การสาบานต่ออัลกุรอาน  (อ่าน 8970 ครั้ง)

Bin Umar

  • บุคคลทั่วไป
การสาบานต่ออัลกุรอาน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2012, 08:12:25 pm »
อัสลามมุอะลัยกุม ค่ะ อาจารย์

จากอิบนิอุมัร เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา กล่าวว่า  ฉันได้ยินท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
“ผู้ใดได้สาบานต่อสิ่งอื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺ แน่นอนเขาได้ตั้งภาคีต่อพระองค์”  
(บันทึกโดย อบูดาวุด หมายเลขหะดีษ 3251 สำนวนหะดีษเป็นของท่าน และอัตติรมิซียฺ หมายเลขหะดีษ 1535)

แล้วการสาบานต่ออัลกุรอาน (เช่น การสาบานที่ยื่นมือไปแตะ/จับอัลกุรอาน แล้วสาบานในเรื่องต่างๆ ในศาล ในการเข้ารับตำแหน่ง ฯ) ทำได้หรือไม่ อย่างไรค่ะ รบกวนอาจารย์ช่วยกรุณาให้ความรู้ด้วยค่ะ

ญาซากัลลอฮุคอยรอน

Binti Umar

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ตอบ : การสาบานต่ออัลกุรอาน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2012, 09:56:43 am »
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

การสาบานต่อสิ่งอื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺ (ซ.บ.) เป็นสิ่งต้องห้าม (หะรอม) และถือเป็นการตั้งภาคีประเภทชิรฺก์ อัศฆ็อรฺ ซึ่งไม่ทำให้ผู้สาบานนั้นตกศาสนา อยู่ในหมวดเดียวกับการโอ้อวด (อัร-ริยาอฺ) สิ่งที่จะลบล้าง (กัฟฟาเราะฮฺ) ความผิดในกรณีการสาบานต่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ก็คือการกล่าวประโยค \"لاإله إلاالله\"  ดังที่มีรายงานจากท่านอบู ฮุรอยเราะฮฺ (ร.ฎ.) ในเศาะฮีหฺ อัล-บุคอรียฺ และมุสลิม ระบุเอาไว้ (มุคตะศ็อรฺ มะ อาริจญ์ อัล-เกาะบู๊ล ; ชัยคิ หาฟิซฺ อิบนุ อะหฺมัด อ๊าลฺหุกมียฺ หน้า 141)


ส่วนการสาบานต่ออัล-กุรอานนั้นถือเป็นการสาบาน (ยะมีน) โดยเห็นพ้องของนักวิชาการสังกัดมาลิกียะฮฺ ชาฟิอียะฮฺ และหะนาบิละฮฺ ตลอดจนอัล-หะนะฟียะฮฺ ตามที่ชัยคฺ อัล-กะม้าล อิบนุ อัล-ฮุมาม และอัล-อัยนียฺให้น้ำหนักเอาไว้ เพราะผู้สาบานด้วยคัมภีร์อัลกุรอาน (อัล-มุศหัฟ) มุ่งหมายการสาบานนั้นต่อสิ่งที่ถูกเขียนไว้ในคัมภีร์อัล-กุรอาน คือ “อัล-กุรอาน” ซึ่งเป็นดำรัสของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ที่อยู่ระหว่างปกทั้งสองของคัมภีร์โดยอิจญ์มาอฺและอัล-กุรอานซึ่งเป็นดำรัสของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) คือส่วนหนึ่งจากศิฟาตของพระองค์ และการสาบานต่อศิฟาตของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) เป็นสิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้ (อัล-ฟิกฮุลอิสลามียฺ ว่า อะดิลละตุฮุ ; ดร.วะฮฺบะฮฺ อัซซุหัยลียฺ เล่มที่ 3 หน้า 379)


ส่วนกรณีการสาบานในศาลหรือการเข้ารับตำแหน่งนั้น โดยมากมิใช่การสาบานต่อคัมภีร์อัล-กุรอานโดยตรง แต่เป็นการกล่าวคำสาบานต่ออัลลอฮฺด้วยประโยคอุกสิมุบิลลาฮฺ , วัลลอฮิ , ตัลลอฮิ เป็นต้น และใช้คัมภีร์อัล-กุรอานเป็นองค์ประกอบในการสาบาน ซึ่งมิใช่เป็นการสาบานโดยตรงกับคัมภีร์อัล-กุรอาน (อัล-มุศหัฟ) จึงไม่มีข้อห้ามและไม่ถือเป็นชิรก์แต่อย่างใด

والله اعلم بالصواب