อ่านดุอาหลังละหมาดญานซะห์  (อ่าน 14940 ครั้ง)

haroon

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
อ่านดุอาหลังละหมาดญานซะห์
« เมื่อ: ธันวาคม 21, 2012, 10:16:26 pm »
อัสลามุอลัยกุม ครับ อาจารย์
อยากได้หลักฐาน การอ่านดุอาหลังละหมาดญานาซะห์ ว่ามีตัวบทอย่างไรบ้างครับ
รบกวนอาจารย์ด้วยครับ
ญาซากั้ลลอฮ์

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ตอบ : อ่านดุอาหลังละหมาดญานซะห์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 17, 2013, 12:01:09 pm »
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

จริงๆ แล้วการขอดุอาอฺให้แก่ผู้เสียชีวิตซึ่งเป็นมุสลิมนั้นสามารถขอดุอาอฺให้แก่เขาได้ในทุกขณะ นับตั้งแต่เขาเสียชีวิตในตอนแรก ดังที่อิมามอัน-นะวาวียฺ (ร.ฮ.) กล่าวว่า “ส่งเสริม (มุสตะหับ) ให้ผู้คนกล่าวสิ่งที่ดี ณ ที่ผู้เสียชีวิต (มัยยิตฺ) และขอดุอาอฺให้แก่ผู้เสียชีวิต

เนื่องจากมี หะดีษของท่านหญิงอุมมุสละมะฮฺ (ร.ฮ.) กล่าวว่า “ท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้เข้าไปหาอบูสละมะฮฺโดยที่สายตาของเขาเบิกอยู่ ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) จึงปิดเปลือกตาของเขาแล้วกล่าวว่า “แท้จริงวิญญาณเมื่อมันถูกปลิด สายตาก็ตามมันไป”

แล้วผู้คนจากครอบครัวของอบูสละมะฮฺก็ส่งเสียงระงม ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) จึงกล่าวว่า “พวกท่านอย่าวิงวอนขอสิ่งที่ส่งผลร้ายต่อตัวของพวกท่านยกเว้นวิงวอนขอสิ่งที่ดี เพราะแท้จริงบรรดา มะลาอิกะฮฺจะกล่าวอามีนต่อสิ่งที่พวกท่านวิงวอนขอ แล้วนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ก็กล่าวว่า “โอ้ อัลลอฮฺ ขอทรงอภัยแก่อบีสละมะฮฺ ขอทรงยกระดับขั้นของเขาให้สูงส่งในหมู่ผู้ที่ได้รับทางนำ.....และขอทรงให้มีรัศมีส่องสว่างแก่เขาในสุสานของเขา” (รายงานโดย มุสลิม) (กิตาบ อัล-มัจญมูอฺ ชัรหุลมุฮัซซับ เล่มที่ 5 หน้า 110)


อิมามอัศ-ศ็อนอานียฺ (ร.ฮ.) กล่าวว่า “ในหะดีษบทนี้เป็นหลักฐานบ่งชี้ว่าจะถูกขอดุอาอฺให้แก่มัยยิตขณะการเสียชีวิตของเขา...” (สุบุลุสสลาม ชัรหุลบุลูฆิลมะร็อม เล่มที่ 2 หน้า 538) ต่อมาเมื่อมีการละหมาดญะนาซะฮฺให้แก่ผู้เสียชีวิต ก็มีสุนนะฮฺให้ขอดุอาอฺแก่มัยยิตหลังการตักบีรในละหมาดญะนาซะฮฺครั้งที่ 3 ซึ่งมีดุอาอฺที่ถูกรายงานจากท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) หลายสำนวน


เมื่อละหมาดญะนาซะฮฺเสร็จแล้ว ก็มีสุนนะฮฺให้ร่วมเดินไปส่งมัยยิตที่สุสาน ซึ่งเมื่อฝังเสร็จก็มีสุนนะฮฺให้ขอดุอาอฺและตัษบีตอีกเช่นกัน ดังรายงานจากท่านอุษมาน อิบนุ อัฟฟาน (ร.ฎ.) ว่า “ปรากฏว่าท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) นั้น เมื่อเสร็จจากการฝังมัยยิตแล้ว ท่านยืนอยู่เหนือหลุมฝังศพและกล่าวว่า “พวกท่านจงขอลุแก่โทษแก่พี่น้องของพวกท่านและจงขอการตัษบีต (ความมั่นคงในการตอบคำถาม) แก่เขา เพราะแท้จริงเขาในขณะนี้กำลังจะถูกสอบถาม” (รายงานโดย อบูดาวูด และอัล-หากิม ระบุว่าเป็นหะดีษ          เศาะฮีหฺ)


จึงเห็นได้ว่า การขอดุอาอฺให้แก่มัยยิตนั้นสามารถกระทำได้ในทุกขั้นตอนที่อยู่ร่วมกับมัยยิตหรือแม้กระทั่งหลังจากการเสียชีวิตไปนานแล้วก็ตาม ดังนั้นการขอดุอาอฺให้แก่มัยยิตหลังการละหมาดญะนาซะฮฺแล้วก็ย่อมสามารถกระทำได้ เพราะมิได้หมายความว่าเมื่อละหมาดญะนาซะฮฺแล้วก็ห้ามขอดุอาอฺให้แก่มัยยิตอีก


ทั้งนี้เนื่องจากหะดีษของท่านอุษมาน (ร.ฎ.) ยืนยันว่าการขอดุอาอฺให้แก่มัยยิตเมื่อฝังเสร็จซึ่งเกิดขึ้นหลังการละหมาดญะนาซะฮฺ อีกทั้งในขณะที่เสร็จสิ้นจากการละหมาดญะนาซะฮฺแล้ว ผู้ที่มาร่วมละหมาดก็ยังคงอยู่ร่วมกับมัยยิตในขณะนั้น ซึ่งเข้าอยู่ในนัยของอัล-หะดีษที่รายงานจากท่านหญิงอุมมุสละมะฮฺ (ร.ฎ.) ว่า ท่านรสุลลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า

إِذَاحَضَرْتُمُ الْمَيِّتَ فقُوْ لُواخَيْرًافإن الملائكةَ يُؤَمِّنُوْنَ على مَاتَقُوْلُوْنَ

“เมื่อพวกท่านมาร่วมอยู่กับมัยยิต พวกท่านก็จงกล่าวสิ่งที่ดี เพราะแท้จริงบรรดามะลาอิกะฮฺจะกล่าว อามีน ต่อสิ่งที่พวกท่านกล่าว”
(รายงานโดย มุสลิม ซึ่งมีคำว่า “ผู้ป่วย” อยู่ด้วยแต่ในสุนัน อบีดาวูด ระบุชัดว่า “ผู้เสียชีวิต”)


เมื่อหะดีษบทนี้กล่าวถึงกรณีการอยู่ร่วมกับมัยยิตก็ย่อมครอบคลุมทั้งก่อนการละหมาดญะนาซะฮฺและหลังละหมาดญะนาซะฮฺหรือแม้กระทั่งฝังมัยยิตเสร็จ กล่าวคือ การที่ผู้มาร่วมละหมาดญะนาซะฮฺยังคงอยู่ในแถวละหมาดและมัยยิตยังคงถูกวางอยู่เบื้องหน้าพวกเขา ย่อมถือว่าเป็นการอยู่ร่วมกับมัยยิตตามนัยของอัล-หะดีษ


การขอดุอาอฺให้แก่มัยยิตก็คือการกล่าวสิ่งที่ดีและบรรดามะลาอิกะฮฺก็จะกล่าว อามีน เพื่อให้ดุอาอฺนั้นเป็นที่ตอบรับ การกล่าวสิ่งที่ดีซึ่งรวมถึงการขอดุอาอฺเป็นสิ่งที่ท่านรสูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ใช้ให้กล่าวทั้งเมื่ออยู่ร่วมกับมัยยิตและไม่อยู่ร่วมการขอดุอาอฺหลังละหมาดญะนาซะฮฺก่อนจะยกมัยยิตออกจากที่ละหมาดจึงอยู่ภายใต้คำสั่งกว้างๆ นั้น


นอกจากนี้การละหมาดญะนาซะฮฺมีประเด็นเห็นต่างในกรณีละหมาดในช่วงเวลาต้องห้าม ต่างจากกรณีของการขอดุอาอฺแก่มัยยิตที่ไม่มีช่วงเวลาที่ห้ามขอให้แก่ผู้เสียชีวิต การพูดแบบเด็ดขาดว่าห้ามขอดุอาอฺให้แก่มัยยิตภายหลังการละหมาดญะนาซะฮฺเสร็จสิ้นจึงเป็นการกำหนดที่ไม่มีหลักฐานมายืนยันคำพูดดังกล่าวแต่อย่างใด เพราะการขอดุอาอฺให้แก่มัยยิตสามารถกระทำได้ทุกเวลานั่นเอง

والله اعلم بالصواب