การรักษาไสยศาสตร์ด้วยไสยศาตร์  (อ่าน 4533 ครั้ง)

ลี

  • บุคคลทั่วไป
การรักษาไสยศาสตร์ด้วยไสยศาตร์
« เมื่อ: ธันวาคม 08, 2011, 12:21:13 pm »
สลาม คับ อ. พอดีว่าผมคำถามเกี่ยวการนำไสยศาสตร์มารักษาด้วยไสยศาสตร์ว่าสามารถทำได้ไหมและแบบไหนที่สามารถทำได้หรือทำไม่ได้ คับ ขอให้ อ. ช่วยตอบด่วน อยากได้ข้อมูลมากครับ วัสลาม

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ตอบ : การรักษาไสยศาสตร์ด้วยไสยศาตร์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 19, 2012, 01:37:49 am »
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงดำรัสว่า

وَمَا كَفَرَ‌ سُلَيْمَانُ وَلَـٰكِنَّ الشَّيَاطِينَ كَفَرُ‌وا يُعَلِّمُونَ النَّاسَ السِّحْرَ‌

“และ (นบี) สุลัยมานมิได้ปฏิเสธศรัทธา (อย่างที่พวกยะฮูดกล่าวหาว่าท่านเล่นไสยศาสตร์) และแต่ทว่าบรรดามารร้ายได้ปฏิเสธศรัทธาโดยพวกมันได้สั่งสอนไสยศาสตร์แก่ผู้คน (ต่างหากเล่า)”    (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 102)


ท่านอิบนุ หะญัร (ร.ฮ.) กล่าวว่า : ในการที่มุศ็อนนิฟ (อิหม่ามอัล-บุคอรียฺ) ระบุ อายะฮฺนี้เอาไว้เป็นการบ่งชี้ถึงการเลือกข้อชี้ขาดที่ว่านักไสยศาสตร์เป็นกาฟิร เพราะแท้จริงตามถ้อยความที่ปรากฏชัดของอายะฮฺนั้นคือ พวกนักไสยศาสตตร์เป็นกาฟิรด้วยสิ่งดังกล่าว  (คือสอนไสยศาสตร์)  และจะไม่เป็นการกุฟร์ด้วยการสอนสิ่งนั้นๆ (เมื่อพิจารณาตามหลักเดิม – ผู้เขียน)  


และสิ่งดังกล่าวนั้นเป็นกุฟร์ (จึงถือว่าพวกที่สอนสิ่งที่เป็นกุฟร์ (คือไสยศาสตร์) เป็นกาฟิรเนื่องด้วยการสอนนั้น) และในกรณีนี้อีกเช่นกันเป็นการบ่งชี้ว่าการเรียนไสยศาสตร์เป็นกุฟร์ ดังนั้นการกระทำ (คือใช้) ไสยศาสตร์จึงเป็นกุฟร์ (ฟัตหุลบารียฺ เล่มที่ 1 หน้า 235)



อิมาม อัน -นะวาวียฺ (ร.ฮ.) กล่าวว่า : “การใช้ไสยศาสตร์เป็นที่ต้องห้าม (หะรอม) และเป็นส่วนหนึ่งจากบาปใหญ่ (กะบาอิรฺ) โดยมติเอกฉันท์ (อิจญ์มาอฺ) และแน่แท้ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้นับเอาการใช้ไสยศาสตร์เป็นหนึ่งจากการกระทำทั้ง 7 ประการที่นำไปสู่ความวิบัติ และส่วนหนึ่งเป็นสิ่งที่กุฟร์ และบางส่วน (จาก 7 ประการนั้น) ไม่เป็นกุฟร์ แต่เป็นการฝ่าฝืนขั้นหนัก


ฉะนั้นหากปรากฏว่าในการใช้ไสยศาสตร์นี้ถ้อยคำหรือการกระทำที่นำมาไปสู่การกุฟร์ก็ถือเป็นกุฟร์ ถ้าไม่นำพาไปสู่การกุฟร์ก็ไม่ถือเป็นการกุฟร์ ส่วนการเรียนและสอนไสยศาสตร์นั้นเป็นที่ต้องห้าม” (อ้างแล้ว)


นักวิชาการบางท่านอนุญาตให้เรียนไสยศาสตร์ได้ ด้วยเหตุผลหนึ่งใน 2 ประการดังนี้ คือ
1.เพื่อจำแนกแยกแยะสิ่งที่มีการกุฟร์อยู่ในสิ่งนั้นออกจากสิ่งอื่นที่มิใช่การกุฟร์
2.เพื่อขจัดไสยศาสตร์ (คุณไสย) ให้หมดไปจากผู้ที่ถูกคุณไสย


ในประการแรกนั้นไม่มีข้อห้าม ยกเว้นจากทางด้านความเชื่อ (อิอฺติกอดฺ) ดังนั้นเมื่อความเชื่อเป็นปกติ (ปลอดจากสิ่งที่ทำให้เสียอิอฺติกอดฺ) การรู้ถึงสิ่งนั้นเพียงอย่างเดียวก็ไม่ได้ทำให้เกิดข้อห้าม ดังเช่นบุคคลที่รู้จักวิธีการในการประกอบพิธีกรรมของพวกบูชาเจว็ด เป็นต้น


ทั้งนี้เพราะวิธีการของสิ่งที่นักไสยศาสตร์จะกระทำคุณไสยนั้น อันที่จริงเป็นเพียงการเล่าหรือถ่ายทอดให้ฟังถึงถ้อยคำและการกระทำ (ว่านักไสยศาสตร์กล่าวและทำอย่างไร?) ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับกรณีการกระทำคุณไสยและการกระทำด้วยไสยศาสตร์โดยตรง


ส่วนประการที่สองนั้น ถ้าหากว่าการแก้คุณไสยจะไม่เป็นไปโดยสมบูรณ์ (เหมือนอย่างที่บางคนกล่าวอ้าง) นอกเสียจากต้องแก้คุณไสยนั้นด้วยชนิดหนึ่งชนิดใดจากการกุฟร์หรือการเป็นบาปที่ฝ่าฝืน (ฟิสกฺ) ก็ไม่อนุญาตให้กระทำ แต่ถ้าไม่มีการกุฟร์ถูกใช้ในการแก้คุณไสยก็ย่อมเป็นที่อนุญาต (กล่าวคือ การแก้คุณไสยด้วยไสยศาสตร์ที่ไม่มีการกุฟร์ปรากฏทั้งในถ้อยคำและการกระทำก็อนุญาตให้ใช้  ไสยศาสตร์นั้นแก้หรือรักษาคนที่ถูกคุณไสยได้ตามทัศนะนี้)


บ้างก็กล่าวว่า ไม่อนุญาตให้เรียนไสยศาสตร์ (ถึงแม้ว่าจะไม่มีการกุฟร์ก็ตาม) เพราะไสยศาสตร์เป็นหนทางที่นำไปสู่การตั้งภาคีและการกุฟร์ จึงถูกห้ามเพื่อตัดไฟแต่ต้นลม (سَدًّالِلذًرَائِع)  ท่าน อัล-หะสัน อัล-บะเศาะรียฺ (ร.ฮ.) ถือว่าการแก้คุณไสย (อัน -นัชเราะฮฺ) เป็นที่น่ารังเกียจ (มักรูฮฺ) และท่านกล่าวว่า ไม่มีผู้ใดรู้วิธีแก้คุณไสยนอกจากนักไสยศาสตร์


และท่านอิบนุ อัล-เญาวฺซียฺ กล่าวว่า “อัน -นัชเราะฮฺ (اَلنَّشْرَةُ)  คือการแก้คุณไสยจากผู้ที่ถูกคุณไสยและเกือบจะไม่มีผู้ใดสามารถแก้คุณไสยนั้นได้นอกจากผู้ที่รู้ไสยศาสตร์ (มุอฺญิซาต อัล-กุรอาน ฟี อิลาจฺญ์ มัสสิลญาณ วัสสิหฺร์ ; หัมดียฺ อัด-ดิมัรดาช    มุฮำมัด หน้า 189-190)

والله أعلم بالصواب