เรืองซากาตของนักเรียนศาสนา  (อ่าน 7325 ครั้ง)

أبوبكر

  • บุคคลทั่วไป
เรืองซากาตของนักเรียนศาสนา
« เมื่อ: สิงหาคม 15, 2011, 12:04:47 am »
السلام عليكم ورحمةالله وبركاته
อาจารย์ มีคนบอกว่านักเรียนศาสนาไม่สามารถรับซากาต และเขาบอกไม่มีหลักฐาน อาจารย์พอมีหลักฐานไหมคับ ยังไงอาจารย์ช่วยตอบหน่อยคับ แล้วช่วยอธิบายให้หน่อยคับ ผมจะได้ไปบอกเขา
جزاك الله خيرا

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ตอบ : เรืองซากาตของนักเรียนศาสนา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 16, 2011, 07:58:04 pm »
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
      الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

หากนักเรียนศาสนานั้นเป็นคนยากจนหรือขัดสน และครอบครัวของเขาก็ยากจนและขัดสนก็เป็นที่แน่ชัดอยู่แล้วว่านักเรียนศาสนาผู้นั้นเป็นหนึ่งในผู้มีสิทธิรับซะกาต 8 จำพวก ที่อัล-กุรอานระบุเอาไว้ กล่าวคือ นักเรียนศาสนาผู้นั้นมิได้รับซะกาตในฐานะของนักเรียนศาสนา แต่รับซะกาตได้ในฐานะของฟะกีร (คนยากจน) หรือมิสกีน (คนขัดสน) นั่นเอง


 และหากว่านักเรียนศาสนาผู้นั้นใช้เวลาทั้งหมดของตนไปในการแสวงหาความรู้ที่มีประโยชน์และมีอุปสรรคในการที่จะรวมเอาระหว่างการประกอบอาชีพ และการแสวงหาความรู้เข้าด้วยกัน ก็ย่อมถือว่าเขามีสิทธิรับซะกาตได้ตามขนาดจำนวนที่จะช่วยให้เขาสามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ และตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของเขา เช่น ค่าซื้อตำราเรียนที่จำเป็นสำหรับสิทธิประโยชน์ของเขาทั้งในเรื่องศาสนาและดุนยาของเขา


เหตุที่ผู้แสวงหาความรู้ถูกมอบซะกาตให้ได้นั้นก็เพราะว่าเขาทำหน้าที่ในส่วนของฟัรฎูกิฟายะฮฺ และคุณประโยชน์ที่ได้จากความรู้ของเขามิได้จำกัดอยู่เฉพาะตัวของเขาแต่เป็นไปเพื่อประชาคมโดยรวม จึงถือเป็นสิทธิของเขาที่ควรจะได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากทรัพย์ซะกาต เพราะทรัพย์ซะกาตเป็นสิทธิของบุคคล 1 ใน 2 ประเภทคือ มุสลิมที่มีความต้องการจากผู้อื่น (เช่น คนยากจน) และผู้ที่บรรดามุสลิมมีความต้องการเขาผู้นั้นและผู้แสวงหาความรู้นี้ได้รวมเอาไว้ทั้ง 2 ประเภท


นักวิชาการบางส่วนกำหนดเงื่อนไขว่า นักเรียนศาสนาที่ว่านี้ต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติที่หวังได้ว่าเขาจะเรียนได้ดีและเป็นผู้ที่ชาวมุสลิมได้รับประโยชน์จากความรู้ของเขา หากไม่เป็นเช่นนั้นก็ไม่มีสิทธิสมควรจากการรับซะกาตตราบใดที่เขามีความสามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวได้ ซึ่งนี่ก็คือสิ่งที่เรียกกันในปัจจุบันว่า ทุนซะกาตสำหรับนักเรียนเรียนดีนั่นเอง (ฟิกฮุซะกาฮฺ ; ดร.ยูสุฟ อัล-กอรฎอวียฺ เล่มที่ 2 หน้า 601)

والله اعلم بالصواب