สารบัญปัญหาคาใจ > หมวด : อัล-กุรอาน และ อัล-หะดีษ

นักรายงานหะดีษ กับมัซฮับ

(1/1)

BahaaDD:
 salam

อยากทราบว่า บรรดานักรายงานหะดีษ(บุคอรีย์ มุสลิม ฯลฯ) ยึดตามมัซฮับหรือไม่? หรือว่าพวกเขาเป็นนักอิจติฮาด?

ขออัลลอฮฺตอบแทนความดีงามครับ

อาลี เสือสมิง:
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

ขึ้นอยู่กับนิยามของคำว่า “มัซฮับ” ว่ามุ่งหมายถึงอะไร? หากมัซฮับหมายถึงแนวทางในการวิเคราะห์ตัวบทและการแสดงทัศนะความเห็นอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีต่อนัยของตัวบท คำว่า มัซฮับ ตามความหมายนี้มีปรากฏอยู่แล้วนับแต่ชั้นเศาะหาบะฮฺ เช่น มัซฮับของ อับดุลลอฮฺ อิบนุ มัสอูด (ร.ฎ.) , มัซฮับของอับดุลลอฮฺ อิบนุ อับบาส (ร.ฎ.) , มัซฮับของ ท่านหญิงอาอิชะฮฺ (ร.ฎ.) เป็นต้น


นักรายงานหะดีษรุ่นแรกๆ ก็จะมีทั้งที่ยึดตามแนวทางการวิเคราะห์ของเหล่าเศาะหาบะฮฺดังกล่าว หรือไม่ก็ยึดตามมัซฮับของ “อะฮฺลุลหะดีษ” โดยรวม ในขณะที่นักรายงานหะดีษบางส่วนมีคุณสมบัติในการอิจติฮาดที่เป็นเอกเทศ (มุจญ์ตะฮฺด มุฏลัก มุสตะกิล) ก็มีเช่นกัน อย่างอิมามอัช-ชาฟิอียฺ , อิมามมาลิก และอิมามอะหฺมัด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ก็เป็นนักรายงานหะดีษที่มีคุณสมบัติในการอิจติฮาดที่เป็นเอกเทศ ซึ่งเป็นที่ต้องห้ามในการที่ท่านเหล่านั้นจะถือตามการอิจญ์ติฮาดของมุจญ์ตะฮิดอื่น


แต่ถ้าหากมุ่งหมายนิยามของคำ “มัซฮับ” ว่าหมายถึงแนวทางในการวิเคราะห์ตัวบทตามหลักมูลฐาน (อุศูล) และกฏเกณฑ์ทางนิติศาสตร์ (อัล-เกาะวาอิด อัล-ฟิกฮี่ยะฮฺ) ที่ปราชญ์ผู้มีคุณสมบัติในระดับมุจญ์ตะฮิด มุฏลักมุส ตะกิลกำหนดวางเอาไว้โดยมีการจดบันทึก รวบรวมและอรรถาธิบายอย่างเป็นกิจจะลักษณะ มัซฮับตามความหมายนี้เริ่มปรากฏขึ้นในช่วงต้นของศตวรรษที่ 2 เป็นต้นมาจนถึงช่วงเวลาของการตักลีด (ถือตามและสังกัด) มัซฮับทางนิติศาสตร์ที่มีพัฒนาการชัดเจนราวตอนกลางศตวรรษที่ 4 นักรายงานอัล-หะดีษ (มุหัดดิษูน) ในช่วงเวลาดังกล่าว โดยมากแล้วจะสังกัดมัซฮับใดมัซฮับหนึ่งจาก 4 มัซฮับที่รู้กัน

والله اعلم بالصواب

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

Go to full version