การแบ่งกลุ่มอย่างนี้ สมควรหรือไม่  (อ่าน 3721 ครั้ง)

halim

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 38
การแบ่งกลุ่มอย่างนี้ สมควรหรือไม่
« เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2012, 10:28:12 am »
salam  ครับ อ.อาลี ขออัลลอฮ์ทรงตอบแทนในความดีของอาจารย์ครับ
วันนี้ผมได้เห็นเค้าทำโปสเตอร์ แบ่งสาย แบ่งกลุ่ม ว่าชนกลุ่มไหนดี ชนกลุ่มไหนบิดเบือน
อยากขอความคิดเห็นของอาจารย์ว่า อิสลามสมควรทำอย่างนี้มั้ยครับ แล้วมีผลต่อหลักอากีดะห์มั้ยครับ
 salam

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ตอบ : การแบ่งกลุ่มอย่างนี้ สมควรหรือไม่
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 21, 2012, 11:50:11 pm »
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

หากถามว่าสมควรหรือไม่ในการแบ่งดังกล่าว ถ้าในทัศนะของผมแล้วเห็นว่าไม่สมควรครับ เพราะการแบ่งดังกล่าวเป็นการจำกัดความถูกต้องเอาไว้เฉพาะกลุ่มนักวิชาการสายสะละฟียะฮฺเพียงกลุ่มเดียว ทั้งๆ ที่กลุ่มอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺมีขอบเขตของนักวิชาการและนักปราชญ์ในภาควิชาการต่างๆ มากกว่าที่แสดงไว้ในแผนภูมิ


และนักวิชาการที่มิได้เรียกตัวเองว่าเป็นอัส-สะละฟียฺนั้นก็มีจำนวนมากกว่าที่ออกชื่อเอาไว้ เช่น กลุ่มนักนิติศาสตร์ที่สังกัดมัซฮับทั้ง 4 และมัซฮับอื่นๆ ที่มิได้มีการรวบรวม (ตัดวีน) แนวทางในมัซฮับของพวกเขาเอาไว้


กลุ่มอะชาอิเราะฮฺและมาตุรีดิยะฮฺก็มิได้มีกระแสหลักทางความเชื่อเหมือนกันทั้งหมด เพราะมีนักวิชาการที่อยู่ในสายอัล-หะดีษที่ถูกต้องเป็นจำนวนมาก ซึ่งรับรู้กันว่าถือแนวทางของอิมาม อบุลหะสัน อัล-อัชอะรียฺ (ร.ฮ.) และอิมาม อบูมันศูร อัล-มาตุรีดิยฺ (ร.ฮ.) กระนั้นพวกเขาก็ถูกนับว่าเป็นปราชญ์ในสายธารของอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ


นักปราชญ์ที่เป็นศูฟียฺที่ถูกต้องและอยู่ในสายธารของอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺก็เป็นจำนวนมาก มิใช่ว่าเมื่อเป็นศูฟียฺแล้วจะต้องเป็นกลุ่มที่บิดเบือนศาสนาเสมอไป แม้แต่กลุ่มอิควาน อัลมุสลิมีนอีกเหมือนกัน ก็มีอิควานที่สายที่เป็นสะละฟียฺและมิใช่สะละฟียฺ


การไปเขียนแบบเหมารวมโดยจัดกลุ่มอิควานทั้งหมดว่าเป็นกลุ่มบิดเบือนศาสนาด้วยนั้นเป็นการชี้ขาดตัดสินที่ไม่ให้ความเป็นธรรมแก่พวกเขา


สรุปก็คือ กลุ่มอะฮฺลิสสุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺเป็นกลุ่มชนที่ประกอบไปด้วยนักวิชาการและนักปราชญ์ในสาขาวิชาการต่างๆ เป็นจำนวนมากและมีขนาดใหญ่กว่าที่ผู้คิดทำแผนภูมินำเสนอไว้ ผลข้างเคียงจากการทำแผนภูมิดังกล่าวทำให้กรอบของอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺที่เป็นสายธารแห่งสลัฟ ศอลิหฺมีกรอบที่แคบเกินไปจากข้อเท็จจริง


ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ สิ่งที่ผู้นำเสนอแผนภูมิควรจะได้นำเสนอคือ กรอบของอะฮลุสสุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺมากกว่าแทนที่จะจำกัดอยู่เฉพาะนักวิชาการเฉพาะกลุ่ม เช่น นักวิชาการของซาอุดิอารเบียเพียงฝ่ายเดียว เพราะนั่นจะทำให้สายธารแห่งสลัฟกลายเป็นเพียงร่องน้ำเล็กๆ ในท้องทะเลทรายแทนที่จะเป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่สืบสานหลักคำสอนของอิสลามซึ่งยิ่งใหญ่และมีสาขาที่ครอบคลุมโลกใบนี้ตลอดระยะเวลา 1400 กว่าปีมาแล้ว


จริงอยู่ผู้ที่อธิบายแผนภูมิที่ใช้ประกอบอาจจะทำแผนภูมิแบบคร่าวๆ และขยายความด้วยการอธิบายเพิ่มเติมมากกว่าข้อมูลที่มีในแผนภูมิ แต่ข้อเท็จจริงก็คือ ใช่ว่าทุกคนที่เห็นแผนภูมินี้จะได้รับฟังคำอธิบายเพิ่มเติมดังกล่าวทุกคนไป คนที่ไม่ได้ยินก็ได้แต่เห็นแผนภูมิและภาพพร้อมชื่อบุคคลที่นำเสนอไว้เพียงเท่านั้น จึงมิใช่สิ่งที่เกินความจริงเลยว่า การเห็นภาพและจดจำภาพที่ได้แค่เห็นนั้นอาจจะนำไปสู่ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนได้ไม่มากก็น้อย ซึ่งบางทีสิ่งที่ต้องการจะสื่อด้วยภาพนั้นบ่อยครั้งที่เกิดความคลาดเคลื่อนได้ เพราะผู้รับสื่อไม่ทราบรายละเอียดของสิ่งที่ต้องการจะสื่อนั่นเอง

والله ولي التوفيق