ระบบชูรอประเทศเรา  (อ่าน 6215 ครั้ง)

muhammad rushdee

  • บุคคลทั่วไป
ระบบชูรอประเทศเรา
« เมื่อ: มกราคม 19, 2012, 11:44:18 am »
อัสลามุอลัยกุม ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮ์ผู้ทร​งเป็นพระเจ้าที่แท้จริง และขอซอลาวาตต่อท่านนบีของเ​ราและวงตกูลของท่านและผู้ที​่ปฏิบัติตามท่าน
อาจารย์ครับอะไรคือระบบชูรอ และบัญญัติด้านศาสนา แล้วในประเทศเราจะมีไหม :cheer:
สุดขอดุอาจากอัลลอฮ์ไห้จารย์และผมมีร่างกายที่ดี และคว่ามรู้ที่ดีเพิ่มขึ้นเพื่อทำหน้าที่เผยแพร่คำสังของอัลลอฮ์และแบบอย่างของท่านนบีต่อไป   อามีน ;)
อีกอย่างตอนนี้ผมเรียนฮาฟิสอยู่ช่วยขอดุอาอ์ให้ผมประสพความสำเร็จในการเรียนนี้ด้วย อามีน

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ตอบ : ระบบชูรอประเทศเรา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 28, 2012, 04:28:49 pm »
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

คำว่า อัช-ชูรอ (الشُّوْرى) ตามหลักภาษาหมายถึงการนำเสนอสิ่งนั้นๆ และทำให้ความสวยงามของสิ่งนั้นๆ ปรากฏชัด (อัล-ฟาอิก ฟีเฆาะรีบ อัล-หะดีษ 2/267) อัร-รอฆิบ (ร.ฮ.) กล่าวว่า : อัต-ตะชาวุร , อัล-มุชาวะเราะฮฺ และ อัล-มะชูเราะฮฺ หมายถึงการนำเอาความเห็นนั้นๆ ออกมา (คัดกรอง) ด้วยการทบทวนสอบทานบางส่วนไปยังอีกบางส่วน


และคำว่า อัช-ชูรอ หมายถึง เรื่องราวที่มีการหารือและปรึกษากันในเรื่องราวนั้นๆ (มุฟเราะดาตฺ เฆาะรีบ อัล-กุรอาน) หรือหมายถึง การมีคำสั่งให้กระทำสิ่งนั้นๆ โดยสรุปตามนัยทางภาษาคำว่า อัช-ชูรอ บ่งถึงเรื่อง 2 เรื่อง คือการแจ้งให้ทราบ (อัล-อิอฺลาม) และการบังคับให้ดำเนินการ (อัล-อิซามฺ) – มันฮะญุสสุนนะฮฺ ฟิลฺ อะลาเกาะฮฺ บัยนัล-หากิม วัล-มะหฺกูม ; ดร.ยะหฺยา อิสมาอีล หน้า 403)


คำว่า อัช-ชูรอ ถูกระบุไว้ในคัมภีร์อัล-กุรอาน อายะฮฺที่ 38 จากสูเราะฮฺ อัช-ชูรอว่า

وَالَّذِينَ اسْتَجَابُوا لِرَ‌بِّهِمْ وَأَقَامُوا الصَّلَاةَ وَأَمْرُ‌هُمْ شُورَ‌ىٰ بَيْنَهُمْ

“และ (คือ) บรรดาผู้ซึ่งพวกเขาตอบรับโดยดุษฎีต่อพระผู้อภิบาลของพวกเขา และพวกเขาดำรงการนมัสการ และกิจการของพวกเขามีการปรึกษาหารือในระหว่างพวกเขา”

และในอายะฮฺที่ 159 สูเราะฮฺ อาลิ-อิมรอน ระบุว่า

فَاعْفُ عَنْهُمْ وَاسْتَغْفِرْ‌ لَهُمْ وَشَاوِرْ‌هُمْ فِي الْأَمْرِ‌

“ดังนั้น ท่าน (นบี) จงอภัยแก่พวกเขาและจงขอลุแก่โทษให้แก่พวกเขา และท่านจงปรึกษาหารือกับพวกเขาในเรื่องกิจการ (ที่สำคัญ)”


ดังนั้นการชูรอในศาสนาอิสลามจึงถือเป็นระบอบสำหรับวิถีชีวิตซึ่งมีความเป็นส่วนร่วมในทุกภาคส่วนโดยเริ่มจากวิถีชีวิตในเชิงจิตวิญญาณ สู่การมีวิถีชีวิตในเชิงสังคมระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป และสิ้นสุดที่วิถีชีวิตระหว่างประชาคมเดียวกัน การชูรอเป็นหลักมูลฐานที่มีความมีสำคัญเฉกเช่นหลักมูลฐานแห่งความศรัทธา การละหมาด และการจ่ายซะกาต (อัต-ตะอายุช อัส-สิลมียฺ บัยนัลฺ มุสลิมีน ว่า ฆ็อยริฮิมฺ ดาคิล่า เดาละติน วาหิดะติน ; ซู เราะหฺมาน ฮิดายาตฺ หน้า 265)


ในอัตชีวประวัติของท่านรสูล (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) และบรรดาเคาะลีฟะฮฺผู้ทรงธรรมภายหลังจากท่านมีระบบของการชูรอที่มีความชัดเจนและถือเป็นแบบแผนในด้านรัฐศาสตร์การปกครอง ทั้งนี้ท่านรสูล (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) คือบุคคลที่มีการปรึกษาหารือกับเหล่าเศาะหาบะฮฺของท่านมากที่สุด (บันทึกโดย อัต-ติรมีซียฺ ในกิตาบ อัล-ญิฮาด) และท่านจะดำเนินการตามทัศนะที่มีการกลั่นกรองแล้วด้วยการประชุมปรึกษาหารือเสมอ เช่น ในวันสมรภูมิ บัดรฺ , อุหุด อัล-คอนดัก , และ อัล-หุดัยบียะฮฺ เป็นต้น


และท่านเคยกล่าวว่า อบูบักร (ร.ฎ.) และ อุมัร (ร.ฎ.) ว่า

لَوِاجْتَمَعْتُمَا فِيْ مَشُوْرَةٍ مَاخَالَفْتُكُمَا

“หากว่าท่านทั้งสองเห็นพ้องในการหารือแล้ว ฉันก็ไม่ขัดแย้งกับท่านทั้งสอง” (บันทึกโดย อะหฺมัด ใน มุสนัด 4 : 227)


การปรึกษาหารือ (อัช-ชูรอ) เป็นภาระกิจของผู้ปกครองรัฐมุสลิม โดยจะต้องนำเรื่องที่มีความสำคัญมอบให้แก่กลุ่มคณะบุคคลที่มีคุณสมบัติสำหรับการให้คำปรึกษาหารือ เรียกกลุ่มคณะบุคคลนี้ว่า อะฮฺลุลหัล วัล-อักดฺ (أَهْلُ الْحَلِّ وَالْعَقْدِ) หรือ อะฮฺลุล-อิคติยาร (أَهْلُ الإِخْتِيَارِ) หรือ อะฮฺลุ้ล-อิลมฺ (أَهْلُ الْعِلْمِ) สำหรับผลที่ได้จากการปรึกษาหารือนั้น ท่าน อิบนุ กะษีร (ร.ฮ.) ระบุว่า นักวิชาการมีความเห็นต่างกันเป็น 2 ฝ่าย

หนึ่ง ถือว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องมีการดำเนินการตามนั้น

สอง ถือว่าไม่จำเป็นแต่ส่งเสริม กระนั้นนักวิชาการร่วมสมัยเป็นจำนวนมากก็ถือว่า ผลที่ได้จากการประชุมหารือเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องดำเนินการตามนั้น กล่าวคือ เมื่อมีมติอย่างหนึ่งอย่างใดในการประชุมหารือซึ่งเป็นข้อยุติแล้วก็เป็นเรื่องที่ผู้ปกครองต้องดำเนินการตามนั้น  (อัต-ตะอายุช บัยนัลฺ มุสลิมีน ว่า ฆ็อยริฮิมฯ หน้า 266)


และช่วงเวลาสำหรับการปรึกษาหารือนั้นอยู่ก่อนการตัดสินใจ (อัล-อัซฺม์) ดังนั้นเมื่อมีการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งของผู้นำหรือผู้ปกครองที่เป็นผลมาจากการปรึกษาหารือ ก็ถือเป็นหน้าที่เหนือประชาคมที่จะต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามในสิ่งที่ไม่ขัดต่อหลักการของศาสนา และมอบหมายเรื่องราวนั้นๆ ยังพระองค์อัลลลอฮฺ (ซ.บ.) ทั้งนี้เพื่อมิให้เกิดความแตกแยกทางความคิด ซึ่งจะก่อให้เกิดการสูญเสียเอกภาพและแตกสามัคคี (มันฮัจฺญ์ อัส-สุนนะฮฺ หน้า 409)


และเนื้อหาสาระที่เป็นเรื่องราวของการประชุมหารือนั้น มิใช่ทุกเรื่องไป หากแต่เป็นเรื่องที่มนุษย์มีสิทธิในการปรึกษาหารือและเสนอแนวคิดเพื่อหาบทสรุปเท่านั้น ส่วนเรื่องราวที่มีตัวบทระบุเอาไว้โดยเด็ดขาดทางศาสนาแล้วนั้นไม่สามารถนำมาเป็นข้อปรึกษาหารือเพื่อให้เป็นไปอย่างอื่นจากที่ศาสนากำหนดได้


และนี่เป็นความแตกต่างของระบบการชูรอแบบอิสลามกับระบบการปรึกษาหารือในแบประชาธิปไตยของตะวันตกซึ่งมักก้าวล่วงขอบเขตดังกล่าวด้วยการใช้เสียงส่วนใหญ่ในสภาลงมติโดยไม่คำนึงว่าเรื่องๆ นั้นเป็นข้อกำหนดที่เด็ดขาดและเป็นข้อยุติไปแล้วทางศาสนา เฉพาะอย่างยิ่งระบอบประชาธิปไตยแบบโลกนิยมสุดขั้ว (แซคคิวล่าร์) ที่แยกศาสนาออกจากการเมืองการปกครอง เช่น กรณีของฝรั่งเศส เป็นต้น


สำหรับในประเทศไทยของเรานั้นระบบการชูรอก็มีปรากฏอยู่ ระบอบการปกครองของไทยซึ่งมีท่าทีเป็นมิตรกับศาสนามากกว่าตะวันตก แต่ก็ไม่ถือเป็นระบบชูรอที่สมบูรณ์แบบตามปรัชญารัฐศาสตร์การปกครองในศาสนาอิสลาม มีความเหมือนในบางส่วน และมีความแตกต่างในบางส่วน สำหรับในระบบองค์กรอิสลามของประเทศไทยนั้นมีรูปแบบของการชูรออยู่แล้ว เพียงแต่ว่าจิตวิญญาณและสารัตถะแห่งระบบการชูรอที่ถูกใช้ในองค์กรอิสลามทุกระดับยังขาดศักยภาพและประสิทธิภาพในระดับมาตรฐานที่ควรจะเป็น จึงต้องมีการสร้างความตระหนักและเผยแผ่องค์ความรู้ที่มีมิติรอบด้านในเรื่องนี้กันต่อไป


ขออัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงตอบรับคำวิงวอนของคุณที่มีต่อผม และขอให้พระองค์ทรงเตาฟีกให้คุณเป็น อะฮฺลุลกุรอานที่สมบูรณ์แบบ อัลลอฮุมม่า อามีน

والله ولي التوفيق