การใช้สรรพนาม \"ข้าพระพุทธเจ้า...\" ได้หรือไม่ (ด่วนที่สุดครับ)  (อ่าน 9091 ครั้ง)

Arif

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 5
salam
เนื่องในวโรกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2555 ที่ผ่านมา
หน่วยงานต้นสังกัดมีคำสั่งให้บุคลากรทุกคนร่วมกันเขียนการ์ดถวายพระพรนั้น
บุคลากรมีความคิดเห็นแตกออกเป็นสองพวก ในกรณี การใช้สรรพนาม \"ข้าพระพุทธเจ้า...\" ได้หรือไม่
จึงเรียนถามท่านเชคอาลี มา ณ ที่นี้ด้วย

Jazakallahukhairan

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

เรื่องนี้ต้องใช้หลักนิติศาสตร์ที่ว่า اَلْعَادَةُ مُحَكَّمَةٌ  “จารีตประเพณีเป็นสิ่งที่ถูกชี้ขาดในการตัดสิน” ตราบใดที่จารีตประเพณีนั้นมิได้ขัดด้วยหลักของศาสนบัญญัติ ทั้งนี้ภาษาถือเป็นส่วนหนึ่งของจารีตประเพณี จึงให้พิจารณาทางภาษาเป็นเกณฑ์


เมื่อภาษาไทยมีจารีตในการใช้คำราชาศัพท์ ซึ่งหมายถึง คำเฉพาะที่ถูกใช้สำหรับเพ็ดทูลพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านาย ก็ให้คำนึงถึงจารีตของภาษาไทยเป็นส่วนใหญ่ของคำราชาศัพท์เป็นหลัก ว่ามีความหมายของคำว่าอะไร? ซึ่งในกรณีนี้ต้องใช้พจนานุกรมเป็นบรรทัดฐานในการตัดสิน


คำว่า “ข้าพระพุทธเจ้า” เป็นสรรพนาม หมายถึง คำใช้แทนตัวผู้พูดกราบทูลเจ้านายชั้นสูงหรือพระเจ้าแผ่นดิน เป็นสรรพนามบุรุษที่ 1 มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า ข้าพเจ้า , ข้าเจ้า , ข้าน้อย คือเป็นคำใช้แทนตัวผู้พูดเป็นสรรพนามบุรุษที่ 1 (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี พ.ศ. 2525 หน้า 139) เพียงแต่ ข้าพระพุทธเจ้าใช้กับพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านายชั้นสูงอย่างคำราชาศัพท์เท่านั้น


เมื่อความหมายของคำว่า ข้าพระพุทธเจ้าไม่ได้มีความหมายทางภาษามากไปกว่าคำสรรพนามแทนตัวผุ้พูดหรือสรรพนามบุรุษที่ 1 ก็ย่อมไม่มีข้อห้ามอันใดในการใช้คำว่า “ข้าพระพุทธเจ้า”


ส่วนการให้ความหมายคำๆ นี้ในทำนองว่า เป็นข้าทาสของพระพุทธเจ้าแล้วก็สรุปไปว่า มุสลิมใช้คำๆ นี้ไม่ได้เพราะมุสลิมเป็นข้าทาสของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) เท่านั้น ถือเป็นความเข้าใจผิดและเป็นการสรุปความหมายเอาเองโดยไม่อ้างอิงพจนานุกรมซึ่งเป็นบรรทัดฐานทางภาษาในการระบุความหมายที่ถูกต้อง เพราะไม่มีผู้รู้หรือพจนานุกรมภาษาไทยเล่มใดแปลความหมายเป็นอย่างนั้น

والله ولي التوفيق