คุตบะห์วันศุกร์ (หะดีษที่เตือนว่าอย่าคุยกันขณะฟังคุตบะฮฺ)  (อ่าน 10593 ครั้ง)

arrubbee1

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
อ.อาลีครับ   ผมขอตัวบทฮาดิษที่รายงานโดย อาบูฮุรอยเราะห์ที่น่าบี ซ.ล. กล่าวว่าไห้ตั้งใจฟังคุตบะห์ อย่าพูดคุยกัน ไห้ตั้งใจฟังคุตบะห์ แท้จริงพระองค์อัลลาะห์ทรงอภัยยิ่ง    ประมาณนี้นะครับ คือฮาดิษนี้บิล้าลบางมัสยิดจะอ่านก่อนที่คอตีบ จะขึ้นมิมบัรครับ  ขอขอบคุณมากครับผม

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

หนังสือกิฟายะตุลมุบตะดียฺ (ภาษามลายู) หน้า 86 ใช้สำนวนว่า

مَعَاشِرَ الْمُسْلِمِيْنَ وَزُمْرَةَ الْمُؤْمِنِيْنَ رَحِمَكُمُ اللهُ . رُوِى عَنْ اَبِىْ هريرة رضى الله تعالى عنه . انه قاَلَ , قَالَ رسول الله صلى الله عليه وسلم . إِذَا قُلْتَ لِصَاحِبِكَ يَوْمَ الْجُمْعَةِ أنصِتْ , والإمامُ يَخْطُبُ فقد لَغَوْتَ . رواه البخارى ومسلم

เมื่อตรวจทานในตำรา อัต-ตัรฆีบ วัต-ตัรฮีบฺของอิหม่ามอัลมุนซิรียฺ เล่มที่ 1 เรื่อง ปรามจากการพูดขณะอิหม่ามกำลังคุฏบะฮฺ และชักชวนในการตั้งใจฟัง อัล-หะดีษเลขที่ 1079 มีสำนวนตรงกันกับสำนวนในหนังสือกิฟายะตุลมุบตะดียฺ รายงานโดย อัล-บุคอรียฺและมุสลิม , อบูอาวูด , อัต-ติรมิซีย์ , อัน-นะสาอียฺ , อิบนุมาญะฮฺ และอิบนุคุซัยมะฮฺ ซึ่งเป็นหะดีษเศาะฮีหฺ


ดังนั้นการใช้สำนวนในหนังสือของกิฟายะฮฺฯ ว่า  عَنْ  رُوِيَ  จึงเป็นสิ่งที่ไม่ถูกเพราะเป็นสำนวนของหะดีษที่อ่อน (ศีเฆาะฮฺ อัตตัมรีฎ) ทั้งๆ ที่หะดีษเป็นหะดีษเศาะฮีหฺ จึงสมควรแก้ไขให้ถูกต้องและเหมาะสมว่า   عَنْ اَبِىْ هريرة رضى الله تعالى عنه . انه قاَل   คือให้ตัดคำว่า  رُوِيَ  ออกไปเสียโดยไม่ต้องใส่ในประโยคที่บิล้าลกล่าว


 อนึ่งการกล่าวของบิล้าลก่อนเคาะฏีบจะขึ้นมิมบัรนี้นั้น ไม่มีในสุนนะฮฺของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) แต่อย่างใด สิ่งที่ปฏิบัติกันมาในเรื่องนี้จึงเป็นเพียงกุศโลบายที่จะเตือนคนที่มาละหมาดวันศุกร์ว่าให้ตั้งใจฟังคุฏบะฮฺ อย่าคุยกัน โดยอาศัยหะดีษของนบี (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) นำมากล่าวเสริม ซึ่งไม่มีข้อห้ามที่จะกระทำแต่จะต้องไม่ถือว่านี่เป็นรูปแบบการกระทำที่มีสุนนะฮฺให้กระทำ แต่เป็นเพียงกุศโลบายในการเตือนผู้คนเหล่านั้น


ซึ่งหากการใช้กุศโลบายมีเป้าหมายในการเตือนให้ผู้คนตระหนักก็ควรใช้ภาษาไทยหรือภาษาที่คนฟังแล้วเข้าใจ หรือควรแปลความหมายจากสิ่งที่กล่าว คนฟังจะได้รู้เรื่อง มิใช่กระทำกันไปโดยไม่รู้ถึงเป้าหมายที่ผู้ใหญ่วางเอาไว้ว่าทำไมต้องกล่าวถ้อยคำดังกล่าว มิหนำซ้ำบิล้าลที่กล่าวถ้อยคำดังกล่าวก็ไม่รู้ความหมาย (บางคนนะ) ได้แต่ว่าเพราะความคล่องและจดจำเท่านั้น


ดังนั้นถ้าจะว่าถ้อยคำดังกล่าวทั้งทีก็ควรให้คนฟังได้รู้ความหมายด้วยจะได้เข้าใจ แต่ถ้าว่าแล้วก็มีคนเข้าใจว่าเป็นสุนนะฮฺต้องว่า ไม่ว่าจะเกิดปัญหาเช่นคุฏบะฮฺใช้ไม่ได้อะไรทำนองนั้น แล้วคนฟังก็ไม่รู้ความหมายและเป้าหมายที่ว่าก็อย่าว่าเสียเลยจะดีกว่าเพราะจะเข้าข่ายเป็นบิดอะฮฺได้


(ที่บอกว่าเข้าข่ายจะเป็นบิดอะฮฺนั้นในกรณีที่เข้าใจว่ามีสุนนะฮฺให้บิล้าลต้องว่าประโยคดังกล่าวขณะเคาะฏีบจะขึ้นคุฏบะฮฺ แต่ถ้าไม่เชื่อไม่ได้เข้าใจว่าเป็นสุนนะฮฺก็เป็นสิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้ไม่ต่างอะไรกับการที่โฆษกมัสญิดบอกประชาสัมพันธ์กิจกรรมของมัสญิดก่อนหน้าการขึ้นอ่านคุฏบะฮฺนั้นแล)

والله اعلم بالصواب