ดุอาอฺ ระหว่าง สลามทั้ง 2  (อ่าน 24751 ครั้ง)

muzaheh

  • บุคคลทั่วไป
ดุอาอฺ ระหว่าง สลามทั้ง 2
« เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2012, 04:15:52 pm »
salam
รบกวนสอบถามอาจารย์ครับ

แต่ก่อนสมัยเด็กๆ ถูกสอนให้อ่านดุอารฺ ในระหว่างการให้สลาม และหลังสลาม ครังที่สอง ในละหมาดฟัรดู
หลังสลามแรก อ่าน \"อัลลอฮุมมะอินนี อัสอะลุกะ ริฏอ กาวัลญันนะหฺ\"
หลังสลามที่สอง อ่าน \"วานาอูซุบิกา มินซาคอติกาวันนาส\"

ข้อเท็จจริงเรื่องนี้ มีทีมาที่ไป รึปล่าวไม่แน่ใจครับ
รบกวนอาจารย์ด้วยครับ

วัสลาม

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ตอบ : ดุอาอฺ ระหว่าง สลามทั้ง 2
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 04, 2012, 10:58:35 pm »
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

จริงๆ แล้วสำนวนการขอดุอาอฺที่ว่า

ياحَيُّ يا قَيَّوْمُ , إِنِّىْ أَسْأَ لُكَ الْجَنَّةَ وأعوذبِك مِنَ النَّارِ

ซึ่งรายงานโดย อบูดาวูด อัน-นะสาอียฺ อะหฺมัด และ อัล-บุคอรียฺ ใน “อัล-อะดับ อัล-มุฟร็อด” ตลอดจน อัฏ-เฏาะบะรอนียฺ และ อิบนุ มันดะฮฺ ใน “อัตเตาฮีด” ด้วยสายรายงานที่ถูกต้องนั้น เป็นสำนวนของการขอดุอาอฺหลังการอ่านตะชะฮฺฮุด ก่อนการให้สล่าม (ศิฟะตุ๊เศาะลาตินนะบียฺ ; อัล-อัลบานียฺ หน้า 148) ซึ่งเป็นคนละสำนวนที่กล่าวมาในคำถาม


และในบรรดาตำราฟิกฮฺของมัซฮับอัช-ชาฟิอียฺที่เป็นมาตรฐานในการอ้างอิงนั้นก็ยังไม่พบว่ามีสุนนะฮฺให้อ่านดุอาอฺสำนวนดังกล่าวระหว่างการสล่ามครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 จึงไม่น่ามีตัวบทอันเป็นต้นตอในเรื่องนี้


หะดีษที่พบอีกบทหนึ่งก็คือ เมื่อนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ละหมาดเสร็จแล้ว ท่านลูบบนศีรษะของท่านด้วยมือขวาและกล่าวว่า

بسم الله الذى لاإلهَ غَيْرُه الرحمن الرحيم أللهُمَّ أذْهَبَ عَنِّىْ الْهَمَّ وَالْحَزَنَ

หะดีษนี้รายงานโดย อัฏ-เฏาะบะรอนียฺ ใน อัล-เอาวฺสัฏ (หน้า 451) และ อัล-เคาะฏีบ (12/480) จากกะษีร อิบนุ สะลีม อบีลสละมะฮฺ รับฟังจากอนัส (ร.ฎ.)

กะษีรฺ ผู้นี้อัล-บุคอรียฺและอบูหาติมระบุว่า “มุงกัร อัล-หะดีษ”
และ อัน-นะสาอียฺ และ อัล-อัซฺดียฺ ระบุว่า มัตรู๊ก
ส่วนคนอื่นๆ นั้นถือว่ากะษีรผู้นี้อ่อน (เฎาะอีฟ)

อีกสายรายงานหนึ่ง รายงานโดย อิบนุ อัส-สุนนียฺ (เลขที่ 110) และอบูนุอัยมฺ ในอัล-หิลยะฮฺ (2/301) จากสลามะฮฺ จากชัยคฺ อัล-อัมมียฺยะฮฺ จากมุอาวียะฮฺ อิบนุ กุรเราะฮฺ จาก อะนัส (ร.ฎ.) ซึ่งสายรายงานนี้ถือว่า เมาวฺฎูอฺ เพราะสลามะฮฺ  อัฏ-เฏาะวีล เป็นคนที่ชอบมุสา (กัซซาบฺ) (สิลสิละฮฺ อัล-อะหาดีษ อัฎเฎาะอีฟะฮฺ ; อัล-อัลบานียฺ เล่มทื่ 2 หะดีษเลขที่ 660 หน้า 114)


ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สำนวนการขอดุอาอฺระหว่างการให้สล่ามครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 นั้นไม่พบต้นตอที่มาของหลักฐานที่ยืนยันว่ามีสุนนะฮฺให้กล่าวดุอาอฺนั้นในตำแหน่งดังกล่าวของการให้สล่าม จะมีเพียงสำนวนที่ใกล้เคียงซึ่งระบุมาข้างต้นเท่านั้น แต่สำนวนดังกล่าวก็อยู่ในตำแหน่งหลังการอ่านตะชะฮฺฮุดก่อนให้สล่าม


เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ขอให้ยึดเฉพาะในส่วนที่มีตัวบทหลักฐานยืนยันมาอย่างถูกต้องเท่านั้น และควรหลีกเลี่ยงในการกระทำที่ไม่ชัดเจนและไม่มีตัวบทหลักฐานระบุไว้ ถึงแม้ว่าความหมายของดุอาอฺนั้นจะดีก็ตาม หากประสงค์จะขอดุอาอฺด้วยสำนวนดังกล่าวก็ควรขอภายหลังเสร็จสิ้นจากการละหมาดและกล่าวซิกรุลลอฮฺหลังละหมาดแล้วจะดีกว่า

والله أعلم بالصواب