ดุอาอิฟติตะฮฺอ่านอย่างไรด่วนๆๆๆ  (อ่าน 10096 ครั้ง)

ฟารุก

  • บุคคลทั่วไป
ดุอาอิฟติตะฮฺอ่านอย่างไรด่วนๆๆๆ
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2013, 09:18:00 pm »
salam
อาจารย์ครับในดุอาอิฟติตะฮฺ ในบทดุอา วัญญะตู ในตอนสุท้ายของดุอา อ่านอย่างไรครับ
 ระหว่าง  หนึ่ง อานาเอาวาลุลมุสลีมีน กับ สอง อานามีนัลมุสลีมีน
เพราะบางคนบอกว่า อ่านแบบที่หนึ่งถูกต้องกว่า เพราะมีหลักฐาน จากฮาดิษ ส่วนแบบที่สองไม่ปรากฎหลักฐานจากฮาดิษ  ตกลงอันไหนผิดถูกกันแน่ครับ
 อาจาร์ครับเวลาเราอ่านดุอาต้องอ่านตามหลักตัจวีดไหมครับเช่นในเวลาศอลาวาตคำว่ามุหัมมัด  คำว่ามัดตัวดาลตาย เราต้องอ่านเสียงสะท้อนตามหุก่มก้อลก่อละ ไหมครับ
 และในอัลกรุอ่านในซูเราะ อัล อะลา ในอายะฮฺแรก ที่อ่านว่าซับบีฮิสมาร็ฮบบีกัลอะลา ในคำว่า อะลา หากเราอ่านหยุด ในตัวที่อ่านว่าลา เราจะอ่านลา  ยาวหรือสั้นครับ หากอ่านยาวจะอ่านยาวเท่าไรครับ  และเวลาเราอ่านคำว่าอามีนในละหมาด คำว่า อา ย่านยาวกี่ฮารอกะฮฺครับ
ขอให้อาจารย์ช่วยชี้แนะด้วยครับ
 salam

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ตอบ : ดุอาอิฟติตะฮฺอ่านอย่างไรด่วนๆๆๆ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 15, 2013, 06:12:48 pm »
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

1. สำนวนของดุอาอฺอิฟฺติตาห์ที่ว่า (وَأَنَاأَوَّلُ الْمُسْلِمِيْنَ) และ (وَأَنَامِنَ الْمُسْلِيْنَ) เป็นสำนวนที่ถูกต้องทั้งคู่และมีรายงานในอัล-หะดีษทั้ง 2 สำนวน


กล่าวคือ สำนวนที่ว่า(وَأَنَامِنَ الْمُسْلِيْنَ) เป็นสำนวนที่อิมามมุสลิมรายงานไว้ในเศาะฮีหฺของท่าน ส่วนสำนวนที่ว่า (وأناأَوَّلُ المسلمين) นั้น อิมามอัล-บัยฮะกียฺรายงานจากสายรายงานเป็นจำนวนมากซึ่งมีทั้ง 2 สำนวน


อิมามอัน-นะวาวียฺกล่าวว่า : อิมามอัช-ชาฟิอียฺ (ร.ฮ.) กล่าวไว้ในกิตาบอัล-อุมฺม์ ว่า “ส่วนมากของบรรดานักรายงานได้รายงานว่า (وأناأوَّلُ المسلمين)” (กิตาบ อัล-มัจญมูอฺ ชัรหุลมุฮัซซับ ; อัน-นะวาวียฺ 3/272)


และอิมามอัช-ชีรอซียฺ (ร.ฮ.) กล่าวถึงสำนวน (وأناأول المسلمين) ว่า : แท้จริงท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) นั้นท่านเป็นมุสลิมคนแรกและคนอื่นนอกจากท่านนั้นจะไม่กล่าวนอกเสียจากสิ่งที่เราได้ระบุถึงสิ่งนั้นเอาไว้” (คือให้กล่าวว่า (وأنا من المسلمين)


และปรากฏในตำราอิอานะตุฏฏอลิบีน 1/170 ระบุว่า : ในริวายะฮฺของอัล-บัยฮะกียฺคือ (وأناأول المسلمين) เหมือนอย่างการเรียบเรียง (สำนวน) ของอัล-กุรอาน (สูเราะฮฺอัล-อันอาม อายะฮฺที่ 163) และปรากฏว่าท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) จะกล่าวสิ่งที่มีอยู่ในริวายะฮฺของอัล-บัยฮะกียฺในบางครั้ง เพราะท่านเป็นมุสลิมคนแรกของอุมมะฮฺนี้ คนอื่นจากท่านจะไม่กล่าวสำนวนนั้นนอกเสียจากหากมีเจตนามุ่งหมายว่าเป็นการอ่าน (อัตติลาวะฮฺ) ตามสำนวนอัล-กุรอานเท่านั้น”


ดังนั้น สำนวนทั้ง 2 ที่มีรายงานมาในการอ่านดุอาอฺอิฟติตาห์ต่างก็มีรายงานมาในอัล-หะดีษที่มีสายรายงานถูกต้องด้วยกันทั้งคู่ โดยเฉพาะสำนวน (وأنا من المسلمين) เป็นการรายงานของอิมามมุสลิมแล้วจะบอกว่าไม่มีหลักฐานจากอัล-หะดีษได้อย่างไรกัน!


2. การอ่านอัล-กุรอานตามหลักตัจญ์วีดเป็นสิ่งจำเป็น (วาญิบ) ตามความสามารถของผู้อ่าน โดยเฉพาะสูเราะฮฺอัล-ฟาติหะฮฺในละหมาด ส่วนการอ่านดุอาอฺหรือเศาะละหวาตนั้นส่งเสริม (มุสตะหับ) ให้อ่านตามหลักตัจญ์วีด


เพราะฉะนั้นหากเราอ่านเศาะละหวาตแล้วหยุดที่คำว่า “มุฮัมมัด” ก็สมควรอ่านให้มีเสียงสะท้อนที่ตัวอักษร ดาล (ก็อลเกาะละฮฺ) ตามหลักวิชาตัจญ์วีด แต่ถ้าไม่มีเสียงสะท้อนที่อักษร ดาล ของคำว่ามุฮัมมัดก็ไม่เป็นไร เพราะไม่ได้ทำให้เสียรูปคำและความหมาย


ส่วนการอ่านหยุดที่คำว่า อะอฺลา ตรงตัวที่อ่านว่า “ลา” นั้นเป็น มัด ฏอบิอียฺ ร็อสฺมียฺ เพราะลงท้ายด้วยอักษร อะลีฟ มักศูเราะฮฺ ก็ให้อ่านหน่วงเพียงแค่ 2 หะเราะกะฮฺ (2 กระดิกนิ้ว) คือไม่สั้นและไม่ยาว


ส่วนการอ่าน “อามีน” หลังจบการอ่านสูเราะฮฺ อัล-ฟาติหะฮฺนั้น มีการอ่านอยู่ 3 แบบ คือ

1. อ่านแบบมีมัด โดยไม่มีชิดดะฮฺที่ตัวมีม

2. อ่านแบบก็อศฺร์ โดยไม่มีชิดดะฮฺที่ตัวมีม การอ่านทั้ง 2 แบบเป็นการอ่านที่มัชฮู๊ร โดยการอ่านแบบแรก อัฟเศาะห์ (ถูกต้องและชัดเจน) ที่สุด

3. อ่านแบบมีมัด แต่อ่านแบบอิมาละฮฺ โดยไม่มีชิดดะฮฺที่ตัวมีม ส่วนการอ่านแบบใส่ชิดดะฮฺที่ตัวมีมนั้นมีรายงานจากอัล-หะสัน อัล-บะเศาะรียฺ และอัล-หุสัยนฺ อบุลฟัฎฺล์ แต่ถือว่าเป็นการอ่านที่ช๊าซฺ (แหวกแนว) สรุปก็คือ การอ่าน “อามีน” ที่ตัว “อา” นั้นอ่านได้ทั้งสั้น (ก็อศฺร์) และยาว (มัดฺ) ครับ

(กิตาบ อัล-มัจญมูอฺ 3/329)
والله اعلم بالصواب