ภรรยาละหมาดบ้าง บางเวลา  (อ่าน 7222 ครั้ง)

ซัยนัลอาบิดีน

  • บุคคลทั่วไป
ภรรยาละหมาดบ้าง บางเวลา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2014, 09:54:32 pm »
ผมแต่งงานมา ๑๙ ปี ซึ่งตอนนั้น ละหมาดบ้างและไม่ลหมาดบ้าง ตามประสาคนบ้าทำงาน
เมื่อไม่กี่ปีมานี้ ผมเริ่มกลับตัวและละหมาดครบ ซึงได้บอกและเตือนภรรยาเสมอมา
จนประมาณเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เราก็คุยกันในเรื่องนี้ และผมก็เตือนภรรยาและลูกเช่นเดิม
มาครั้งนี้ภรรยาถึงกับบ่นออกมาว่า ไปเพิ่มความกดดันในเรื่องละหมาดให้เธอทำไม

ผมเรียนถามว่า ที่เธอกล่าวออกมาอย่างนั้น จะมีผลกันสภาพในรอบครัวหรือเปล่า
แล้วลูกๆที่อยู่กับเธอ จะทำละหมาดบ้าง ไม่ละหมาดบ้างตามมารดานั้น ผมต้องแบกรับอะไรบ้างในวันอาคีเราะห์

ขอบคุณมากครับ

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
Re: ภรรยาละหมาดบ้าง บางเวลา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 28, 2014, 12:20:37 am »
السلام عليكم ورحمة الله وبركاته

คุณซัยนุลอาบิดีนไม่ได้บอกมาว่าอยู่กับภรรยาและลูกๆ ด้วยกันหรือเปล่า ถ้าใช่ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีและง่ายกว่ากรณีที่อยู่กันคนละที่ เมื่อคุณซัยนุลอาบิดีนปฏิบัติละหมาดครบแล้ว ก็ต้องรับผิดชอบภรรยาและลูกๆ ด้วยในเรื่องการปฏิบัติละหมาดฟัรฎู กรณีถ้าลูกของคุณมีอายุได้ 7 ขวบก็ต้องเริ่มฝึกเรื่องการละหมาดซึ่งอาจจะไม่ครบก็ไม่เป็นไร เพราะลูกของคุณยังไม่เข้าเกณฑ์บังคับทางศาสนา


แต่ถ้าบรรลุศาสนภาวะ (ผู้ชายฝันเปียก – ผู้หญิงมีประจำเดือน หรืออายุได้ 15 ปีบริบูรณ์) แล้วก็จำเป็นที่คุณจะต้องเข้มงวดในเรื่องการละหมาดฟัรฎูของลูกๆ ช่วงเวลาใดที่อยู่ที่บ้าน เมื่อได้เวลาละหมาดคุณก็จะต้องเรียกลูกมาละหมาดด้วยโดยคุณเป็นอิมามนำลูกๆ ในการละหมาด กรณีที่อยู่บ้านกับลูก คุณจะต้องเรียกลูกๆ มาละหมาดด้วยเสมอ อย่าปล่อยให้เขาละหมาดกันเอง และอย่าแค่เตือนด้วยวาจาเท่านั้น แต่จะต้องละหมาดพร้อมกันทุกครั้งที่มีโอกาสเวลาอยู่ที่บ้าน


ส่วนเวลาที่คุณไปทำงานโดยปกติต้องลุกขึ้นละหมาดศุบหิก่อนเตรียมตัวเองออกไปทำงานอยู่แล้วก็ให้ปลุกลูกๆ ขึ้นละหมาดก่อนที่พวกเขาจะไปโรงเรียน ถ้าลูกๆ เรียนที่โรงเรียนซึ่งมีการจัดละหมาดซุฮริก็ดีไป แต่ถ้าไม่ใช่โรงเรียนอย่างที่ว่านี้ลูกของคุณก็คงไม่ได้ละหมาดซุฮริ ตรงนี้ก็คิดหาทางออกว่าจะจัดการอย่างไร แต่ในตอนเย็นถ้าคุณกับลูกกลับถึงบ้านในเวลาก่อนที่จะหมดเวลาอัศริ คุณก็นำลูกละหมาดอัศริและให้เขาชดใช้ (เกาะฎอ) ละหมาดซุฮรินั้นเสีย


ผมคงมีข้อเสนอได้แค่นี้ เพราะผมไม่รู้ว่าคุณซัยนุลอาบิดีนเลิกงานในเวลาใด และลูกๆ มีอายุเท่าใด และเรียนโรงเรียนแบบไหน


ส่วนภรรยาของคุณนั้น คุณก็ต้องรับผิดชอบการปฏิบัติละหมาดของเธอเช่นกัน เพราะคุณเป็นสามีที่มีหน้าที่โดยตรงที่ต้องรับผิดชอบภรรยาและลูกๆ การกำชับตักเตือนให้ภรรยาและลูกๆ รักษาการละหมาดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสามีหรือผู้เป็นพ่อของลูกๆ การที่ภรรยาบ่นว่าไปเพิ่มความกดดันในเรื่องละหมาดให้เธอทำไม ย่อมมีผลอย่างแน่นอนในเรื่องของการรักษาครอบครัวให้มีความเคร่งครัดเรื่องการปฏิบัติละหมาด


เพราะคำพูดเช่นนี้ย่อมบ่งชี้ว่าภรรยาไม่รู้ว่า การปฏิบัติละหมาดฟัรฎูเป็นหน้าที่จำเป็นสำหรับเธอในฐานะมุสลิมะฮฺ ไม่ใช่เรื่องกดดันหรือไปบังคับให้เธอกระทำสิ่งอื่นที่มิใช่หน้าที่ แต่เรื่องนี้เป็นหน้าที่ของเธอที่ต้องปฏิบัติอยู่แล้ว และการที่ผู้เป็นแม่ของลูกต้องเอาใจใส่กับการปฏิบัติละหมาดของลูกๆ ก็เป็นหน้าที่อีกเช่นกัน เพราะความไม่รู้หรือไม่ให้ความสำคัญต่อการละหมาดว่าเป็นหน้าที่จำเป็นจึงทำให้เธอบ่นออกมาเช่นนั้น


กรณีนี้จึงจำเป็นที่คุณซัยนุลอาบิดีนต้องตักเตือนภรรยาให้รู้ถึงหน้าที่ดังกล่าว หากภรรยาไม่เชื่อฟัง ก็ให้ใช้มาตรการที่สอง คือแยกที่นอนกับภรรยาภายในบ้านเพื่อให้เธอได้คิดและเกิดความสำนึก แต่ถ้าไม่เป็นผลก็ให้ใช้มาตรการลงโทษ เช่น ใช้ผ้าม้วนแล้วตีภรรยาพร้อมกับสั่งสอน แต่อย่าดุด่าด้วยคำที่หยาบคายหรือตบหน้าหรือทำร้ายร่างกายเกินกว่านั้น ซึ่งกรณีภรรยาของคุณซัยนุลอาบิดีนคงไม่ต้องถึงขั้นนั้น เพราะเธอยังทำละหมาดถึงแม้ว่าจะไม่ครบ ก็ยังดีกว่าการที่เธอไม่ละหมาดเลย


ให้คุยกับเธอดีๆ ว่าให้ร่วมด้วยช่วยกันในเรื่องนี้ แบ่งเวลากันดูแลเรื่องละหมาดของลูก เวลาที่คุณอยู่กับครอบครัวก็เรียกมาละหมาดพร้อมกันทั้งหมด เวลาที่คุณอยู่กับภรรยาเมื่อได้เวลาละหมาดก็ชวนเธอละหมาดพร้อมกัน การรักษาเรื่องการละหมาดต้องอาศัยความอดทน ถ้าใช้ให้ละหมาดแล้วไม่ละหมาดหรือมีความโกรธเคืองก็ไม่เป็นไร ให้ใช้ให้เตือนอยู่ร่ำไป ทำให้ถึงที่สุดแล้ว อินชาอัลลอฮฺ ทุกอย่างจะคลี่คลายไปในทางที่ดี

วัลลอฮุวะลียุตเตาฟิก