หญิงมีรอบเดือน กับการอ่านกุรอาน และขอดุอาอฺ  (อ่าน 19869 ครั้ง)

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
หญิงที่มีรอบเดือนไม่สามารถอ่านอัลกุรอ่านได้ใช่เหรือไม่ และการขอดุอาจะกระทำได้หรือไม่?


ถามโดย - ชมรม น.ศ. มุสลิมรามคำแหง « เมื่อ: มิถุนายน 30, 2009, 05:59:55 am »

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
หญิงมีรอบเดือน กับการอ่านกุรอาน และขอดุอาอฺ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 26, 2010, 04:26:33 am »
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد...؛


หญิงที่มีรอบเดือน  (اَلْحَاﺋﺾ)  ขณะที่มีรอบเดือน  (เฮดฺ)  นั้นการอ่านอัลกุรอ่านด้วยลิ้นตามวิธีการอ่าน  (ติลาวะฮฺ)  เป็นที่ต้องห้าม  (ฮะรอม)  สำหรับนาง  (อัลฟิกฮุลวาฎิฮฺ  ;  ดร.มุฮำหมัด  บักร์  อิสมาอีล  เล่มที่  1  หน้า  102 / อัลฟิกฮุ้ลมันฮะญี่ย์  เล่มที่  1  หน้า  79)  ทั้งนี้โดยอาศัยหลักฐานจากหะดีษที่ระบุว่า[/size]

(لاَتَقْرَأالحَاﺋﺾ وَلاَالجُنُبُ ﺷﻴﺌﺎمِنَ القرآنِ)

“สตรีที่มีรอบเดือนและผู้มีญุนุบอย่าได้อ่านสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากอัลกุรอาน”  (รายงานโดยอัตติรมิซีย์)


การอ่านอัลกุรอ่านด้วยลิ้นและมีการเปล่งถ้อยคำออกมาถือเป็นที่ต้องห้าม  (ฮะรอม)  สำหรับสตรีที่มีรอบเดือน  ส่วนการอ่านในใจโดยไม่เปล่งถ้อยคำออกมาตลอดจนการมองดูคัมภีร์อัลกุรอ่านพร้อมอ่านในใจเป็นสิ่งที่อนุญาตให้นางกระทำได้  (อัลฟิกฮุ้ลมันฮะญี่ย์  เล่มที่  1  หน้า  76)  ในทำนองเดียวกัน  การอ่านถ้อยความจากอัลกุรอ่านโดยมีเจตนามุ่งว่าเป็นการซิกรุ้ลลอฮฺหรือการขอดุอาอฺมิใช่มีเจตนาว่าเป็นการอ่านอัลกุรอ่าน  ก็เป็นที่อนุญาตเช่นกัน  อาทิเช่น  อ่านอายะฮฺที่ว่า

(ربناآتنافى الدنياحسنة وفى الآخرة حسنة وقناعذاب النار)
ซึ่งเป็นอายะฮฺที่  201  จากบทอัลบะกอเราะฮฺโดยมีเจตนามุ่ง  (ก็อซฺด์)  ว่าเป็นดุอาอฺหรือซิกรุ้ลลอฮฺ  ย่อมเป็นที่อนุญาต  แต่ถ้ามีเจตนามุ่งว่าเป็นการอ่าน  (ติลาวะฮฺ)  อย่างนี้เป็นที่ต้องห้าม  เป็นต้น  



อย่างไรก็ตามนักนิติศาสตร์สังกัดมัซฮับมาลิกีย์และกลุ่มอัซซอฮิรี่ยะฮฺบางส่วนอนุญาตให้สตรีที่มีรอบเดือนอ่านอัลกุรอ่านได้  เพราะถือว่านางมีอุปสรรค  (مَعْذُوْرَة)  โดยนางไม่สามารถทำการยกหะดัสได้ในขณะที่ยังมีรอบเดือนอยู่  ซึ่งแตกต่างจากผู้มีญุนุบที่สามารถอาบน้ำยกหะดัสเมื่อใดก็ได้ที่มีความประสงค์  (อัลฟิกฮุ้ลวาฎิฮฺ  เล่มที่  1/102)  ชัยคุลอิสลาม  อิบนุ  ตัยมียะฮฺ  (ร.ฮ.)  ก็เป็นนักวิชาการอีกท่านหนึ่งที่ระบุว่าเป็นที่อนุญาตสำหรับสตรีมีรอบเดือนในการที่นางจะอ่านอัลกุรอ่าน  ถ้าหากว่านางเกรงว่าจะลืมอัลกุรอ่าน  (อะฮฺกามุฏฏ่อฮาเราะฮฺ  ;  ดร.อบู  สะรีอฺ  มุฮำหมัด  อับดุลฮาดีย์  หน้า  240/มัจญ์มูอะฮฺ  อัลฟะตาวา  ;  อิบนุตัยมียะฮฺ  เล่ม  21  หน้า  460-461)



ดังนั้นก็ให้พิจารณาว่า  ในกรณีปกติเมื่อสตรีมีรอบเดือนก็ให้นางหลีกเลี่ยงการอ่านอัลกุรอ่านตามวิธีปกติคือ  อ่านด้วยลิ้นและเปล่งถ้อยคำ  (ติลาวะฮฺ)  แม้เพียงบางส่วนของอายะฮฺอัลกุรอ่านก็ตาม  แต่ให้นางทำการซิกรุ้ลลอฮฺ  หรือขอดุอาอฺด้วยอายะฮฺอัลกุรอ่าน  โดยมีเจตนาว่าที่อ่านนั้นคือดุอาอฺหรือการซิกรุ้ลลอฮฺ  

เช่น سبحان الله ، والحمدلله  ولاإله الاالله والله أكير  -ซึ่งสำนวนการซิกรุ้ลลอฮฺนี้มีถ้อยความที่เป็นส่วนหนึ่งของอายะฮฺอัลกุรอ่าน-  

และอ่านดุอาอฺขณะขึ้นรถว่า  (سُبحَانَ الَّذِىْ سَخَّرَلَنَاهذا  ...إلخ)  ซึ่งเป็นสำนวนที่ปรากฏอยู่ในอัลกุรอ่าน  อายะฮฺที่  13  ซูเราะฮฺอัซซุคฺรุฟ  


ทั้งสองตัวอย่างนี้  นางสามารถกระทำได้  โดยมีเจตนาว่าซิกรุ้ลลอฮฺหรือขอดุอาอฺ  มิใช่เป็นการอ่านอัลกุรอ่าน  ส่วนในกรณีที่เกรงว่า  จะลืมอัลกุรอ่านที่ท่องจำเอาไว้  เพราะช่วงเวลามีรอบเดือนกินเวลาหลายวัน  หรือจำเป็นต้องเข้าสอบท่องจำอัลกุรอ่านในกรณีที่ไม่สามารถขอเลื่อนการสอบได้  กรณีเช่นนี้ก็อนุโลมให้ใช้ทัศนะของนักวิชาการที่มีทัศนะว่า  อนุญาตให้สตรีมีรอบเดือนอ่านอัลกุรอ่านได้  ดังรายละเอียดข้างต้น

والله أعلم بالصواب