คิลาฟียะห์  (อ่าน 7040 ครั้ง)

อิบนุ อิสมาอีล

  • บุคคลทั่วไป
คิลาฟียะห์
« เมื่อ: กันยายน 14, 2012, 09:42:23 am »
السلام عليكم ورحمة الله وبركاته

            ผมอยากทราบว่ามัสอะละห์ที่เป็นประเด็นมองต่างมุม(คิลาฟียะห์) เราสามารถฮุก่มฝ่ายที่เห็นไม่ตรงกับเราว่าเป็นบิดอะห์ได้ไหมครับ? และตราบใดที่มัสอะละห์นั้นเป็นประเด็นวินิจฉัย (อิจติฮาดียะห์) หลังจากเราอิจติฮาดแล้ว เราสามารถมั่นใจได้ไหมครับว่าเราถูกต้องแน่นนอน100เปอร์เซนต์?


         ญาซากัลลอฮุค็อยร็อนครับ

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ตอบ : คิลาฟียะห์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 15, 2012, 08:12:13 am »
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

นักวิชาการระบุว่า  لَا إِنْكَا رَفِىْ المَسَا ئِلِ الْإِجْتِهَا دِيَّةِ   “ ไม่มีการปฏิเสธในบรรดาข้อปัญหาที่มีการวิเคราะห์โดยกำลังสติปัญญาที่ยิ่งยวด (อิจฺติฮาด)”  กล่าวคือ การวิเคราะห์ในกรณีที่ไม่มีตัวบทที่เด็ดขาดชี้ชัดหุก่มว่าเป็นอย่างหนึ่งอย่างใดจะต้องไม่ถูกนำมาเป็นข้อชี้ขาดและตัดสินความถูกผิดในทำนองเด็ดขาดแก่อีกฝ่ายหนึ่งที่วิเคราะห์และมีผลลัพธ์การวิเคราะห์ที่ต่างกัน โดยเฉพาะประเด็นปัญหาข้อปลีกย่อยทางศาสนา (อัล-มะสาอิล อัลฟุรูอียะฮฺ)


ทั้งนี้ถ้าหากประเด็นปัญหาที่เห็นต่างกันนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับหลักมูลฐานทางศาสนาอันเป็นที่รู้กัน เช่น หลักความเชื่อ (อะกีดะฮฺ) และหลักปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับศาสนกิจ (อิบาดะฮฺ) อันเป็นที่ยอมรับโดยเห็นพ้องของปวงปราชญ์อะฮฺลิสสุนนะฮฺ วัล-ญามาอะฮฺ กรณีเช่นนี้หากมีการวิเคราะห์ที่ขัดแย้งอย่างชัดเจนก็จะถือว่าเป็นการวิเคราะห์หรือเป็นทัศนะที่แหวกแนว (อัช-ช๊าชฺซะฮฺ) และสามารถชี้ขาดว่าเป็นบิดอะฮฺ (อุตริกรรม) หรือเป็นความหลงผิด (เฎาะลาละฮฺ) ได้

เช่น การมีความเห็นว่า เศาะหาบะฮฺโดยรวมอธรรมต่อท่านอิมาม อะลี (ร.ฎ.) และเศาะหาบะฮฺโดยรวมขาดความยุติธรรม (อะดาละฮฺ) การปฏิเสธเรื่องการเช็ดรองเท้าหุ้มข้อ (โค๊ฟ) การกล่าวอ้างว่าคนที่ตายไปแล้วไม่ได้รับกุศลในเรื่องการทำทานหรือการขอดุอาอฺจากคนที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นต้น


ดังนั้นจึงจำต้องแยกประเด็นเป็นกรณีๆ ไป ถ้าเป็นกรณีของประเด็นปัญหาข้อปลีกย่อยในเรื่องนิติศาสตร์ โดยรวมๆ แล้วไม่อาจจะชี้ขาดได้ว่าฝ่ายที่วิเคราะห์ต่างออกไปเป็นพวกบิดอะฮฺหรือเฎาะลาละฮฺ


ทั้งนี้เห็นได้จากทัศนะคติของบรรดาอิมามมุจญ์ตะฮิดในยุคสะลัฟศอลิหฺซึ่งมีการวิเคราะห์ (อิจญ์ติฮาดฺ) ต่างกัน  พวกท่านเหล่านั้นก็จะไม่กล่าวหาผู้ที่เห็นต่างว่าเป็นผู้กระทำบิดอะฮฺหรือหลงผิด แต่จะพยายามในการหาเหตุอันเป็นอุปสรรค (ตะอัซซุร) มาอธิบายถึงความเห็นต่างในการวิเคราะห์นั้น  เช่น เป็นไปได้ว่าหลักฐานอันเป็นตัวบททางศาสนาไม่ไปถึงในการรับรู้ของอิมามมุจญ์ตะฮิดท่านนั้น หรือผลของการวิเคราะห์ที่ต่างออกไปเกิดจากการยอมรับหรือไม่ยอมรับสถานภาพของหลักฐานหรือคุณสมบัติของผู้รายงาน เป็นต้น


ฉะนั้นการยอมรับและเห็นด้วยกับทัศนะหนึ่งทัศนะใดในประเด็นปัญหาข้อปลีกย่อยที่นักวิชาการระดับมุจญ์ตะฮิดวิเคราะห์เอาไว้นั้นจึงเป็นสิ่งที่อนุญาตไม่ใช่เป็นสิ่งที่วาญิบ และไม่ใช่เป็นสิ่งที่ต้องห้าม และไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะเอาปัญหาที่เป็นข้อปลีกย่อยซึ่งมีความเห็นต่างกันมากล่าวหาหรือโจมตีฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย เพราะอย่างไรเสีย ประเด็นข้อปัญหาที่เป็นการวิเคราะห์นั้นถือเป็นหุก่ม ซ็อนนียฺ   (اَلْحُكْمُ الظَّنِيُّ)   ไม่ใช่เป็นหุก่ม ก็อฏอียฺ  (اَلْحُكْمُ الْقَطْعِيُّ) ซึ่งเด็ดขาด 100%

والله اعلم با لصواب