ญินอิสลามมีหรือไม่  (อ่าน 5016 ครั้ง)

halim

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 38
ญินอิสลามมีหรือไม่
« เมื่อ: กันยายน 12, 2011, 04:13:24 pm »
salam  อ.อาลีครับ วันนี้ผมมีเรื่องที่ปวดหัวซักหน่อยครับอยากให้อาจารย์ช่วยอธิบายให้ผมเข้าใจครับ
1. ญิน เป็นมัคลูกหรือว่าเป็นบ่าวของอัลลอฮ์ครับ
2. มนุษย์กับญิณ เป็นบ่าวของอัลลอฮ์เหมือนกันหรือแตกต่างอย่างไรครับ
3. อัลลอฮ์ได้สร้างญินและมนุษย์เพื่อให้อิบาดะห์ต่อพระองค์แล้วใครเป็นผู้เผยศาสนาให้กับญินครับ
4. ญินจะประสบความสำเร็จเหมือนกับมนุษย์มั้ยครับว่าจะได้เข้าสวรรค์ อัลกุรอานมีบอกไว้อย่างไรบ้างเกี่ยวกับญินที่ประสบความสำเร็จ

JAZAKALoh HUKHAIRAN   salam

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ตอบ : ญินอิสลามมีหรือไม่
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 11, 2011, 09:56:54 pm »
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد


ข้อ 1. และ ข้อ 2.   ญินเป็นสิ่งถูกสร้าง (มัคลูก)  และเป็นบ่าวของอัลลอฮฺ (ซ.บ.)  เช่นเดียวกับบรรดามะลาอิกะฮฺและมนุษย์  ญินเป็นโลกที่ 3  (عَالَمْ ثَالِثٌ)  อื่นจากโลกของมลาอิกะฮฺและมนุษย์  ระหว่างญินกับมนุษย์มีสิ่งที่ร่วมกันคือ  คุณลักษณะทางปัญญาและการรับรู้  การมีความสามารถในการเลือกหนทางแห่งความดีและความชั่ว  และญินก็มีความแตกต่างจากมนุษย์ในหลายประเด็น  ที่สำคัญคือ ที่มาของการสร้างญินแตกต่างจากที่มาของการสร้างมนุษย์  ความหมายของคำว่าญินก็คือ สิ่งที่ถูกปกปิดอำพรางจากสายตา  


กล่าวคือ ญิณมองเห็นมนุษย์แต่มนุษย์มองไม่เห็นญินตามธาตุเดิมของมัน  ญินถูกสร้างจากเปลวไฟ  มะลาอิกะฮฺถูกสร้างจากรัศมี  และมนุษย์ถูกสร้างจากดิน  และญินถูกสร้างมาก่อนมนุษย์  และในทำนองเดียวกับกรณีของมนุษย์แบ่งประเภทออกป็น ผู้ปฏิเสธ (กาเฟร)  และผู้ศรัทธา (มุอฺมิน)  ญินก็แบ่งประเภทออกเป็น ญินผู้ปฏิเสธ  และญินผู้ศรัทธา  (ดู สูเราะฮฺ อัล-ญิน  อายะฮฺที่ 14, 15)  และผู้ศรัทธาของหมู่มนุษย์และหมู่ญินก็มีทั้งผู้พฤติดีและเชื่อฟังกับผู้ประพฤติชั่วและฝ่าฝืน  ญินที่ปฏิเสธจะถูกเรียกว่าชัยฏอน  ส่วนญินที่ศรัทธานั้นจะถูกเรียกว่าญินนียฺ  และอิบลีสก็คือญินที่เป็นชัยฏอนนั่นเอง



ข้อ 3.   อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงดำรัสว่า     \"يَا مَعْشَرَ‌ الْجِنِّ وَالْإِنسِ أَلَمْ يَأْتِكُمْ رُ‌سُلٌ مِّنكُمْ\"    “โอ้หมู่ญินและ  มนุษย์ ไม่เคยมีบรรดาศาสนทูตจากพวกเจ้ามายังพวกเจ้ากระนั้นหรือ...”  (สูเราะฮฺ อัล-อันอาม/130)

อายะฮฺนี้บ่งชี้ว่าอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงส่งบรรดาศาสนทูตไปยังหมู่ญิน  แต่อายะฮฺนี้ก็ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าบรรดาศาสนทูตที่ถูกส่งไปยังหมู่ญินมาจากหมู่ญินเองหรือว่ามาจากหมู่มนุษย์  เพราะถ้อยคำ \"مِنْكُمْ\" “จากพวกเจ้า”  นั้นตีความได้ทั้ง 2 อย่าง  อาจจะเป็นศาสนทูตของแต่ละหมู่  หรืออาจจะหมายถึงศาสนทูตของหมู่มนุษย์ที่ถูกส่งไปยังหมู่ญินด้วยก็ได้  นักวิชาการจึงมีความเห็นในเรื่องนี้ 2 ทัศนะ  


หนึ่ง สำหรับหมู่ญินมีบรรดาศาสนทูตที่มาจากหมู่ของตน  เป็นคำกล่าวของอัฏ-เฏาะหาก  และอิบนุ อัล-เญาวฺซียฺ  ระบุว่า เป็นนัยที่ปรากฏชัดของถ้อยคำ, อิบนุหัซมิน กล่าวว่า : ไม่เคยมีมนุษย์ที่เป็นนบีคนใดถูกส่งไปยังหมู่ญินเลยก่อนหน้าท่านนบีมุฮัมหมัด (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม)  


สอง บรรดาศาสนทูตของญินนั้นมาจากหมู่มนุษย์นั่นเอง อัส-สุยูฏียฺกล่าวว่า : “ปวงปราชญ์ทั้งสลัฟและเคาะลัฟมีความเห็นว่าไม่เคยมีศาสนทูตและนบีคนใดเลยที่มาจากหมู่ญิน  เช่นนี้ถูกรายงานมาจาก อิบนุ อับบาส, มุญาฮิด, อัล-กัลบียฺ และ อบูอุบัยดะฮฺ...” (ละวามิอุล-อันวาร 2/223-224)


ส่วนหนึ่งจากสิ่งที่ให้น้ำหนักว่าบรรดาศาสนทูตของหมู่หมุษย์ก็คือ ศาสนทูตของหมู่ญินด้วยคือการที่หมู่ญินได้ฟังอัลกุรอาน  \"إِنَّا سَمِعْنَا كِتَابًا أُنزِلَ مِن بَعْدِ مُوسَىٰ\"   “แท้จริงพวกเราได้ยินคัมภีร์ที่ถูกประทานลงมาหลังจากมูซา...” (สูเราะฮฺ อัล-อะหฺกอฟ / 30)   แต่นี่ก็ไม่ใช่ตัวบทยืนยันเด็ดขาดในประเด็นนี้



ข้อ 4.  เป้าหมายในการสร้างญินและมนุษย์ก็คือการเคารพสักการะและให้เอกภาพต่อพระองค์อัลลอฮฺ  ดังนั้นญินตามกรณีดังกล่าวจึงเป็นผู้ที่ถูกกำหนดให้ปฏิบัติคำสั่งและคำห้าม  ผู้ใดเชื่อฟังอัลลอฮฺ (ซ.บ.)  พระองค์ก็ทรงให้ผู้นั้นเข้าสู่สรวงสวรรค์  และผู้ใดฝ่าฝืนและกบถแข็งขืน  ผู้นั้นย่อมได้นรกอเวจี  ส่วนหนึ่งจากหลักฐานในเรื่องนี้    \"وَلِمَنْ خَافَ مَقَامَ رَ‌بِّهِ جَنَّتَانِ\"   \"فَبِأَيِّ آلَاءِ رَ‌بِّكُمَا تُكَذِّبَانِ\"   (สูเราะฮฺ อัร-เราะหฺมาน / 46-47)  


นัยของ 2 อายะฮฺนี้ครอบคลุมทั้งญินและมนุษย์  อิบนุ มุฟลิหฺ  กล่าวว่า : ญินเป็นผู้ที่ถูกกำหนดให้ปฏิบัติตามหลักการของศาสนาโดยรวมเป็นเรื่องที่มีมติเอกฉันท์  ญินที่ปฏิเสธจะเข้าสู่นรกอะเวจีโดยมติเอกฉันท์  และญินที่ศรัทธาจะได้เข้าสู่สวรรค์ตรงตามทัศนะของมาลิกและอัช-ชาฟิอียฺ...


 และอัล-ลัยษฺ อิบนุ สะอฺด์ กล่าวว่า : ที่ปรากฏชัดก็คือพวกเขาจะได้อยู่ในสรวงสวรรค์เหมือนกับผู้อื่นตามระดับผลบุญที่สั่งสมของพวกเขา  ค้านกับบุคคลที่กล่าวว่า ญินจะไม่กินไม่ดื่มในสวรรค์ เช่น มุญาฮิด หรือพวกเขาจะอยู่รอบๆ สวรรค์ เช่น อุมัร อิบนุ อับดิลอะซีซ (อ้างอิงจาก อาลัม อัล-ญิน วัช-ชะยาฏีน ; ดร.อุมัร สุลัยมาน อัล-อัช-ก๊อร, อัซ-ซัยฏอน ว่า อะดาวะตุฮู ลิล อินสาน ; ดร.อับดุลวะฮฺฮาด อับดุลอาฏียฺ อับดุลลอฮฺ)


والله اعلم با لصواب