เรื่องการแบ่งมรดก  (อ่าน 3532 ครั้ง)

ittipols

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
เรื่องการแบ่งมรดก
« เมื่อ: กรกฎาคม 05, 2012, 08:02:00 pm »
อัสสลามมุอลัยกุม อ.อาลี เสือสมิง
ผมมีเรื่องการแบ่งมรดก จะเรียนสอบถาม อ.อาลี ครับ
เมื่อประมาณ 26 ก.พ. 53 บิดาของผมได้ประสบอุบัติเหตุ เรือบรรทุกสินค้าอับปรางลง ที่ประเทศไต้หวัน
จากการค้นหาผู้ประสพเหตุของทาางการไต้หวัน ก็ไม่พบศพของบิดาของผมแต่อย่างใด ผมจึงได้ไปร้องต่อศาลจังหวัดมีนบุรี ต่อมาเมื่อวันที่ 28 พ.ค.55 ศาลจึงมีคำสั่งให้บิดาเป็นคนสาบสูญ ทางบริษัทฯของบิดาได้จ่ายเงินชดเชยให้ ประมาณ 1,500,000 บาท แต่ทางบริษัทฯแจ้งว่า บิดาของผมระบุไว้ในสัญญาว่าจ้างว่า ให้มารดาของผมรับผลประโยชน์แต่เพียงผู้เดียว จึงขอเรียนถาม อ.อาลี ดังนี้ครับ
 1. เงินชดเชยที่บิดาของผมระบไว้ในสัญญาว่าจ้าง หากเกิดอะไรขึ้น ให้มารดาของผมเป็นผู้รับผลประโยชน์ อย่างนี้ถือว่าเป็นคำสั่งเสียหรือพินัยกรรมหรือไม่ครับ
 2. ถ้าใช้หรือไม่ใช้  จะแบ่งมรดกกันคนละกี่ส่วนและคนละเท่าไหร่  คนที่มีสิทธิ์ที่จะได้รับมรดกของบิดา ที่มีชีวิตอยู่ก็มี 1)มารดาของผม 2)น้องชาย 1 คน 3)ตัวของผมเอง ส่วนปู่กับย่านั้นได้เสียชีวิตไปนานแล้ว
ผมก็ขอรบกวนสอบถาม อ.อาลี เพียงเท่านี้ก่อน

ญะซากัลลอฮูคอยรอน

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ตอบ : เรื่องการแบ่งมรดก
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 04, 2012, 10:38:26 pm »
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

กรณีของเงินชดเชยที่ทางบริษัทจ่ายให้แก่ทายาทของผู้เสียชีวิตหรือผู้ที่ศาลมีคำสั่งให้เป็นผู้สาบสูญนั้น ผมไม่แน่ใจว่าเป็นเงินชดเชยตามข้อตกลงทำสัญญาว่าจ้างกับทางบริษัทกรณีพนักงานของบริษัทประสบอุบัติเหตุหรือเสียชีวิต หรือว่าเป็นเงินชดเชยที่เป็นผลมาจากการทำสัญญาประกันชีวิตกันแน่ เพราะสองกรณีนี้ต่างกัน


หากเป็นกรณีแรก  ก็ถือว่าเงินจำนวน 1,500,000 บาท ที่บริษัทจ่ายให้นั้นเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายหรือผู้ที่ศาลมีคำสั่งให้เป็นผู้สาบสูญ เพราะเป็นสิทธิของพนักงานที่สมควรได้รับเนื่องจากมีข้อตกลงในสัญญาว่าจ้างระบุเอาไว้ หากเป็นกรณีนี้ เมื่อบุคคลที่ผู้ตายได้ลงชื่อไว้ให้เป็นผู้รับเงินชดเชย (คือมารดาของผู้ถามซึ่งก็คือภรรยาของผู้ตาย) ได้ดำเนินการเบิกจ่ายตามขั้นตอนในการกระทำเรื่องแล้ว ก็ให้นำเงินจำนวนดังกล่าวมาดำเนินการตามขั้นตอนก่อนการจัดแบ่งมรดก


กล่าวคือ ชำระหนี้สินและปลดภาระผูกพันของผู้ตาย กรณีผู้ตายมีหนี้สินหรือมีภาระผูกพัน เช่น การมีคำสั่งเสียให้ดำเนินการในเรื่องการบริจาคแบบสาธารณกุศล เป็นต้น แต่ถ้าไม่มีเรื่องการชำระหนี้หรือไม่มีคำสั่งเสียอย่างหนึ่งอย่างใด ก็ให้นำทรัพย์สินจำนวนดังกล่าวมาจัดแบ่งตามวิธีการเรื่องมรดก กล่าวคือ ภรรยาของผู้ตาย (คือมารดาของผู้ถาม) ได้ 1/8 ของทรัพย์มรดก ส่วนที่เหลือให้แบ่งระหว่างบุตรชายของผู้ตายทั้ง 2 คน (คือคุณกับน้องชาย) เท่ากัน โดยเงินจำนวน 1,500,000 บาท

มารดาของคุณมีสิทธิรับมรดกจำนวน 187,500 บาท ที่เหลือจำนวน 1,312,500 บาท แบ่งระหว่างคุณกับน้องชายคนละ 656,250 บาท


แต่ถ้าหากเป็นกรณีที่สอง  คือ เป็นเงินชดเชยเนื่องจากเป็นการทำประกันชีวิต เงินจำนวนดังกล่าวที่บริษัทจ่ายให้แก่ทายาทของผู้เอาประกันที่เสียชีวิตก็ไม่ถือเป็นทรัพย์มรดกตามหลักการของศาสนา โดยทายาทจะมีสิทธิรับเงินดังกล่าวตามจำนวนของเงินต้นที่จ่ายเบี้ยกรมธรรม์เอาไว้เท่านั้น


ส่วนที่เกินจากเงินต้นให้นำไปทำสาธารณกุศล และส่วนที่เหลือตามจำนวนเงินต้นที่ส่งเบี้ยกรมธรรม์เอาไว้ให้นำมาจัดแบ่งตาม สัดส่วนในการแบ่งมรดก คือ ภรรยาของผู้ตาย (มารดาของผู้ถาม) ได้ 1/8 ของวงเงิน ที่เหลือให้แบ่งเท่าๆ กันระหว่างคุณกับน้องชาย


อนึ่งทั้งสองกรณีที่กล่าวมา  ถือว่ามารดาของคุณเป็นผู้รับผิดชอบตามคำสั่งเสียหรือพินัยกรรมในการดำเนินการยื่นเรื่องหรือเดินเรื่องขอรับเงินชดเชยจากบริษัทเท่านั้น เพราะเป็นผู้ที่ถูกลงชื่อไว้ในสัญญาว่าจ้างหรือสัญญากรมธรรม์ประกันชีวิตเพียงผู้เดียว ส่วนสิทธิในวงเงินดังกล่าวทั้งสองกรณีให้ถือตามสัดส่วนในการแบ่งมรดกดังที่กล่าวมา

والله أعلم بالصواب