การวากัฟ  (อ่าน 9196 ครั้ง)

ฮาซานะห์ ว.

  • บุคคลทั่วไป
การวากัฟ
« เมื่อ: กันยายน 13, 2012, 02:42:37 pm »
ที่ดินผืนหนึ่งที่ให้เป็นมรดกกับลูกหลานแล้วใด้ให้ใว้ในเงื่อนใขว่า\"วากัฟให้กะลูกหลาน\"จากนั้นเกิดความจำเป็นขึ้นมากมายหลายเรื่อง แล้วที่ดินที่ใด้รับมาเป็นมรดกนั้นติดอยู่ในเงื่อนใขของการวากัฟ ลูกหลานที่จะเอาที่ดินตงนี้มาเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหา เช่น แลกกัน ขายให้กัน ประมาณนี้ อยากถามอาจารย์อาลีีว่าสามารถทำใด้หรือไม่ใด้อย่างไร...... ญ่าซากัลลอฮฺคอยร็อน

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ตอบ : การวากัฟ (มรดกกับการวะกัฟ)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 07, 2012, 11:05:51 pm »
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

ตามรายละเอียดที่ให้มา แสดงว่าที่ดินผืนนั้นเป็นที่ดินที่ถูกอุทิศให้แก่ลูกหลาน (อัล-วักฟุซซุรฺรีย์) ไปแล้ว จึงไม่ถือเป็นทรัพย์สินมรดกที่จะนำมาแบ่งในหมู่ทายาทผู้มีสิทธิ์รับมรดกได้ และผู้ที่ถูกอุทิศให้ (อัล-เมาวฺกูฟอะลัยฮฺ) ที่สามารถเอาประโยชน์จากที่ดินผืนนี้แต่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในการถือครองก็คือลูกๆ ของผู้เป็นเจ้าของทีดิ่นที่อุทิศให้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย รวมถึงชั้นหลานคือลูกของลูกทั้งผู้หญิงและผู้ชาย  ในกรณีตีความหมายคำว่า “ลูกหลาน” ว่าหมายถึงลูกและลูกของลูก (หลาน) ของผู้อุทิศ


ส่วนถ้ามีกรณีแวดล้อมบ่งชี้นัยคำว่า ลูกหลาน หมายถึงผู้สืบเชื้อสายในภายหลัง กรณีนี้ก็รวมลูกหลานเหลนโหลนทั้งหมดที่สืบลงไป เมื่อที่ดินผืนนี้เป็นที่ดินอุทิศ (อัล-เมาวฺกูฟ) ก็ไม่อนุญาตให้ดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวกับตัวที่ดินที่ถูกอุทิศไม่ว่าจะเป็นการซื้อ การขาย การยกให้ หรือการตกเป็นมรดก ทั้งจากฝ่ายผู้อุทิศเองหรือฝ่ายผู้ที่ถูกอุทิศให้ (คือลูกหลาน) แต่ที่ดินนี้เป็นสิทธิของพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) อยู่เช่นนั้นเรื่อยไป โดยประโยชน์การใช้สอยที่ดินให้เป็นสิทธิ์ของผู้ที่ถูกอุทิศให้ เช่น เพราะปลูก ปลูกบ้านเพื่ออาศัย เป็นต้น


เหตุที่ไม่อาจทำธุรกรรมใดๆ ที่ไปเปลี่ยนสภาพของที่ดินอุทิศผืนนี้ได้เพราะมีตัวบทระบุไว้ชัดเจนว่า

(....أَنَّهُ لايُبَاعُ ولايُوْهَبُ وَلَايُوْرَثُ)

“แท้จริงมัน (สิ่งที่ถูกอุทิศ) จะไม่ถูกซื้อขาย จะไม่ถูกยกให้ และจะไม่ถูกรับเป็นมรดก (บันทึกโดย อัล-บุคอรียฺ (2586) และมุสลิม (1632)

والله أعلم بالصواب