การหย่า (ถูกบังคับให้หย่า)  (อ่าน 3810 ครั้ง)

อัศดง

  • บุคคลทั่วไป
การหย่า (ถูกบังคับให้หย่า)
« เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2012, 01:54:47 pm »
السلام عليكم ورحمة الله وبركاته
มีสามี ภรรยาคู่หนึ่งเขาทะเลาะกัน จนถึงขั้นรุนแรง จนภรรยาทนไม่ได้ จึงไปบอกกับพ่อแม่ฝ่ายหญิงให้มาจัดการให้ฝ่ายชายทิ้งเขา(หย่า)
พอพ่อแม่เขามาถึงก้อให้ฝ่ายชายทิ้ง
แรกๆๆฝ่านชายก้อไม่ยอมทิ้ง
แต่หนักเข้า
พ่อฝ่ายหญิงได้จึงบังคับให้ทิ้ง
โดยพูดว่า (ถ้ามืงไม่ทิ้งกูจะตบมึง)
ฝ่ายชายจึงทิ้งฝ่ายหญิง แบบนี้ถือว่าตกตอลากไหมครับ

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ตอบ : การหย่า (ถูกบังคับให้หย่า)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 10, 2012, 11:38:12 pm »
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

การหย่า (เฏาะล๊าก) ของผู้ที่ถูกบังคับ (อัล-มุกเราะฮฺ) นั้น นักวิชาการมีความเห็นต่างกัน ในทัศนะของชาวสะลัฟจำนวนมากและนักวิชาการสังกัดมัซฮับอัล-มาลีกียฺ , อัช-ชาฟิอียฺ และอัล-หะนาบิละฮฺ ถือว่าการหย่าของผู้ที่ถูกบังคับไม่เป็นผล (ถือว่าไม่ตก)


เนื่องจากอาศัยหลักฐานที่รายงานโดยอะหฺมัด , อบูดาวูด และอิบนุมาญะฮฺ จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ (ร.ฎ.) ว่า : ฉันได้ยินท่านรสูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า  لَاطَلاَقَ ولاعِتَاقَ فى إغْلَاقٍ  “ไม่มีการหย่าและไม่มีการปล่อยทาสในกรณีที่มีการบังคับขืนใจ”


ทั้งนี้เพราะผู้ถูกบังคับไม่มีความสมัครใจ ซึ่งมีหะดีษระบุว่า “ได้ถูกยกออกจากประชาชาติของฉันคือความผิดพลาด การหลงลืม และสิ่งที่พวกเขาถูกบังคับขืนใจ”


ส่วนฝ่ายนักวิชาการสังกัดมัซฮับอัล-หะนะฟียฺและชนรุ่นตาบิอียฺบางท่านถือว่าการหย่าของผู้ที่ถูกบังคับนั้นเป็นผล (ถือว่าตก) เพราะการหย่านั้นเกิดขึ้นโดยมีความประสงค์จากผู้หย่า (ฟะตาวา มุอาศิเราะฮฺ ; ดร.วะฮฺบะฮฺ อัซ-ซุหัยฺลียฺ หน้า 183)


กระนั้นการบังคับขืนใจของผู้หย่าที่ทำให้ไม่มีผลในการหย่านั้นก็มีเงื่อนไขประกอบเช่น เป็นการบังคับขืนใจโดยอธรรม และการบังคับขู่เข็ญนั้นบังคับด้วยการลงโทษแบบปัจจุบัน มิใช่เรื่องที่เกี่ยวกับอนาคต และผู้ที่บังคับนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นผู้ที่สามารถดำเนินการตามคำขู่เข็ญนั้นได้จริง จะด้วยความเป็นผู้มีอำนาจหรืออิทธิพลหรือการจู่โจมก็ได้


และผู้ที่ถูกบังคับนั้นไร้ความสามารถจากการปัดป้องการบังคับขู่เข็ญนั้น เช่นวิ่งหนี ต่อสู้ หรือขอความช่วยเหลือ และค่อนข้างมั่นใจว่าจะเกิดสิ่งที่ถูกขู่เข็ญนั้นจริง หากว่าไม่ทำการหย่า ทั้งนี้รูปแบบการบังคับขู่เข็ญนั้นจะมีความแตกต่างกันไปเป็นรายบุคคล ตลอดจนสิ่งที่ถูกขู่เข็ญเอาไว้นั้นก็แตกต่างกันไป (อะหฺสะนุลกะลาม ฟิลฟะตาวา วัล-อะหฺกาม 22/181)



ดังนั้น ในกรณีที่ถามมานั้นจึงต้องพิจารณาว่า การบังคับให้ฝ่ายสามีหย่า โดยพ่อของฝ่ายหญิงขู่ว่า ถ้าไม่หย่าก็จะตบนั้น เป็นการบังคับและขู่ที่ทำได้จริงหรือไม่ และฝ่ายสามีสามารถหลบเลี่ยงหรือต่อสู้หรือขอความช่วยเหลือได้หรือไม่ อีกทั้งฝ่ายสามีเสียเกียรติให้เป็นที่อับอายหรือไม่ ถ้าเป็นไปตามที่กล่าวมาก็ถือว่าการหย่าของฝ่ายสามีไม่เป็นผลเพราะถูกบังคับขืนใจซึ่งเข้าองค์ประกอบของเงื่อนไข แต่เพียงแค่ขู่และก็ทำไม่ได้จริงตามคำขู่ อีกทั้งฝ่ายสามีก็สามารถปัดป้องได้ ก็ไม่ครบองค์ประกอบของเงื่อนไข การหย่าที่เกิดขึ้นก็ถือว่าเป็นผลแล้วตามที่สามีได้เอ่ยวาจาออกมาครับ

والله أعلم بالصواب