มูอัลลัฟ .. (ร่วมในการจัดงานบวช / ละหมาดญ่ามาอะฮฺ)  (อ่าน 2894 ครั้ง)

nah

  • บุคคลทั่วไป
อยากถามว่า
1.มูอัลลัฟ คนหนึ่งกลับไปเยียมบ้านของเขาที่ไม่ไช่มุสลิม และพอดีทางของเขามีงานบวช  ทางแม่ของเขาตอ้งการไห้ลูกชายซึ่งเป็นมูอัลลัฟ ซึ่งเขามีรถ เเม่เขาไห้ลุกชายเขาขับรถขนเก้าอี้ไปงานบวช  อยากทราบว่า กระทำได้หรือไม่
2. อีหม่าม ลืมตาซะฮุดครั้งเเรก และเมื่อเขายืนตรง แล้ว แล้วมีคนทัก และเขาก็กลับลงไปไหม่ แต่เมื่อละหมาด เสร็จ ก็มีคนยื่นขึ้น แล้วบอกว่า ..ไครที่ยืนขึ้นแล้วก็ตามอีกหม่ามลงไปอีก เสียละหมาด ยังงี้คนที่เป็นมะมูมที่เขาไม่รุ้ ต้องละหมาดไหม่หรือไม่
3.ไปบ้านงาน บ้านมีสองชั้น พอถึงเวลาละหมาด ข้างบนทำละหมาดญามาอะห์  แต่พอสักพัก คนข้างก็จะตั่งญามาอะห์อีกข้างล่าง .. อยากทราบว่า ..ถ้าจะตั้งญามาอะห์ ไหม่อีกข้างล่าง กับไปละหมาดรวมกับที่ข้างบน อันไหนดีกว่า ..

ขอไห้อัลเลาะห์ทรงตอบเเทนอาจารย์  ..

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

1. อยู่ที่เจตนาเป็นหลักว่าเขามีเจตนาเช่นใด หากมีเจตนาเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดงานบวชโดยตรง ก็ถือว่าไม่ได้ แต่ถ้ามีเจตนาขนเก้าอี้ไปส่งที่งานบวชตามที่แม่ไหว้วานเพราะมีรถก็ถือว่าไม่มีข้อห้ามแต่อย่างใด


2. ในกรณีของมะอฺมูมที่ยืนขึ้นแล้วกลับลงมานั่งตะชะฮฺฮุดตามอิหม่ามอีกนั้น ในมัซฮับ อัช-ชาฟิอียฺมี 2 แนวทาง (วัจญฮ์) ที่ทราบกัน 1) กลับลงมาได้ 2) ไม่ต้องกลับลงมา ฝ่ายชัยคฺ อบูหามิดและนักวิชาการสังกัดมัซฮับ อัช-ชาฟิอียฺที่เป็นชาวอิรักถือว่าที่ถูกต้องที่สุดของสองแนวทาง (อะเศาะหฺ อัล-วัจญ์ฮัยนฺ) คือการกลับลงมานั่งตามอิหม่ามเป็นสิ่งจำเป็น และอิมาม อัล-บะเฆาะวียฺชี้ขาดว่า จำเป็นที่มะอฺมูมจะต้องกลับลงมานั่ง ดังนั้นในมัซฮับอัช-ชาหิอียฺจึงมีทัศนะที่ต่างกันในประเด็นนี้เป็น 3 แนวทาง

1.จำเป็นต้องกลับลงมานั่งอ่านตะชะฮฺฮุดพร้อมกับอิหม่ามเป็นแนวทางที่ถูกต้องที่สุด (อัล-อะเศาะห์)


2.หะรอม (เป็นสิ่งต้องห้าม)


3.อนุญาตให้กลับลงมานั่งอ่านตะชะฮฺฮุดพร้อมกับอิหม่ามก็ได้ แต่ไม่จำเป็น (กิตาบ อัล-มัจญมูอฺ ชัรหุลฮัซซับ เล่มที่ 4 หน้า 136)

ฉะนั้น ในกรณีที่เกิดขึ้นตามที่ถามมาย่อมถือว่าการละหมาดตามของมะอฺมูมทั้งที่นั่งอ่านตะชะฮฺฮุดพร้อมกับอิหม่ามเพราะมะอฺมูมยังไม่ทันลุกขึ้นตามอิหม่าม หรือมะอฺมูมที่ลุกขึ้นตามอิหม่ามแล้วไม่ย้อนกลับมานั่งตามอิหม่ามหรือมะอฺมูมที่ลุกขึ้นและตามอิหม่ามลงมานั่งอ่านตะชะฮฺฮุดถือเป็นการละหมาดที่ใช้ได้ทุกกรณี แม้ในประเด็นที่ระบุว่าต้องห้าม (หะรอม) ที่จะย้อนกลับลงมานั่งอีกก็ถือว่าละหมาดของมะอฺมูมใช้ได้เพราะ หะรอมที่มะอฺมูมทำรุก่นฟิอฺลียฺ (การลุกขึ้นมายืนในรอกอะฮฺที่สาม) ล้ำหน้าอิหม่ามแต่ไม่เสียละหมาดเพราะมะอฺมูมทำล้ำหน้าอิหม่ามไปเพียงรุ่ก่นฟิอฺลียฺข้อเดียว


ส่วนถ้าถือตามประเด็นที่ระบุว่าจำเป็นต้องกลับมานั่งลงอ่านตะชะฮฺฮุดพร้อมกับอิหม่ามซึ่งเป็นประเด็นที่ถูกต้องที่สุดการกระทำของมะอฺมูมก็ถูกต้องแล้ว ไม่ต้องละหมาดใหม่แต่อย่างใด และมะอฺมูมที่ไม่รู้ก็ถือว่าการละหมาดของเขาใช้ได้เช่นกัน เพราะในกรณีที่เกิดขึ้นมีประเด็นรับรองเอาไว้คือ อนุญาตให้กลับลงมาหรือยืนอยู่เช่นนั้นก็ได้ จริงๆ แล้วถ้าถือตามประเด็นที่ถูกต้องที่สุดในมัซฮับอัช-ชาฟิอียฺคนที่ลุกขึ้นยืนแล้วทักท้วงนั้นต้องพูดว่า “...ใครที่ยืนขึ้นแล้วก็ไม่ลงมานั่งตามอิหม่ามอีก คนนั้นแหละเสียละหมาด” ไม่ใช่อย่างที่ว่ามา!


3. กรณีที่ถามมาเป็นการละหมาดญะมาอะฮฺที่บ้านงานไม่ใช่ที่มัสญิด จึงเป็นเรื่องที่สามารถกระทำได้ จะตั้งญะมาอะฮฺข้างบนหรือข้างล่างก็ได้ หรือจะทำญะมาอะฮฺพร้อมกันทั้งข้างล่างหรือข้างบนก็ได้ ส่วนที่ว่าอันไหนดีกว่าก็ตอบได้ว่า การทำญะมาอะฮฺพร้อมกันในที่เดียวย่อมดีกว่า โดยให้พิจารณาว่าสถานที่ชั้นบนหรือชั้นล่างสถานที่ใดกว้างขวางผู้คนหรือแขกเหรื่อไม่ขวักไขว่ก็ให้ทำญะมาอะฮฺพร้อมกันในสถานที่นั่นแลดีที่สุด

والله أعلم بالصواب