เรื่องมรดกครับ กรณีภรรยาเสียชีวิต  (อ่าน 5676 ครั้ง)

ชาฟีอียุลมัซฮับ ที่ไม่ตะอัซซุฟ

  • บุคคลทั่วไป
เรื่องมรดกครับ กรณีภรรยาเสียชีวิต
« เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2012, 02:42:18 pm »
๑. กรณีสินสมรส(ที่งอกเงยหลังจากทั้งสองครองคู่กันโดยร่วมกันสร้าง)เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสียชีวิตต้องเเบ่งอย่างไรครับ
๒.หลังจากแบ่งสันปันส่วนเรียบร้อยแล้ว ทรัพย์ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์(ที่ดิน บ้าน รถยนต์ ร้านค้า ฯลฯ)จะใช้วิธีให้ทายาทตกลงกันหรือเปล่า (เธอเอาบ้าน ฉันเอารถ อีกคนเอาร้านไป ที่ดินก็แบ่งโฉนด โดยคำนึงสัดส่วนที่แบ่งไว้) หรืออย่างไรครับ
๓.กรณีที่ต่างคนต่างก็อยากได้บ้าน เราจะแบ่งยังไง ขายบ้านแล้วเเบ่งเงินไปเลย หรือเเบ่งบ้านดี(แบ่งห้องในบ้าน)

ท้ายนี้ อยากขอชื่นชมว่า อาจารย์เป็นชาฟิอียะห์ที่ยึดมั่นตามคำสั่งเสียของอิหม่ามชะฟิอีย์อย่างแท้จริง

إذا وجدتم الحديث يخالف قولي فدعوا قولي وخذوا بالحديث
\"เมื่อพวกท่านพบว่าฮะดิษบทใดค้านกับคำพูดของฉัน ดังนั้นจงละทิ้งคำพูดของฉันและยึดฮะดิษเป็นหลัก\"

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ตอบ : เรื่องมรดกครับ กรณีภรรยาเสียชีวิต
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 04, 2013, 05:58:39 pm »
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

1.คำว่า “สินสมรส” ตามภาษากฏหมายเป็นคำนามหมายถึง “ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรสหรือที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสหรือที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือ เมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส รวมทั้งทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว”


ในกรณีการแบ่งมรดกตามหลักบัญญัติของศาสนาอิสลามนั้นให้พิจารณาทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ตายซึ่งทิ้งเอาไว้เป็นสำคัญ ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นผู้ตายจะมีกรรมสิทธิ์มาก่อนการสมรสหรือภายหลังการสมรสแล้วก็ตามจะได้มาด้วยการทำมาหากินร่วมกันกับคู่สมรส หรือได้มาโดยสิเน่หาหรือโดยพินัยกรรมก็ตาม


กล่าวคือ ทรัพย์สินนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ตายนั่นเอง ฉนั้นในกรณีที่ฝ่ายหนึ่งจากคู่สมรสมีกรรมสิทธิ์ร่วมอยู่กับผู้ตาย ทรัพย์สินนั้นจะตกเป็นมรดกเฉพาะในส่วนกรรมสิทธิ์ของผู้ตายเท่านั้น เช่นที่ดิน 1 ไร่ เป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสฝ่ายละ 200 ตารางวา ทรัพย์มรดกของผู้ตายที่จะนำมาแบ่งในขั้นการแบ่งมรดกก็คือ 200 ตารางวาในส่วนกรรมสิทธิ์ครึ่งหนึ่งของผู้ตายเท่านั้น เพราะอีก 200 ตารางวานั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของอีกคนหนึ่งที่เป็นคู่สมรส มิใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ตายแต่อย่างใด


สรุปง่ายๆ ก็คือ ทรัพย์มรดกที่จะนำมาแบ่งให้แก่ผู้มีสิทธิ์สืบมรดกนั้นต้องเป็นทรัพย์ที่ผู้ตายมีกรรมสิทธิ์อยู่ก่อนการเสียชีวิตนั่นเอง


2.หากคำนึงถึงสัดส่วนที่ทายาทผู้สืบมรดกมีสิทธิ์จะได้รับตามที่ศาสนากำหนด ก็สามารถกระทำเช่นนั้นได้


3.อยู่ที่ทายาทผู้มีสิทธิ์รับมรดกตกลงกันว่าจะเอาอย่างไร? กล่าวคือ ขายบ้านแล้วนำเงินที่ได้มาแบ่งตามสัดส่วนของทายาทที่แต่ละคนจะได้รับ ถ้าตกลงกันตามนั้น หรือคนหนึ่งในทายาทประสงค์จะเอาบ้านก็ให้ตีราคาบ้านทั้งหลังว่าเป็นเงินเท่าใด สมมุติตีราคาได้ 3 แสนบาท


และมีทายาท 2 คนที่มีสิทธิ์จะไดรับมรดกในสัดส่วนที่เท่ากัน (คือคนละ 1 แสน 5 หมื่นบาท) ทายาทที่จะเอาบ้านก็หักส่วนที่ตนจะได้รับจากมรดกนั้น (คือ 1 แสน 5 หมื่นบาท) ส่วนเงินค่าบ้านที่เหลืออีก 1 แสน 5 หมื่นบาทก็ให้จ่ายแก่ทายาทอีกคนหนึ่งซึ่งต้องการเงินไม่ต้องการบ้านไป


ส่วนการแบ่งห้องในบ้านนั้นก็ต้องพิจารณาดูความเหมาะสมและสภาพของบ้านและห้องภายในบ้านว่าแบ่งได้จริงหรือไม่ แบ่งแล้วจะมีปัญหาในภายหน้าหรือไม่ ถ้าแบ่งได้จริงและมีสัดส่วนชัดเจน กอปรกับไม่มีปัญหาในการใช้สอยก็สามารถแบ่งได้


แต่ถ้าแบ่งแล้วจะต้องมีการทุบทำลายให้เสียหายหรือจะมีปัญหาในภายหน้าในเรื่องการสอย เช่น มีครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวหลายคน ต้องใช้บันไดทางขึ้นเพื่อเข้าห้องร่วมกันหรือไม่มีบันไดทางขึ้นเพื่อเข้าห้องร่วมกันหรือไม่มีความเป็นส่วนตัว กรณีนี้ก็ไม่ควรเพราะจะเกิดปัญหาในภายหน้าได้ระหว่างคนที่ร่วมกันอยู่ในบ้านหลังนั้นควรใช้วิธีที่ 1 หรือที่ 2 จะดีกว่าครับ!

والله اعلم بالصواب