การเฝ้ากุโบร์  (อ่าน 12725 ครั้ง)

สลามครับ

  • บุคคลทั่วไป
การเฝ้ากุโบร์
« เมื่อ: ตุลาคม 24, 2012, 11:22:24 am »
1.การเฝ้ากุโบรเพื่ออ่านกุรอานให้คนตายได้หรือไม่
2.ในการเฝ้ากุโบร์ส่วนมากมักจะจ้างคนมาอ่านอัลกุอานให้อย่างนี้ใช้ได้หรือไม่
         อัลอัชอารีย์

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ตอบ : การเฝ้ากุโบร์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 08, 2012, 08:05:37 am »
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

ชัยคฺ อับดุลกอดิร อัล-มันดีลียฺ (ร.ฮ.) กล่าวว่า “การเฝ้ากุโบร์นั้นไม่เป็นสิ่งที่ถูกร้องขอให้กระทำในศาสนบัญญัติ อันที่จริงสิ่งที่ถูกร้องขอให้กระทำในศาสนบัญญัติคือ การอ่าน  อัล - กุรอานใน (ขั้นตอน) ทั้งหมดของการฝังมัยยิต.....” (บิบิรฺอะปอ เมอติยารอ ยังบากูซฺ ลาฆี เอ็นเดาะฮฺ  หน้า 49)


บรรดานักวิชาการฟิกฮฺสังกัดมัซฮับ อัล-หะนะฟียะฮฺ อัล-มาลิกียฺ และ อัช-ชาฟิอียฺ ระบุว่าเป็นที่มักรูฮฺในการค้างแรม (มะบีตฺ) ที่สุสานโดยไม่มีความจำเป็น (เฎาะรูเราะฮฺ) เช่น กลัวจากการขุดสุสาน เป็นต้น เพราะการค้างแรมที่สุสานไม่เป็นที่รู้กันจากสุนนะฮฺและเนื่องจากมีความเปล่าเปลี่ยว (วังเวง) ในการค้างแรมที่สุสาน และบางทีผู้ค้างแรมอาจจะเห็นสิ่งที่ทำให้สติของเขาหมดไป

(ดู บะดาอิอฺ อัศเศาะนาอิอฺ 1/320 , ชัรหุ ฟัตหิลเกาะดีร 2/142 , อัล-อัคฺติย๊าร 1/97 , มัจญฺมะอฺ อัล-อันฮุ๊ร 1/187 ,  อัล-มุนตะกอ 2/23 , อัล-หาวียฺ อัล-กะบีรฺ 3/238 ,  อัล-มุฮัซซับ 1/139 , อัล-มัจญ์มูอฺ 5/269 , มุฆนียฺ อัล-มุหฺต๊าจฺญ์  /362 เราวฺเฎาะฮฺ อัฏ-ฏอลิบีน 2/143)



ชัยคฺกะมาลุดดีน อิบนุ อัล-ฮุมาม อัล-หะนะฟียฺ (ร.ฮ.) กล่าวว่า และทุกๆ สิ่งที่ไม่เป็นที่รู้กันจากสุนนะฮฺในการเยี่ยมเยียนสุสานย่อมเป็นที่มักรูฮฺ ในการนำสิ่งนั้นมาปฏิบัติ .... และสิ่งที่รู้กันจากสุนนะฮฺไม่ใชอื่นใดนอกเสียจากการเยี่ยมเยียนสุสานและการขอดุอาอฺที่สุสานในสภาพที่ยืน เหมือนอย่างที่ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เคยมักกระทำในการออกไปยังอัล-บะเกียอฺ (ชัรหุฟัตหิล เกาะดีร 2/142)


และ อิมาม อัช-ชาฟิอียฺ (ร.ฮ.) กล่าวว่า “และฉันไม่ชอบการค้างแรม (มะบีต) ในสุสานเนื่องจากมีความเปล่าเปลี่ยว (วังเวง) ต่อผู้ค้างแรม” (อัล-อุมม์ 1/278) และ อัล-มาวัรฺดียฺ ถ่ายทอดคำกล่าวของอิมาม อัช-ชาฟิอียฺ (ร.ฮ.) นี้ด้วยถ้อยคำอื่น –ดูเหมือนว่าจะอยู่ในต้นฉบับอื่นว่า อิมาม อัช-ชาฟิอียฺ (ร.ฮ.) กล่าวว่า และฉันรังเกียจการค้างแรมที่สุสานเนื่องจากในสิ่งดังกล่าวมีความเปล่าเปลี่ยว(วังเวง) และการรบกวนหัวใจ (วิตกจริต-เสียว) (อัล-หาวียฺ อัล-กะบีร 3/328)


ชัยคฺ อัล-เคาะฏีบ อัช-ชิรฺบีนียฺ นักวิชาการสังกัดมัซฮับ อัช-ชาฟิอียฺรุ่นหลัง กล่าวว่า และตีความได้ว่าการค้างแรมในสุสานไม่เป็นที่มักรูฮฺ เมื่อหลุมสุสานนั้นอยู่ในบ้านที่มีคนอาศัยอยู่แตกต่างกับกรณีที่สุสานนั้นอยู่ในทะเลทรายก็ถือว่าเป็นที่มักรูฮฺ...

การแยกประเด็นระหว่างสุสานที่อยู่ในบ้านและสุสานที่อยู่ในทะเลทรายนั้นชัดเจนยิ่ง ยิ่งไปกว่านั้นสุสานส่วนใหญ่มีผู้คนอาศัยอยู่ จึงน่าจะไม่เป็นที่มักรูฮฺในกรณีนี้ และถูกเอามาจากการให้เหตุผลในกรณีมักรูฮฺว่า : แท้จริงคำพูด (ที่ว่ามักรูฮฺ) นั้น กรณีเมื่อผู้นอนอยู่คนเดียว ส่วนเมื่อพวกเขามีกันหลายคนอย่างที่เกิดขึ้นส่วนมากในปัจจุบันกรณีการค้างแรมในค่ำวันศุกร์เพื่ออ่านอัล-กุรอานหรือซิยาเราะฮฺสุสานก็ไม่มีการเป็นมักรูฮฺแต่อย่างใดในกรณีดังกล่าว”
(มุฆนียฺ อัล-มุหฺต๊าจญ์ 1/362)


สรุปได้ว่า การนอนค้างแรมในสุสานหรือที่เรียกว่า “เฝ้ากุโบร์” นั้น นักวิชาการฟิกฮฺส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นมักรูฮฺ โดยให้เหตุผลว่า
- ไม่เป็นที่รู้กันว่าเป็นซุนนะฮฺให้กระทำ
-ไม่ใช่สิ่งที่ถูกเรียกร้องให้กระทำตามบัญญัติของศาสนา
-การค้างแรมในสุสานก่อให้เกิดความเปล่าเปลี่ยว (วิหฺชะฮฺ) และผู้ค้างแรมอาจจะเห็นสิ่งที่ทำให้เสียสติได้


ส่วนกรณีมีความจำเป็น (เฎาะรูเราะฮฺ) ที่จะต้องนอนค้างแรมในสุสานเพื่อป้องกันมิให้สัตว์ร้ายมาขุดศพหรือขโมยที่จะมาขุดศพแล้วเอากะฟั่นไป หรือมีเหตุผลจำเป็นอื่นๆ ที่จำต้องเฝ้าสุสานก็ถือว่าเป็นสิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้ และไม่เป็นที่มักรูฮฺแต่อย่างใด


ส่วนกรณีที่ชัยคฺ อัล-เคาะฏีบ (ร.ฮ.) กล่าวเอาไว้นั้นเป็นการวิเคราะห์เหตุผลตามสภาพความเป็นจริงที่รู้กันในประเทศอียิปต์ เช่น ที่สุสานใหญ่ในไคโร เชิงเขาอัล-มุก็อฏฏอมซึ่งเรียกกันว่า “เกาะรอฟะฮฺ อัล-กุบรอ” ที่นั่นเป็นสุสานขนาดใหญ่มีการสร้างบ้านเรือนที่ครอบพื้นที่สุสานเอาไว้ และมีคนอาศัยอยู่ ซึ่งลักษณะเช่นนี้ไม่มีปรากฏในบ้านเมืองของเรา แม้เหตุผลที่ตีความว่า ถ้าอยู่กันหลายคนก็ไม่เป็นที่มักรูฮฺนั้น ก็ยังคงไม่พ้นประเด็นที่นักวิชาการฟิกฮฺส่วนใหญ่ให้เหตุผลเอาไว้อยู่ดี


ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่สมควรหลีกห่างในการนอนค้างแรมในสุสาน ส่วนการอ่านอัล-กุรอานนั้นก็ไม่เข้าข่ายว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งยวด (เฎาะรูเราะฮฺ) ที่จะนอนค้างแรมที่สุสานเพื่ออ่านอัล-กุรอานที่นั่น เพราะสามารถอ่านที่บ้านหรือที่มัสญิดก็ได้โดยไม่ต้องค้างแรมที่สุสาน


การอ่านอัล-กุรอานที่สุสานนั้นนักวิชาการมีความเห็นต่างเป็น 3 ทัศนะ ว่าเป็นที่มักรูฮฺหรือไม่เป็นอะไรในการอ่านอัล-กุรอานขณะฝัง และการอ่านหลังจากฝังไปแล้วเป็นที่มักรูฮฺหรือไม่?

-ถือว่าเป็นที่มักรูฮฺ เช่น อิมามอบูหะนีฟะฮฺ มาลิก และอะห์มัด ในริวายะฮฺหนึ่ง ฝ่ายนี้ให้เหตุผลว่า เป็นสิ่งที่อุตริขึ้นใหม่ ไม่มีสุนนะฮฺรายงานมา และการอ่านอัล-กุรอานคล้ายกับการละหมาด และการละหมาดที่สุสานเป็นสิ่งที่ถูกห้ามเอาไว้ การอ่านอัล-กุรอานก็เช่นกัน


-ไม่เป็นอะไร (ไม่มักรูฮฺ) เช่น อิมามมุฮัมมัด อิบนุ อัล-หะสัน และอะหฺมัดในอีกริวายะฮฺหนึ่ง ฝ่ายนี้อาศัยหลักฐานที่ถูกถ่ายทอดจากอิบนุ อุมัร (ร.ฎ.) ว่า : ท่านอิบนุ อุมัร (ร.ฎ.) ได้เคยสั่งเสียให้ถูกอ่านบนหลุมฝังศพของท่านขณะทำการฝังด้วยบรรดาอายะฮฺต้นของสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺและอายะฮฺช่วงท้ายของอัล-บะเกาะเราะฮฺ และถูกถ่ายทอดอีกเช่นกันจากมุฮาญิรีนบางท่านในการอ่านสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ

(ชัยคฺ อัล-อัลบานียฺ ระบุว่า ที่ถูกต้องคือ ชาวอันศ็อรบางคนตามที่อิบนุ อัล-ก็อยฺยิมระบุไว้ และการยืนยันในเรื่องนี้มีประเด็นที่ต้องพิจารณา ส่วนที่ถูกถ่ายทอดจากอิบนุ อุมัร (ร.ฎ.) นั้น ชัยคฺ อัล-อัลบานียฺ กล่าวว่า : สายรายงานไม่เศาะฮีหฺเพราะมีบุคคลที่นิรนามปรากฏอยู่ในสายรายงาน)


-ไม่เป็นอะไรในการอ่านอัล-กุรอานที่สุสานขณะเวลาทำการฝังเท่านั้น ส่วนหลังจากนั้น เช่นกรณีบุคคลที่มายังสุสานเป็นประจำเพื่ออ่านอัล-กุรอานที่นั่นถือเป็นสิ่งที่มักรูฮฺ เพราะไม่มีมาในสุนนะฮฺ
(สรุปจาก ชัรหุ อัล-อะกีดะฮฺ อัฏ-เฏาะหาวียะฮฺ ; อิบนุ อบิล อิซฺซ์ อัล-หะนะฟียฺ หน้า 458)


และอัล-ลามะฮฺ อิบนุ อบิลอิซฺซ์ (ร.ฮ.) กล่าวว่า : “กรณีการอ่านอัล-กุรอานและอุทิศผลบุญการอ่านให้แก่ผู้เสียชีวิตโดยขันอาสาไม่ใช่ด้วยค่าจ้าง กรณีนี้ถือว่าถึงผู้เสียชีวิต... ส่วนกรณีการจ้างคนกลุ่มหนึ่งให้มาอ่านอัล-กุรอานและอุทิศผลบุญแก่ผู้ตายสิ่งนี้ไม่มีผู้ใดจากชนยุคสะลัฟเคยกระทำ และอิมามท่านหนึ่งท่านใดของศาสนาก็ไม่ได้ใช้และไม่ได้อนุโลมในเรื่องนี้


....ส่วนกรณีเมื่อมอบให้แก่ผู้ที่อ่านอัล-กุรอาน สอน และเรียน อัล-กุรอานเพื่อเป็นการช่วยเหลือ...สิ่งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งจากประเภทของเศาะดะเกาะฮฺจากผู้ให้ (หรืออุทิศผลบุญนั้นแทนผู้ตาย) ก็เป็นเรื่องที่อนุญาต...”
(อ้างแล้ว หน้า 457)

والله اعلم بالصواب