ทำประกันชีวิตต้องต่ายซากาตหรือไม่  (อ่าน 5927 ครั้ง)

อับดุลเลาะ

  • บุคคลทั่วไป
ทำประกันชีวิตต้องต่ายซากาตหรือไม่
« เมื่อ: กรกฎาคม 29, 2012, 10:45:40 pm »
อัสสาลามูฮาลัยกูม อาจารย์ผมอยากสอบถามเรื่องทำประกันชีวิตฝากมา9ปีแล้วเงินที่ทำประกันต้องจ่ายซากาตไหมและเงินสะสมที่บริษัทหักสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต้องจ่ายซากาตไหมเพราะเงินสะสมที่จ่ายประกันและเงินกองทุนเป็นหลักแสนบาท รบกวนอาจารย์ตอบด้วยคับเพราะผมไม่เคยจ่ายซากาตจากเงินทั้งสองเลยครับ กลุ้มใจอยู่คับขอองค์อัลลอฮุทรงคุ้มครองครับ

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ตอบ : ทำประกันชีวิตต้องต่ายซากาตหรือไม่
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 04, 2012, 11:00:20 pm »
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

ในกรณีของการทำประกันชีวิตนั้นนักวิชาการร่วมสมัยส่วนใหญ่มีความเห็นว่าเป็นสิ่งที่ต้องห้ามตามหลักการของศาสนา โดยเฉพาะกับทำประกันชีวิตที่มีดอกเบี้ยเข้ามาเกี่ยวข้อง


ดังนั้นทรัพย์สินที่ได้จากการทำประกันชีวิตดังกล่าว หรือวงเงินที่สะสมจากการจ่ายเบี้ยประกันภัยนั้นให้จ่ายซะกาตเฉพาะในส่วนของเงินต้นที่ไม่รวมดอกเบี้ยตามลักษณะการจ่าย ซะกาตเงิน หรือทองคำ คือ 2.5% เมื่อมีอัตราถึงพิกัดในการครอบครอง (ตัวเลขกลมๆ ของพิกัดคือ 120,000 บาทขึ้นไป) และครอบรอบปี

ส่วนที่เป็นดอกเบี้ยที่เกินจากเงินต้นนั้นไม่ต้องออกซะกาตแต่อย่างใด เพราะเป็นทรัพย์สินที่ต้องห้ามหรือมีความคลุมเครือ (ชุบุฮาตฺ) โดยจะต้องไม่เอาประโยชน์ใดๆ จากเงินที่เกินมาส่วนนี้ แต่ให้นำไปใช้ในทางสาธารณกุศลและประโยชน์ทั่วไปที่มิใช่การสร้างมัสยิด การพิมพ์อัล-กุรอาน หรือเรื่องที่เกี่ยวกับพิธีกรรมทางศาสนา (ฟิกฮุซฺซะกาตฺ ; ดร.ยูสุฟ อัล-ก็อรฺฎอวียฺ เล่มที่ 1 หน้า 570-571)


ส่วนกรณีของเงินสะสมที่บริษัทหักสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นจำเป็นจะต้องจ่ายซะกาตก็ต่อเมื่อได้รับเงินสะสมมาอยู่ในการครอบครองกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์แล้วเท่านั้น เมื่อวงเงินที่ได้รับถึงพิกัดขั้นต่ำที่กำหนดไว้ (คือประมาณ 120,000 บาทขึ้นไป) โดยออกซะกาต 2.5% จากวงเงินที่ได้รับทั้งหมด (อ้างแล้ว 1/570)

والله أعلم بالصواب