ซอรอฟ (ทำไม رجع يرجع , دخل يدخل ไม่ตรงตามตัวชั่งของมัน)  (อ่าน 6450 ครั้ง)

AL_Wardah

  • บุคคลทั่วไป
อาจารย์ครับอยากทราบว่าทำไม رجع  يرجع , دخل يدخل ไม่ตรงตามตัวชั่งของมันทั้งๆที่มันน่าจะเป็นบทที่สาม แต่ไม่ใช่บทที่สาม หรือว่ามันเป็นที่ยกเว้น ถ้าหากเป็นคำที่ยกเว้นแล้วมันมีด้วยกันทั้งหมดกี่คำครับ
ขอบคุณมากครับสำหรับคำตอบของอาจารย์

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
السلام عليكم ورحمة الله وبركا ته

กริยาอดีต (ฟิอฺล์ มาฎิน) ในประเภทกริยาแท้ (มุญัรฺร็อด) ชนิด 3 อักษร (ษุลาษียฺ) นั้น มีอยู่ 6 ตาชั่ง (เอาวฺซานฺ) ในจำนวนนี้มีอยู่ 3 ตาชั่งแรกที่มีกริยาอดีตในตาชั่ง ฟะ-อะ-ล่า (فَعَلَ) เหมือนกัน แต่พอผันเป็นกริยาปัจจุบัน-อนาคต (ฟิอฺล์-มุฎอริอฺ) แล้ว อักษร อัยฺน์ (ع) จะถูกใส่สระได้ทั้งสระฎอมมะฮฺ ( ُ ) สระกัสเราะฮฺ ( ِ ) และสระฟัตหะฮฺ ( َ ) โดยมีตัวที่ถูกชั่งหรือตัวที่ถูกเทียบดังนี้

(نَصَرَ  يَنْصُرَ)  (ضَرَبَ  يَضْرِبُ)  (فَتَحَ  يَفْتَحُ)

ทั้ง 3 ตาชั่งนี้ถือว่ามีมากที่สุดตามลำดับใน 6 ตาชั่งนั้น และเหตุที่ 3 ตาชั่งในกริยาปัจจุบัน-อนาคต (ฟิอฺล์ มุฎอริอฺ) เป็นเช่นนั้นก็เพราะอาศัยหลักของการฟัง (สะมาอียฺ) ไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัว


แต่มีข้อสังเกตที่ใช้ในการเทียบเคียงได้ว่า ถ้าเป็น เราะ-ญะ-อ้า (رَجَعَ) ก็จะผันเป็น ยัรฺญิอุ้ (يَرْجِعُ) มาในบท เฏาะ-เราะ-บ้า (ضَرَبَ) เพราะกริยา เราะ-ญะ-อ้า เป็นกริยาลาซิม (คือไม่ต้องการกรรม (มัฟอูล บิฮี) นั่นเอง) แต่ก็ไม่เสมอไป อย่าง ดะ-เคาะ-ล้า (دَخَلَ) กลับผันเป็น ยัดคุลุ้ (يَدْخُلُ) มาในบท นะ-เศาะ-เราะ (نَصَرَ) ทั้งๆ ที่กริยา ดะ-เคาะ-ล้า เป็นกริยาลาซิมเช่นกันไม่ใช่กริยา มุตะอัดดียฺ (คือ กริยาที่ต้องการกรรม) เพราะอาศัยหลักการฟัง (สะมาอียฺ) ประการหนึ่ง และอาจเป็นเพราะมีความคล้ายกับกริยามุตะอัดดียฺ แต่ไม่ใช่มุตะอัดดียฺแท้ๆ เพราะคำนามที่ตกอยู่หลังกริยา ดะ-เคาะ-ล้า จะอ่านนัศบฺเนื่องจากมีการถอดอักษรคอฟิฏหรือหัรฟุ ญัรริน- ออกไป


การที่มันคล้ายกับมุตะอัดดียฺเพราะคำนามที่ตกอยู่หลังมันอยู่ในตำแหน่งนัศบฺ ( َ ) จึงอนุโลมให้ใช้กริยา ดะ-เคาะ-ล้า เทียบกับบท นะ-เศาะ-เราะ ก็เป็นได้ครับ ดังนั้นเวลาท่องคำกริยาจึงจำต้องท่องคำกริยาทั้งสองช่องควบคู่กัน คือท่องทั้งช่องกริยาอดีตและกริยาปัจจุบัน-อนาคตด้วย เพื่อไม่ให้ผิดพลาดจากหลักของการฟังครับ

 والله ولي التوفيق