การอาบน้ำละหมาดบริเวณที่เป็นแผล  (อ่าน 9508 ครั้ง)

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
การอาบน้ำละหมาดบริเวณที่เป็นแผล
« เมื่อ: กันยายน 26, 2010, 04:07:17 am »
salam คะอาจารย์

ถ้าเรามีแผลสดบริเวณข้อศอก ซึ่งเป็นบริเวณที่ต้องเอาน้ำละหมาด
โดยแผลดังกล่าวเมื่อโดนน้ำแล้วจะแสบมาก ดังนั้น เวลาเอาน้ำละหมาดจึงเว้นบริเวณดังกล่าวไว้
ถามว่า การเอาน้ำละหมาดนั้นถือว่าใช้ได้หรือไม่ และการละหมาดในช่วงนั้นเราต้องชดใช้ทีหลังหรือไม่
และสามารถอ่านกุรอานได้หรือไม่

ขอบคุณคะ
วัสสลาม


ถามโดย - ถุงชา  « เมื่อ: มกราคม 19, 2009, 07:42:14 am »

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
การอาบน้ำละหมาดบริเวณที่เป็นแผล
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 26, 2010, 04:07:51 am »
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته

หากมีแผลสดบริเวณข้อศอก โดยจะแสบแผลมากหากโดนน้ำ ก็ต้องพิจารณาว่า กรณีที่น้ำโดนแผลแล้วแสบแต่ทนได้และไม่มีผลทำให้แผลอักเสบ ก็ควรอดทนและล้างส่วนนั้นด้วยน้ำตามปกติจะได้ไม่มีปัญหา  แต่ถ้าแผลโดนน้ำแล้วจะแสบมากจนสุดทนหรือมีผลทำให้แผลอักเสบและหายช้าก็มี 2 ลักษณะที่อนุโลมให้ คือ

1. ใช้พลาสเตอร์แปะแผลนั้น พอล้างมือ, ท่อนแขนจนมาถึงข้อศอกบริเวณที่แปะพลาสเตอร์เอาไว้ก็ให้ลูบไปบนพลาสเตอร์นั้น และให้ทำตะยำมุมทดแทนในส่วนของบาดแผลที่ข้อศอกนั้น

2. ไม่ใช้ผ้าพันแผลหรือพลาสเตอร์ปิดบริเวณแผลก็ให้ล้างอวัยวะส่วนที่ปกติ เช่น มือและท่อนแขน ซึ่งไม่มีบาดแผลและให้ตะยำมุมแทนในส่วนของแผลที่ข้อศอกนั้น โดยไม่ต้องล้างแผลเพราะมีอุปสรรค และเมื่อจะละหมาดฟัรฎูก็ให้ทำตะยำมุมใหม่เพื่อทดแทนส่วนของบาดแผล ถ้าหากยังมีน้ำละหมาดอยู่โดยไม่ต้องล้างอวัยวะส่วนอื่น  เพราะยังมีน้ำละหมาด เพียงแต่ทำตะยำมุมใหม่เท่านั้น  หากกระทำตามที่กล่าวมาซึ่งมีการทำตะยำมุมทั้ง 2 ลักษณะก็ถือว่าการอาบน้ำละหมาดนั้นสมบูรณ์แล้ว  เมื่อการอาบน้ำละหมาดสมบูรณ์ การละหมาดก็ย่อมใช้ได้และไม่จำเป็นต้องชดใช้การละหมาดแต่อย่างใด


والله أعلم بالصواب