คาใจในละหมาด  (อ่าน 7168 ครั้ง)

ชุก

  • บุคคลทั่วไป
คาใจในละหมาด
« เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2011, 12:38:04 pm »
อัสสลามูอลัยกุมครับอาจารย์อาลี เรื่องมีอยู่ว่าหลังจากผมละหมาดฟัรดูที่มัสยิดเสร็จแล้ว ผมจึงละหมาดสุนัต ต่อมามีคนที่มาไม่ทันละหมาดฟัรดูมาละหมาดตามโดยเข้าใจว่าผมละหมาดฟัรดู อย่างนี้ผมควรทำอย่างไรดีครับ
และอีกคำถามหนึ่งถ้ามาไม่ทันละหมาดแล้วต้องมีการละหมาดต่อหลังจากที่อีหม่ามให้สลามแล้ว อยากทราบว่าการที่เราจะละหมาดกี่รอกาอัตนั้นต้องดูอย่างไร และต้องละหมาดเหมือนรอกาอัตที่เรามาไม่ทันหรือไม่หรืออ่านแค่ฟาติหะอย่างเดียว

admin

  • Administrator
  • Full Member
  • *****
  • กระทู้: 166
ตอบ : คาใจในละหมาด
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 14, 2012, 10:39:08 am »
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته

ทั้งสองคำถามนี้ อาจารย์เคยตอบไปแล้วครับ ผมจะยกมาให้อ่านก็แล้วกันครับ

อ้างถึง
การละหมาด (กำลังละหมาดอยู่แล้วมีคนมาละหมาดตาม)
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد ؛

ตามคำถาม แสดงว่าเราเป็นอิหม่ามและคนที่มาสะกิดหลังเป็นมะอฺมูม คนที่เป็นมะอฺมูมนั้นจำต้องเหนียตตามอิหม่ามเพื่อเป็นญ่ามาอะฮฺอยู่แล้ว และเมื่อมะอฺมูมเหนียตอย่างนั้น การละหมาดดังกล่าวก็ถือเป็นญ่ามาอะฮฺ โดยอัตโนมัติ ส่วนคนที่ละหมาดอยู่ก่อนและถูกสะกิดหลังซึ่งอาจจะทำละหมาดฟัรฎูในรอกอัตที่ เหลืออยู่ หรือละหมาดซุนนะฮฺอยู่ก็ตาม ถือว่าเป็นอิหม่ามไปโดยอัตโนมัติเช่นกัน


ทั้งนี้ผู้ที่เป็น อิหม่ามนั้นสมควรที่จะเหนียตว่าตนเป็นอิหม่าม แต่ถ้าไม่เหนียตว่าตนเป็นอิหม่าม การละหมาดของเขาก็ถือว่าใช้ได้ การละหมาดของมะอฺมูมก็ถือว่าใช้ได้เช่นกัน และผลบุญของการละหมาดญ่ามาอะฮฺนั้นเกิดแก่มะอฺมูม ส่วนว่าจะเกิดกับอิหม่ามด้วยหรือไม่นั้นประเด็นนี้มีความเห็นต่างกันในมัซ ฮับอัชชาฟิอีย์ ซึ่งก็มีทั้งที่ว่าได้และไม่ได้ โดยทั้งหมดขึ้นอยู่กับการเหนียตของอิหม่าม (ดูกิตาบ อัลมัจญ์มูอฺ เล่มที่ 4/98)

สรุปคือตามคำถามที่ถามมาถือว่าใช้ได้ในการตามเราของคนที่มาสะกิดหลังเรา นี่ว่าตามท้องเรื่องที่ถามมา

والله أعلم



อ้างถึง
คนมัสบู้ก ที่มาไม่ทันอิหม่าม มีข้อกำหนดอย่างไร
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

มัสบู๊ก (مَسْبُوْقٌ) ทางภาษาหมายถึงผู้ที่ถูกนำหน้าไปก่อนแล้ว ดังนั้นคนที่มาร่วมละหมาดแล้วไม่ทันการตักบีเราะตุลอิหฺรอมของอิหม่ามนำละหมาดก็เรียกว่ามัสบู๊กทางภาษา คนที่มาทัน อิริยบทของอิหม่ามก่อนการให้สล่ามครั้งที่ 1 ของอิหม่ามก็เรียกว่ามัสบู๊กทางภาษา


แต่ในที่นี้หมายถึงผู้ที่มาทันอิหม่ามในขณะที่อิหม่ามลงรุกัวะพอดีในรอกอะฮฺนั้นๆ ดังนั้นเมื่อมะอฺมูมมาทันขณะอิหม่ามลงรุกัวะอฺก็ให้มะอฺมูมกล่าวตักบีรเราะตุลอิหฺรอมแล้วลงก้มรุกัวะตามอิหม่ามเลยโดยไม่ต้องอ่านสูเราะหฺอัล-ฟาติหะฮฺแล้วถือว่ามะอฺมูมได้รอกอะฮฺนั้น คือถูกคิดเป็น 1 รอกอะฮฺที่สมบูรณ์สำหรับมะอฺมูม ทั้งนี้ในการก้มลงรุกัวะอฺของมะอฺมูมตามอิหม่ามนั้นมะอฺมูมต้องมีการหยุดนิ่ง (เฏาะมะอฺนีนะฮฺ) โดยมั่นใจ


กล่าวคือเป็นการหยุดนิ่งก่อนที่อิหม่ามจะเลยศรีษะเอียะอฺติดาลขึ้นมานั่นเอง อย่างนี้แหละเรียกว่ามัสบู๊กที่ได้รอกอะฮฺนั้นๆ (อัล-ฟิกฮุลอิสลามียฺ ว่า อะดิลละตุฮฺ 2/215)


ในกรณีที่อิหม่ามละหมาดรอกอะฮฺแรกอยู่ แล้วมะอฺมูมก็มาทันในขณะนั้น มะอฺมูมตักบีรเราะตุลอิหฺรอมแล้วอ่านฟาติหะฮฺยังไม่จบ อิหม่ามลงรุกัวะ อย่างนี้เรียกว่า มะอฺมูมมุวาฟิก (مُوَافِق) ตามทัศนะที่ถูกต้อง (เศาะฮีหฺ) ในมัซฮับอัช-ชาฟีอียฺ ให้มะอฺมูมอ่านฟาติหะฮฺจนจบแล้วไล่ทำตามอิริยาบทของอิหม่ามที่กระทำนำหน้ามะอฺมูมไปก่อนแล้วตามระเบียบขั้นตอนของการละหมาด ทั้งนี้จะต้องไม่ล่าช้าจากอิหม่ามเกินกว่า 3 รุ่ก่นที่ยาว คือ รุกัวะอฺ และ 2 สุหญูด (อ้างแล้ว) และถือว่ามะอฺมูมได้รอกอะฮฺนั้นๆ


ส่วนถ้าหากอิหม่ามทำนำหน้าไปมากกว่า 3 รุ่ก่นแล้วโดยมะอฺมูมยังอ่านฟาติหะฮฺไม่จบ อิหม่ามเงยจากการ สุหญูดหรือนั่งตะชะฮฺฮุดแล้ว ตามทัศนะที่ถูกต้องที่สุด (อัล-อะเศาะหฺ) ในมัซฮับก็ไม่จำเป็นที่มะอฺมูมมะวาฟิกต้องเหนียตมุฟาเราะเกาะฮฺแต่ให้มะอฺมูมลงไปทำตามอิริยาบทของอิหม่ามขณะนั้นโดยไม่นับรอกอะฮฺนั้น

ภายหลังก็ลุกขึ้นทำรอกอะฮฺที่ผ่านเลยไป (รอกอะฮฺที่ไม่คิดสำหรับมะอฺมูม ภายหลังอิหม่ามให้สล่ามแล้วเหมือนกับมะอฺมูมมัสบู๊ก (อ้างแล้ว) ดูเรื่องนี้เพิ่มเติมในปัญหาที่เคยตอบไปแล้ว

والله اعلم بالصواب