ผู้หญิงกับผู้ชายละหมาดเหมือนกันไหม ด่วนๆๆๆ  (อ่าน 9584 ครั้ง)

อาลี

  • บุคคลทั่วไป
 salam
อาจารย์ครับอยากทราบว่าผู้หญิงกับผู้ชายละหมาดเหมือนกันไหม เพราะมีผู้รู้ท่านหนึ่งกล่าวว่าไม่ว่าชายหรือหญิงต้องละหมาดเหมือนกัน แต่ผู้รู้อีกท่านกล่าวละหมาดของผู้ชายกับผู้หญิงแตกต่างกันที่ตอนสูญุด คือผู้ชายต้องกางแขน แต่ผู้หญิงไม่ต้องกางแขน จำเป็นต้องทีแขนติดข้างลำตัว ขอให้อาจารย์ชี้แนะด้วยครับ salam

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
Re: ผู้หญิงกับผู้ชายละหมาดเหมือนกันไหม ด่วนๆๆๆ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 28, 2013, 01:25:26 am »
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

ชัยคฺ มุฮัมมัด นาศิรุดดีน อัล-อัลบานียฺ กล่าวไว้ในปัจฉิม (อัล-คอติมะฮฺ) ของหนังสือ “ศิฟะฮฺ เศาะลาตินนบี มินัต ตักบีร อิลัตตัสลีม กะอันนะก้าตะรอฮา” หน้า 151 ว่า “ทุกสิ่งที่ผ่านมาก่อนจากคุณลักษณะการละหมาดของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) นั้น ชายและหญิงเท่ากันในทุกสิ่งนั้น และไม่มีรายงานระบุในสุนนะฮฺถึงสิ่งที่ชี้ขาดถึงข้อยกเว้นของผู้หญิงจากบางส่วนของสิ่งดังกล่าว


แต่นัยกว้างๆ ของคำกล่าวของท่านรสูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ที่ว่า “พวกท่านจงละหมาดเหมือนอย่างที่พวกท่านเห็นฉันละหมาด” ครอบคลุมพวกนางด้วย อันเป็นคำกล่าวของอิบรอฮีม อัน-นะเคาะอียฺ ซึ่งกล่าวว่า “ผู้หญิงจะกระทำในการละหมาดเหมือนเช่นที่ผู้ชายกระทำในละหมาด”


อิบนุ อบีชัยบะฮฺคัดสายรายงานออกไว้ (1/75/2) ด้วยสายรายงานที่ถูกต้องจากอิบรอฮีม อัน-เคาะอียฺ

และอัล-บุคอรียฺรายงานไว้ใน “อัต-ตารีค อัล-กะบีร” (หน้า 95) ด้วยสายรายงานที่ถูกต้องจาก อุมมุดดัรฺดาอฺว่า “แท้จริงนางมักจะนั่งในละหมาดของนางเป็นการนั่งของผู้ชาย และนางเป็นฟะกีฮะฮฺ”


และหะดีษที่ให้ผู้หญิงรวบแขนในการสะหญูดโดยไม่เหมือนกับผู้ชายในเรื่องดังกล่าว เป็นหะดีษมุรสัลที่ไม่ถูกต้อง อบูดาวูรายงานไว้ใน “อัล-มะรอสีล” จากยะซีด อิบนุ อบีหะบีบ ส่วนหนึ่งที่อิมามอะหฺมัดรายงานไว้ในมะสาอิลของอับดุลลอฮฺบุตรชายของท่าน (หน้า 71) จากท่านอิบนุ อุมัร ว่า ท่านอิบนุ อุมัรใช้ให้ผู้หญิงนั่งขัดสมาธิในการละหมาดนั้นสายรายงานไม่ถูกต้อง เพราะในสายรายงานมีอับดุลลอฮฺ อิบนุ อัล-อุมะรียฺ ซึ่งเฎาะอีฟ”


อิมาม อัช-ชาฟิอียฺ (ร.ฮ.) กล่าวไว้ในอัล-มุคตะศ็อรฺ ว่า

“ไม่มีการแบ่งแยกระหว่างชายและหญิงในการปฏิบัติละหมาด
ยกเว้นว่าผู้หญิงนั้นส่งเสริมสำหรับนางในการรวบบางส่วนของนางเข้าไปยังอีกบางส่วน

และการที่นางทำให้ท้องของนางชิดติดกับขาอ่อนทั้งสองของนางในการสุหญูดเหมือนเป็นการปกปิดมากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้
และข้าพเจ้าก็ชอบสิ่งดังกล่าวสำหรับนางในการรุกัวอฺและในการละหมาดทั้งหมด

และชอบให้ชุดคลุมของนางนั้นหนาและให้นางทำให้ชุดคลุมนั้นห่าง (จากร่างกาย) ในสภาพรุกัวอฺและสุหญูดเพื่อมิให้เสื้อผ้าของนางบ่งรูปพรรณสัณฐานของนาง

และชอบที่จะให้นางลดเสียงของนางให้ต่ำ (ใช้เสียงค่อย)

และหากมีสิ่งใดเกิดขึ้นในการละหมาดของนางก็ให้นางปรบมือ

“นี่เป็นตัวบทที่อิมามอัช-ชาฟิอียฺระบุไว้”


บรรดานักวิชาการสังกัดมัซฮับอัชชาฟิอียฺกล่าวว่า “ผู้หญิงเหมือนผู้ชายในบรรดารุ่ก่นของการละหมาด เงื่อนไขและสุนัตอับอาฏของการละหมาด ส่วนสุนัตฮัยอาตนางก็เหมือนกับผู้ชายในส่วนใหญ่ของมันและต่างจากผู้ชายตามสิ่งที่อิมามอัช-ชาฟิอียฺ (ร.ฮ.) ระบุเอาไว้ (กิตาบ อัล-มัจญ์มูอฺ ชัรหุลมุฮัซซับ เล่มที่ 3/495)


สรุปก็คือ ผู้หญิงกับผู้ชายละหมาดเหมือนกัน เพียงแต่มีข้อแตกต่างในกรณีสุหญูดหรือกรณีรุกัวอฺ ท่านอิมามอัช-ชาฟิอียฺชอบให้ผู้หญิงรวบร่างกายให้ชิดกัน ให้รวบท้องชิดกับขาอ่อน การที่ท่านอิมามระบุว่าชอบให้กระทำเช่นนั้นย่อมแสดงว่าเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้ผู้หญิงกระทำลักษณะดังกล่าวซึ่งมิใช่เป็นสิ่งจำเป็น เช่นเดียวกับกรณีการรุกัวอฺและสุหญูดของผู้ชายที่ให้กางแขนก็เป็นสุนัตมิใช่สิ่งที่เป็นวาญิบ


ทั้งสองทัศนะคือทัศนะของอิมามอัช-ชาฟิอียฺและอัล- อัศหาบ กับทัศนะของชัยคฺ อัล-อัลบานียฺมีความสอดคล้องกันในกรณีที่ว่าผู้ชายและผู้หญิงปฏิบัติด้วยท่าทางและอากัปกิริยาในการละหมาดเหมือนกันโดยส่วนใหญ่ ต่างก็ตรงที่ชัยคฺ อัล-อัลบานียฺมีทัศนะว่าเหมือนกันโดยไม่มีข้อยกเว้น แต่ในมัซฮับอัช-ชาฟิอียฺมีข้อยกเว้นเฉพาะกรณีการรุกัวอฺและสุหญูดเท่านั้น

والله اعلم بالصواب