การใช้น้ำหอม (ของสตรีที่ออกนอกบ้านไปกับสามี)  (อ่าน 5621 ครั้ง)

มุสลิมะฮ์

  • บุคคลทั่วไป
การใช้นำ้หอมของหญิงที่แต่งงานแล้ว ในเวลาที่ออกนอกบ้านสามารถทำใด้ใหมถ้าเราไปกับสามีี เพราะในขณะที่อยากจะใช้ก็เพราะอยากให้สามีใด้รับกลิ่นหอมจากตนเองเท่านั้นไม่เคยคิดเพื่อคนอื่นใดๆเลย นึกอย่างนั้นจิงๆ และถ้าหากการคิดแบบนี้นั้นผิดไม่สามารถทำใด้ แล้วที่ทำไปแล้วด้วยเจตนาดังกล่าว จะต้องรับบาปเปรียบกับการทำซินาเลยหรือเปล่า นอกจากเลิกและเตาบัตตัวแล้วยังต้องทำอะไรอีกหรือไม่.....โดยเจตนาไปคิดและเข้าใจว่าถ้าไปกับสามี หรือ ขออนุญาติสามีแล้วในแต่ละครั้งแล้ว สามารถทำใด้ สรุปว่าเป็นการเข้าใจผิดใช่หรือไม่. ขอบคุณค่ะ ญ่าซากัลลอฮ์คอยร็อน

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

รายงานจากท่านอบูมูซา อัล-อัชอะรียฺ (ร.ฎ.) จากท่านรสูลลุลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ว่า

\"أَيُّمَاامْرَأَةٍ اسْتَعْطَرَتْ ثُمَّ خَرَجَتْ فَمَرَّتْ عَلٰى قَوْمٍ لِيَجِدُوارِيْحَهَا فَهِيَ زَانِيَةٌ , كُلُّ عَيْنٍ زَانِيَةٌ\"

ความว่า “สตรีคนใดใส่น้ำหอมต่อมานางก็ออกไป แล้วนางก็ผ่านคนกลุ่มหนึ่งเพื่อให้พวกเขาพบกลิ่นของนาง สตรีผู้นั้นเป็นเช่นหญิงที่ทำผิดประเวณี และทุกๆ สายตา (ที่มองไปยังสิ่งต้องห้าม) ก็เท่ากับการทำผิดประเวณี”
(บันทึกโดย อะหฺมัด อันนะสาอียฺ และอัล-หากิม)


นัยของอัล-หะดีษบทนี้ อัฏ-ฏอยยิบียฺ (ร.ฮ.) กล่าวว่า : “ท่านรสูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เปรียบเปรยการออกนอกบ้านของนางในสภาพที่ใส่ของหอมที่ปลุกอารมณ์ของบุรุษเพศว่ามีสถานะเดียวกับผู้มีเจตนาสู่การทำซินาด้วยการทำซินาจริงๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่จะต้องหลีกห่างและเป็นการปรามที่รุนแรงต่อนาง” (ฟัยฎุล เกาะดีรฺ ชัรหุล ญามิอฺ อัศ-เศาะฆีร ; อัลลามะฮฺ อัล-มินาวียฺ เล่มที่ 3 หน้า 147 หะดีษเลขที่ 2971)


ดังนั้น สตรีที่ใส่น้ำหอมและออกจากบ้านโดยมีเจตนาให้ชายอื่นนอกจากสามีของนางได้กลิ่นหอมจากตัวนางจึงมีความผิด (บาป) เหมือนกรณีของการทำซินา ถึงแม้ว่าจะไม่มีการ ซินาเกิดขึ้นก็ตาม เพราะการกระทำดังกล่าวเป็นเหตุที่จะชักนำไปสู่การทำซินาซึ่งเป็นสิ่งต้องห้าม เหตุที่จะชักนำไปสู้สิ่งต้องห้ามจึงเป็นสิ่งต้องห้ามไปด้วย และในอัล-


หะดีษยังได้ระบุถึงเจตนาของนางในการใส่น้ำหอมและออกจากบ้านว่านางมีเจตนาให้ชายที่ผ่านไปได้กลิ่นน้ำหอมจากตัวนาง แสดงให้เห็นว่าเจตนาของนางเป็นสิ่งไม่ดี


ส่วนกรณีที่ถามมานั้นสตรีที่ใส่น้ำหอมแล้วออกนอกบ้านไปพร้อมกับสามีมีเจตนาให้สามีได้รับกลิ่นหอมจากตัวนาง จึงเป็นคนละเจตนากัน แต่การใส่น้ำหอมก็เป็นสิ่งที่ไม่อนุญาตสำหรับนางอยู่ดี เพราะถึงแม้จะมีเจตนาดี แต่การออกไปพร้อมสามีนอกบ้านก็ต้องพบกับชายอื่นที่มิใช่สามีและคนเหล่านั้นก็ย่อมได้กลิ่นน้ำหอมนั้นจากตัวนาง


ดังนั้นการมีเจตนาดีก็ย่อมไม่ทำให้ความเป็นข้อห้ามในการใส่น้ำหอมกลายเป็นสิ่งอนุญาตไปได้ และถึงแม้ว่าสามีจะอนุญาตให้ใส่น้ำหอมก็ตาม เพราะกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นนอกบ้าน ศาสนาใช้ให้ภรรยาใส่น้ำหอมเพื่อสามีภายในบ้าน มิใช่นอกบ้าน บาปที่เกิดขึ้นจึงเป็นเรื่องของการใส่น้ำหอมในเวลาออกนอกบ้าน เพียงแต่บาปนี้ไม่ถึงขั้นเทียบได้กับการทำซินา เพราะไม่มีเจตนาเช่นเดียวกันกับสตรีที่อัล-หะดีษระบุ


กระนั้นเมื่อเป็นบาปก็ต้องขออภัยโทษ (อิสติฆฟารฺ) และจะต้องไม่กระทำเช่นนั้นอีก เหตุที่ไม่มีเจตนากระทำความผิดแต่เป็นความเข้าใจผิดว่านางกระทำได้นั้นจึงไม่วาญิบต้องเตาบะฮฺ แต่ให้ขออภัยโทษ (อิสติฆฟารฺ) มากๆ และในครั้งต่อไปเมื่อออกนอกบ้านพร้อมกับสามีก็เพียงพอแล้วในการรักษาความสะอาดของร่างกายและเสื้อผ้าไม่ให้มีกลิ่นตัวและปกปิดเอาเราะฮฺให้มิดชิดครับ

والله ولي التو فيق