ละหมาดฮายัตให้กาเฟร์มีสุขภาพดีไดัเป  (อ่าน 6209 ครั้ง)

อิมรอน

  • บุคคลทั่วไป
ละหมาดฮายัตให้กาเฟร์มีสุขภาพดีไดัเป่า salam

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ตอบ : ละหมาดฮายัตให้กาเฟร์มีสุขภาพดีไดัเป
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 11, 2012, 07:18:22 pm »
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد


การละหมาด อัล-หาญะฮฺ  (صلاةُالحَاجَةِ)  หมายถึง การที่มุสลิมมีความประสงค์ในกิจธุระของตนให้เป็นไปด้วยความสะดวกและสำเร็จ จึงอาบน้ำละหมาดและละหมาด 2 รอกอะฮฺเหมือนการละหมาดสุนนะฮฺทั่วไป แล้ววิงวอนขอต่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.) ภายหลังการละหมาด 2 รอกอะฮฺนั้นโดยขอให้พระองค์บันดาลให้ได้รับความสะดวกและความสำเร็จลุล่วงในกิจธุระที่มุ่งหมายนั้น

โดยมีหลักฐานระบุว่า

مَنْ تَوَضَّأَ فَأَسْبَغَ الْوُضُوءَ ثُمَّ صَلَّى رَكْعَتَيْنِ يُتِمُّهُمَا أَعْطَاهُ اللَّهُ مَا سَأَلَ مُعَجَّلاً اَوْ مُؤَخَّراً

“ผู้ใดอาบน้ำละหมาดแล้วเขาทำให้การอาบน้ำละหมาดนั้นสมบูรณ์ครบถ้วน ต่อมาเขาก็ละหมาด 2 รอกอะฮฺโดยทำให้ 2 รอกอะฮฺนั้นครบถ้วนสมบูรณ์ พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงประมานให้แก่ผู้นั้นซึ่งสิ่งที่เขาวิงวอนขอโดยปัจจุบันทันด่วนหรือโดยล่าช้า” (บันทึกโดย อิมาม อะหฺมัด (1/71 , 5 / 263) ด้วยสายรายงานเศาะฮีหฺ)    (ดู มินฮาญุลมุสลิม ; อบูบักร ญาบิร อัล-ญะซาอิรียฺ หน้า 199-200)


ดังนั้นการละหมาดอัล-หาญะฮฺก็คือการละหมาดสุนนะฮฺเพื่อใช้เป็นสื่อ (ตะวัสสุล) ในการตอบรับคำวิงวอนขอนั่นเอง และไม่มีสุนนะฮฺให้กระทำเป็นหมู่คณะ (ญะมาอะฮฺ) แต่ถ้าจะทำเป็นหมู่คณะก็ถือว่าค้านกับสิ่งที่ดีที่สุด  (خِلَافُ الأَولى)  แต่ไม่ถึงขั้นมักรูฮฺตามอิศฏิลาห์ในมัซฮับอัช-ชาฟีอียฺ


ประเด็นอยู่ที่ว่า การขอให้กาฟิรซึ่งยังมีชีวิตอยู่ให้มีสุขภาพดีภายหลังการละหมาดอัล-หาญะฮฺนี้เป็นกิจธุระสำคัญสำหรับมุสลิมหรือไม่? ถ้าเป็นโดยให้เหตุผลว่าการมีสุขภาพดีของกาฟิรที่ละหมาดอัล-หาญะฮฺ และขอดุอาอฺให้นี้มีความเกี่ยวพันอย่างยิ่งยวดกับสิทธิประโยชน์ของมุสลิมที่จะได้รับจากผลของการมีสุขภาพดีของการฟิรผู้นั้น หรือการมีสุขภาพดีของกาฟิรผู้นั้นเป็นการประกันความวางใจต่อสภาพอันเป็นปกติสุขของมุสลิมในการมีสิทธิและเสรีภาพในการถือศาสนาตราบที่กาฟิรผู้นั้นยังมีชีวิตอยู่และมีสุขภาพแข็งแรง โดยถ้าหากกาฟิรผู้นั้นเสียชีวิตลงก็จะเกิดความวุ่นวายหรือการคุกคามต่อเสรีภาพและสิทธิประโยชน์ของมุสลิมในด้านศาสนา


หากเป็นไปตามเหตุผลที่ว่ามานี้ก็ถือว่าสามารถกระทำได้พร้อมกับเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ (มักรูฮฺ) แต่ถ้าไม่มีเหตุผลอันเกี่ยวเนื่องด้วยศาสนาและสิทธิประโยชน์ดังที่กล่าวมาข้างต้นรองรับ ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่เข้าข่ายต้องห้าม (หะรอม) เพราะการมีสุขภาพดีเป็นเหตุให้เกิดความปิติยินดีเกิดขึ้นในจิตใจของกาฟิร และการทำให้เกิดความปิติยินดีในเรื่องทางโลกเกิดขึ้นในจิตใจของกาฟิรนั้น เป็นสิ่งต้องห้ามตามที่นักวิชาการระบุเอาไว้

والله أعلم بالصواب