พูดอย่างนี้ตกมุรตัดหรือไม่  (อ่าน 5386 ครั้ง)

อับดลรอฮีม

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 5
พูดอย่างนี้ตกมุรตัดหรือไม่
« เมื่อ: ธันวาคม 19, 2012, 09:52:07 pm »
ผมเคยเรียนฟัรฎูอีนมาจำได้ว่าในหนังสือฟิกฮ์ชั้น ป.4 บอกว่าริดดะฮ์ซึ่งเกิดทางวาจานั้น อาทิเช่น พูดด้วยความจงใจว่า\"ฉันต้องการทรัพย์จะฮ่าล้าลหรือฮ่ารอมก็ตาม\" ซึ่งคำพูดลักษณะนี้ผมเคยได้ยินบ่อยมาก อาจารย์ช่วยอธิบายเพิ่มเติมหน่อยได้ไหมครับ เพราะในหนังสือไม่ได้อธิบายอะไรละเอียดมากนัก สุดท้ายนี้ขอดุอาจากอัลเลาะฮ์ให้อาจารย์มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ อยู่ถ่ายทอดวิชาความรู้ศาสนาไปอีกนานเท่านาน (ผมเป็นคนนึงชื่นชอบในการบรรยาย ถ่ายทอดความรู้ศาสนาของอาจารย์มากเป็นอย่างยิ่ง)

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ตอบ : พูดอย่างนี้ตกมุรตัดหรือไม่
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 17, 2013, 10:58:05 am »
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

   “ฉันต้องการทรัพย์จะหะลาลหรือหะรอมก็ตาม” ประโยคนี้หากผู้พูดเป็นมุสลิมมาแต่เดิมและไม่ได้อยู่ในที่ไกลปืนเที่ยง เช่น ป่า ยอดเขา หรือเกาะกลางทะเลที่ไม่มีผู้รู้ทางศาสนาและห่างไกลผู้คน ก็ถือว่าเป็นคำพูดที่ต้องห้าม (หะรอม) แน่นอน


แต่จะถึงขั้นเป็นริดดะฮฺ (สิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม) หรือไม่ ก็ต้องพิจารณาถึงเจตนาของผู้พูดว่าจงใจหมายถึงอะไร? หากมีเจตนาจงใจปฏิเสธหลักการที่ว่าด้วยหะลาล-หะรอมโดยไม่ยอมรับสิ่งที่ศาสนาบัญญัติเอาไว้หรือดูแคลน (อิสติฮฺซาอฺ) บัญญัติของศาสนาหรือถือว่าสิ่งที่ศาสนาอนุมัติเป็นสิ่งที่ต้องห้ามโดย (ตะหฺรีม อัล-หะลาล) หรือสิ่งที่ศาสนาบัญญัติโดยเด็ดขาดว่าเป็นสิ่งอนุมัติ (ตะหฺลีล อัล-หะรอม)  


หรือพูดโดยมีเจตนาประชดประชันหรือจงใจกล่าวเพื่อหักล้างคำตักเตือนของผู้ที่ชี้แนะและอ้างหลักฐานจากอัล-กุรอานและ สุนนะฮฺว่าเป็นสิ่งที่ต้องห้ามแล้วผู้พูดก็กล่าวประโยคนี้เพื่อแดกดันหรือแสดงอาการดูแคลนสิ่งที่อัล-กุรอานและสุนนะฮฺระบุห้ามไว้ การพูดประโยคนี้ซึ่งมีเจตนาและความจงใจในกรณีที่กล่าวมาทั้งหมดถือเป็นการริดดะฮฺ (สิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม) และผู้พูดก็ถือเป็นมุรตัด (วัลอิยาซุบิลลาฮฺ) แต่ถ้าไม่มีเจตนาหรือความจงใจดังที่กล่าวมาก็ถือว่าผู้นั้นเป็น “ฟาสิก” คือผู้ฝ่าฝืนและมีบาปด้วยการพูดเช่นนั้นเพราะเป็นสิ่งต้องห้ามนั่นเอง

والله اعلم بالصواب