลฟิกฮุ้ลมันฮะญี่ย์ เล่มที่ 1 หน้า 65-67)


والله أعلم