แนะนำ  (อ่าน 3356 ครั้ง)

ซา

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
แนะนำ
« เมื่อ: สิงหาคม 09, 2011, 10:02:37 am »
ถึง อาจารย์ อาลี เสือสมิง
ว่าด้วยเรื่องวิชาการที่อาจารย์ไปพูดหรือไปเป็นวิทยากรก็ตาม  ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ชอบฟังและเรียนรู้ในหลักวิชาการอิสลาม ซึ่งหลายๆเรื่องสามารถยิบเอามาใช้ได้เป็นอย่างดี แต่ทว่า ในวิชาการเหล่านั้น ที่อาจารย์ได้พูดไว้ เมื่อฟังแล้วก็รู้สึกสะกิดใจ ว่า ที่อาจารย์ได้พูดพาดพิงหรือไปฟัตวาถึงนั้น ตัวอาจารย์เองเข้าใจดีแล้วหรือ(มิได้หมายความว่าตัวผู้เขียนเองจะเข้าใจดีหรอก) ความรู้ของอัลเลาะห์นั้นกว้างขวาง ซึงพระองค์จะให้ใครได้รู้หรือเข้าใจในวิชาการใดนั้นขึ้นอยู่กับพระองค์โดยตรง ไม่ใช่ว่าใครจะอ่านหนังสือเล่มหนึ่งแล้วจะเข้าใจได้ทั้งหมด (รู้กับเข้าใจมันคนละเรื่องกัน)
ในทุกสังคมมีคนดีและคนไม่ดี มีทั้งคนที่รู้จริงและรู้แค่ผ่านหูแล้วนำไปปฏิบัติสังคมเรา(อิสลาม)นี่ก็เหมือนกัน  แล้วอาจาร์แน่ใจได้อย่างไรว่าที่อาจารย์ได้พบได้เจอได้รู้จักนั้นนะ เป็นคนที่รู้แบบใหนแล้วนำไปปฏิบัติ  มาดแม้วว่าจะนำเอาน้ำในท้องทะเลมาทำเป็นหมึก แน่นอนว่าท้องทะเลจะเหือดแห้งก่อนในการเขียนความหมายของกุรอ่าน (ถ้าผิดก็ขออภัย) แล้วอาจารย์คิดว่าวิชาการที่อัลเลาะห์ฮิดายะห์ให้อาจารย์เข้าใจนะมีแค่ใหน
ถ้าอัลเลาะห์จะให้ทางนำกับใครพระองค์ก็จะให้เขารู้และเข้าใจด้วยกับพระองค์
อาจารย์ไม่ต้องไปฟัตวาใครเขาหรอกเพราะอาจารย์เองก็ไม่ได้รู้ไปซะทุกเรื่อง ก็รู้แค่ที่อัลเลาะห์ให้รู้นั่นล่ะ
ขอให้อาจารย์ได้รับฮุซนุ้ลคอติมะห์
วัสลาม
 salam

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ตอบ : แนะนำ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2011, 06:26:11 am »
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

“ที่อาจารย์ได้พูดพาดพิงหรือไปฟัตวาถึงนั้น ตัวอาจารย์เองเข้าใจดีแล้วหรือ”
 เรื่องพูดพาดพิงนั้นก็มีอยู่หลายเรื่อง ผมไม่ทราบว่าคุณซามุ่งหมายถึงเรื่องใด? ส่วนฟัตวาถึงประเด็นปัญหาทางศาสนานั้นก็ไม่ทราบแน่ชัดว่าฟัตวาเรื่องอะไร? คุณซาน่าจะเจาะจงเรื่องที่กล่าวมาว่าเป็นเรื่องอะไร? จริงๆ แล้วผมจะอ้างตำราของนักวิชาการในการตอบปัญหาเสียส่วนมาก ซึ่งเป็นการตอบตามตำราหรือทัศนะของนักวิชาการ กล่าวคือเป็นการถ่ายทอดคำฟัตวาของนักวิชาการจากตำรามิใช่ผมเป็นผู้ออกคำฟัตวาและวินิจฉัยเอาเอง ยกเว้นบางประเด็นที่มีผู้ถามเกี่ยวกับปัญหาชีวิตประเภทสัพเพเหระ ผัวเมียละเหี่ยใจ อะไรทำนองนั้น ก็จะตอบไปในทำนองให้คำปรึกษาและหาทางออกให้ก็เท่านั้นเอง



“ความรู้ของอัลลอฮฺนั้นกว้างขวาง ซึ่งพระองค์จะให้ใครได้รู้หรือเข้าใจในวิชาการใดนั้นขึ้นอยู่กับพระองค์โดยตรง มิใช่ใครจะอ่านหนังสือเล่มหนึ่งแล้วจะเข้าใจได้ทั้งหมด (รู้กับเข้าใจมันคนละเรื่องกัน)”

ที่ว่ามาทั้งหมดนี้ถูกต้องแล้ว แต่ที่แน่ๆ ก็คือ ผมไม่เคยบังอาจหรือกล่าวอ้างว่า ความรู้ที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ประทานให้แก่ผมเป็นความรู้ที่กว้างขวางครอบคลุมทุกสรรพสิ่ง ถ้าอ้างหรือบังอาจแม้แต่จะคิดก็ตกมุรตัดแล้ว วัลอิยาซุบิลลาฮฺ ส่วนที่ว่า

“มิใช่ใครจะอ่านหนังสือเล่มหนึ่งแล้วจะเข้าใจได้ทั้งหมด”
นั้นไม่ผิดหรอกครับ ตัวผมเองทุกวันนี้อ่านตำราเขียนหนังสือ ค้นคว้าอยู่ทุกคืน ยังพบว่าตัวเองนี้มีความรู้เพียงน้อยนิด ยิ่งอ่านมากค้นคว้ามากก็พบว่าตัวเรานี่รู้น้อยลงทุกขณะ เพราะความรู้ของมุนษย์เป็นสิ่งบกพร่องมีขีดจำกัด จะนำไปเทียบกับความรู้ของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ที่สมบูรณ์ครบถ้วนหมดจดได้อย่างไรกัน?


“แล้วอาจารย์แน่ใจได้อย่างไรว่าที่อาจารย์ได้พบได้เจอได้รู้จักนั้นน่ะ เป็นคนที่รู้แบบไหนแล้วนำไปปฏิบัติ”
ประโยคนี้ผมไม่ทราบแน่ชัดอีกเช่นกันว่าคุณซามุ่งหมายถึงอะไร? แต่ผมขอถามกลับด้วยคำถามเดียวกันนี้ว่า “แล้วคุณซาแน่ใจได้อย่างไรว่าที่คุณซาได้ฟังและเรียนรู้ในหลักการอิสลามที่คุณซาได้ฟังได้เจอได้รู้จักนั้นนะ เป็นคนที่รู้แบบไหนแล้วนำไปปฏิบัติหรือไม่?” ถ้าคุณซาตอบว่าแน่ใจเพราะคุณซามีเหตุผลมายืนยันในความแน่ใจของตน คำตอบของผมก็คงไม่ต่างจากคุณซา แต่ถ้าคุณตอบว่าไม่แน่ใจเพราะได้แต่ฟังและเรียนรู้จากสิ่งที่เขาสอน เขาบอก แต่ไม่รู้จักตัวตนและปูมหลังหรือสภาพความเป็นจริงของผู้นั้น ผมก็คงมีเหตุผลเช่นเดียวกันนั้น ยิ่งไปกว่านั้น ตำรับตำราที่ผมอ่านซึ่งมิใช่เล่มเดียวนั้น ผมก็เพียงรับเอาเนื้อหาและความรู้ที่มีอยู่ในตำรานั้น ส่วนจะไปยืนยันว่าเจ้าของตำราเป็นคนเช่นใด ปฏิบัติตามที่ตนเขียนหรือไม่ ผมคงทำไม่ได้ เพราะผมไม่รู้จักตัวตนที่แท้จริงของเจ้าของตำรานั้น เหมือนอย่างที่คุณซาไม่สามารถยืนยันรับรองได้ว่าผมมีตัวตนที่แท้จริงอย่างไร เพราะคุณซาไม่รู้จักผม ถึงแม้ว่าคุณซาจะเป็นคนบ้านป่า และมีนามสกุลที่ผมคุ้นเคยก็ตาม! เหตุนี้แหล่ะเขาถึงบอกว่าให้พิจารณาสิ่งที่เขาพูด มิใช่พิจารณาว่าผู้พูดเป็นใคร เพราะบางทีคนที่พูดนี้เราไม่รู้จักแล้วไปพิจารณาสภาพของเขาได้อย่างไร?


“แล้วอาจารย์คิดว่าวิชาการที่อัลลอฮฺฮิดายะฮฺให้เข้าใจนะมีแค่ไหน”
ประโยคนี้ผมคงไม่ต้องตอบ เพราะคุณซาตอบให้เองแล้ว คือประโยคที่ว่า “ถ้าอัลลอฮฺให้ทางนำกับใครพระองค์ก็จะให้เขารู้และเข้าใจด้วยกับพระองค์” จริงๆ แล้วสำหรับตัวผม ถ้าความรู้นั้นเป็นสิ่งที่อัลลอฮฺฮิดายะฮฺให้แก่ผม แม้เพียงเปลือกอินทผาลัม ผมก็ถือว่าสิ่งนั้นเป็นความโปรดปรานที่หาที่สุดมิได้อยู่แล้ว! คงไม่ต้องตอบว่าแค่ไหนกระมัง!


“อาจารย์ไม่ต้องไปฟัตวาใครเขาหรอกเพราะอาจารย์เองก็ไม่ได้รู้ไปซะทุกเรื่อง ก็รู้แค่ที่อัลลอฮฺให้รู้นั่นแหล่ะ”
 เห็นด้วยอยู่แล้วล้านเปอร์เซ็นต์ เพราะผมเองก็ไม่เคยแม้แต่จะคิดว่าผมรู้ไปเสียทุกเรื่อง อย่างน้อยผมก็ไม่รู้ว่าคุณซามีเจตนาจะสั่งสอนอะไรแผมในเรื่องที่คุณซาแนะนำมา ถึงได้บอกกับผมว่าไม่ต้องไปฟัตวาใครเขาหรอก แล้วผมไปฟัตวาอะไรกับใคร ที่ไหน เรื่องอะไร เพราะผมไม่ใช่มุฟตียฺ แต่ถ้าบอกว่าก็ไปฟัตวาปัญหาศาสนานั่นไง ผมก็คงตอบได้เหมือนเดิมว่า ผมแค่ถ่ายทอดคำตอบของนักวิชาการที่มีตำรับตำราอ้างอิง กระนั้นผมก็ลงท้ายทุกการถ่ายทอดนั้นหรือส่วนใหญ่ว่า والله اعلم بالصواب คอลัมน์ไขปัญหาที่อยู่ในเว็บไซด์ก็ไม่ได้จั่วหัวคอลัมน์ว่า  “ฟัตวาออนไลน์” หรือ “ถามมาสิจะตอบให้” เสียหน่อย!


ประโยคดุอาอฺลงท้ายนั้นเป็นสุดยอดปรารถนาของผมอยู่แล้ว และผมมุ่งหวังจากอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ให้ทรงประทานสิ่งนั้นแก่ตัวผมและรวมถึงคุณซาด้วยเช่นกัน

والله ولي التوفيق والهداية
ولاحول ولاقوة إلابالله