การอิกอมะห์ / ละหมาดวันศุกร์  (อ่าน 3921 ครั้ง)

ฟารีด

  • บุคคลทั่วไป
การอิกอมะห์ / ละหมาดวันศุกร์
« เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2013, 05:42:05 pm »
 salam
 เรียนขอหลักฐาน อาจารย์ หน่อยครับ มีอยู่ 2 เรื่อง ผมได้ฟัง ไฟล์บรรยายอยู่ประจำครับ
1. เรื่องอิกอมะห์ ก่อนละหมาดนะครับ ขอหลักฐานการลุกขึ้นยืนจัดแถวละหมาดนะครับ เวลาให้ลุกฃึ้นยืนช่วงไหนของการอิกอมะห์
บ้านผมทำอย่างอาจารย์บอกนะีครับ จัดแถวก่อน อิกอมมะห์ หากเราไม่ลุกขึ้นไปเราก็ไม่ได้อยู่แถวหน้า หากเรานั่งอยู่แถวหน้าแล้วคนอื่นเขายืนกันหมด เรานั่งอยู่คนเดียว
2. ขอหลักฐานการอ่านคุตบะห์วันศุกร์ การที่ให้คนอ่านคุตบะห์ มานำเป็นอิหม่าม ละหมาดนะครับ
ขอบคุณครับ

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
Re: การอิกอมะห์ / ละหมาดวันศุกร์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 09, 2013, 11:40:01 am »
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

1. รายละเอียดพร้อมหลักฐานในเรื่องการอิกอมะฮฺและลุกขึ้นยืนจัดแถวละหมาดอยู่ในบทความเรื่องการละหมาดญะมาอะฮฺซึ่งกำลังทยอยลงให้ในเวบไซด์


ส่วนกรณีที่ถามมาว่า ที่บ้านของคุณฟารีดจัดแถวก่อนอิกอมะฮฺ หากเราไม่ลุกขึ้นไปเราก็ไม่ได้อยู่แถวหน้า กรณีนี้หากเกรงว่าจะไม่ทันคนอื่นในการอยู่แถวหน้าก็ให้ลุกขึ้นยืนเข้าแถวพร้อมกับคนอื่นไปเลย เพราะกรณีว่าจะลุกขึ้นยืนตอนไหนในการอิกอมะฮฺเป็นเรื่องสุนนะฮฺที่ควรปฏิบัติ แต่ถ้าไม่ปฏิบัติสุนนะฮฺที่ว่านี้ก็เข้าแถวก่อนการอิกอมะฮฺได้ถึงแม้ว่าจะเป็นการกระทำที่ค้านกับสิ่งที่ดีกว่า (คิลาฟุล เอาวฺลา)


ส่วนกรณีนั่งอยู่แถวหน้าแล้วคนอื่นเขายืนกันหมด เราจะยืนก่อนการอิกอมะฮฺพร้อมกับพวกเขาก็ได้ ถึงแม้ว่าจะเป็นการค้านกับสิ่งที่ดีกว่า หรือจะนั่งอยู่แล้วค่อยยืนเมื่ออิกอมะฮฺจบก็ไม่เป็นไร และถือเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามสุนนะฮฺตลอดจนเราอยู่ในแถวหน้าแล้วถึงแม้ว่าจะยืนทีหลังคนอื่นก็ไม่ต้องกลัวเสียภาคผลในการยืนแถวหน้าอยู่แล้ว


อีกทั้งการที่เราทำไม่เหมือนคนอื่นในกรณีนี้ (นั่งอยู่แถวหน้าแล้วยืนเมื่ออิกอมะฮฺจบ) ก็จะได้เป็นปรัศนียฺ (คำถาม) สำหรัยคนที่สงสัย เราจะได้อธบายให้ผู้นั้นทราบว่า ตามสุนนะฮฺแล้วต้องปฏิบัติอย่างไร เพราะบางทีการกระทำที่ปฏิบัติกันนั้นเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากสุนนะฮฺแต่ไม่มีผู้ใดบอกและอธิบายสิ่งที่ถูกต้อง เราก็จะอาศัยข้อสงสัยจากคนที่ตั้งคำถามถึงการกระทำต่างของเราในการบอกและอธิบายสิ่งที่ถูกต้องตามสุนนะฮฺ จะได้มีการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องในภายหลัง


2. หลักฐานการอ่านคุฏบะฮฺวันศุกร์ของอิมามและการที่อิมามซึ่งอ่านคุฏบะฮฺวันศุกร์เสร็จแล้วลงจากมิมบัรฺมาเป็นอิมามนำละหมาดวันศุกร์มีปรากฏอย่างชัดเจนในตัวบทอัล-หะดีษซึ่งรายงานว่า ท่านรสูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เป็นเคาะฏีบและลงมานำละหมาดวันศุกร์ เป็นเรื่องที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าอิมามกับเคาะฏีบเป็นคนๆ เดียวกันโดยไม่ได้แยกว่าเคาะฏีบคนหนึ่งและอิมามนำละหมาดวันศุกร์เป็นอีกคนหนึ่ง


ส่วนกรณีที่แยกกันอย่างที่นิยมปฏิบัติในบ้านเรานั้นถือเป็นสิ่งที่ทำได้เพราะไม่มีข้อห้าม กรณีของเคาะฏีบกับอิมามเป็นคนๆ เดียวกันจึงถือเป็นตัวหลักการเดิม (อัล-อัศลุ้) ส่วนการแยกระหว่างเคาะฏีบและอิมามนั้นถือเป็นข้อปลีกย่อย (ฟัรฺอ์) ที่อนุโลมให้กระทได้เพราะไม้มีข้อห้ามนั่นเอง

والله اعلم بالصواب