ความเป็นมาของประเทศโอมาน ในประวัติศาสตร์อิสลาม  (อ่าน 8059 ครั้ง)

Binti Umar

  • บุคคลทั่วไป
อัสลามุอะลัยกุม ค่ะ ท่านอาจารย์อาลี

ดิฉันอยากทราบประวัติความเป็นมาของประเทศโอมานในประวัติศาสตร์อิสลาม

คือ ตั้งแต่สมัยนบี คอลีฟะฮฺ เรื่อยมาจนกระทั่งได้รับเอกราชจากอังกฤษ (เมื่อปี ค.ศ. 1951)

ญาซากัลลอฮฺค็อยรอน

ขออัลลอฮฺทรงตอบแทนความดีงามแก่อาจารย์และครอบครัว ทั้งโลกนี้และโลกหน้า ค่ะ

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
وعليكم السلام ورحمة الله و بركاته

รัฐซุลต่านโอมาน (سُلْطَنَة عُمَان) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทรอาหรับบนริมอ่าวโอมานและทะเลอาหรับระหว่างสหรัฐอาหรับเอมิเรต ซาอุดิอาระเบีย และทะเลทรายอัรฺรุบอุลคอลียฺ และเยเมน มีพื้นที่ 312,000 ตารางกิโลเมตร มีประชากรอยู่ราว 2 ล้านกว่าคน มีเมืองหลวงชื่อ มัสคัต (มัสก็อฏ)


ราวช่วงที่สองจากคริสตศตวรรษที่ 6 โอมานถูกจัดว่าเป็นส่วนหนึ่งของคาบสมุทรอาหรับ และในบางช่วงก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของเยเมน (ยะมัน) ในสมัยของท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) โอมานเป็นเขตพื้นที่ของชนเผ่าอาหรับตระกูลอัซฺด์ เรียกว่า อัซฺด์โอมาน (أزدعمان) การแผ่ขยายอำนาจของรัฐอิสลามในสมัยท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) สู่เขตพื้นที่ของโอมานอยู่ในระยะที่ 9 ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายก่อนการวะฟาตของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)


ในเดือนซุลเกาะอฺดะฮฺ ปี ฮ.ศ. ที่ 8 ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ส่งท่านอัมรฺ อิบนุ อัล-อ๊าศ (ร.ฎ.) ไปยังญัยฟัรฺและอับดุลลอฮฺ ทั้งสองเป็นบุตรของอัล-ญุลันดา ผู้นำชนเผ่าอัล-อัซฺด์ที่โอมานเพื่อเรียกร้องเชิญชวนให้บุคคลทั้งสองเข้ารับอิสลาม ซึ่งบุคคลทั้งสองก็เข้ารับอิสลามและให้ท่านอัมร์ (ร.ฎ.) เป็นผู้มีหน้าที่เก็บซะกาตและเป็นตุลาการตัดสินคดีความในหมู่พลเมืองโอมาน ท่านอัมร์ (ร.ฎ.) อยู่ที่โอมานจนกระทั่งข่าวการวะฟาตของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) มาถึง


พวกโอมานจึงเข้ารับอิสลามนับตั้งแต่สมัยของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) คือปีที่ 8 แห่งฮิจเราะฮฺศักราช และมีเศาะหาบะฮฺคนสำคัญคือท่านอัมร์ อิบนุ อัล-อ๊าศ (ร.ฎ.) เป็นวาลียฺ (ข้าหลวง) ที่ได้รับการแต่งตั้งจากท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) และในปี ฮ.ศ. ที่ 9 ซึ่งเรียกว่าปีแห่งคณะทูตานุทูต มีคณะทูตนำโดยศุร็อด อิบนุ อับดิลลาฮฺ อัล-อัซดียฺ เดินทางจากโอมานสู่นครมะดีนะฮฺเพื่อพบท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)


ต่อมาในสมัยเคาะลีฟะฮฺ อบูบักร (ร.ฎ.) ในช่วงสมรภูมิอัด-ริดดะฮฺ ท่านอบูบักร (ร.ฎ.) ได้ส่งกองทัพของท่านหุซัยฟะฮฺ อิบนุ มุหฺศ็อน สู่เมืองดะบา (دَبَا) ซึ่งขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของโอมาน (ปัจจุบันเป็นเขตตอนเหนือของรัฐอมิเรต ฟุญัยเราะฮฺ) และกองทัพของอัรฺเกาะญะฮฺ อิบนุ ฮัรฺษะมะฮฺ จากโอมานสู่เขตมะฮฺเราะ ระหว่างหัฎเราะเมาวตฺและซุฟ๊ารฺซึ่งเป็นดินแดนของโอมานในปัจจุบัน นับแต่บัดนั้นโอมานก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐอิสลามตลอดจนช่วงสมัย เคาะลีฟะฮฺทั้งสี่ , ราชวงศ์อัล-อุมะวียะฮฺ และราชวงศ์อัล-อับบาสียะฮฺ


แต่ในสมัยราชวงศ์อุษมานียะฮฺ (ออตโตมาน เติร์ก) ของตุรกีนั้นดินแดนของโอมานไม่ได้ถูกรวมอยู่ในอาณาเขตอิทธิพลของตุรกียกเว้นในบางช่วงที่อิทธิพลตุรกีแผ่เข้ามาในบริเวณนี้หลังได้รับชัยชนะต่อพวกเศาะฟะวียูน (ศอฟฟาวิด) ของอิหร่าน ระหว่างคริสตศตวรรษที่ 16-17 แต่โอมานก็เป็นอิสระจากตุรกีจนกระทั่งในปี ค.ศ. 1508 พวกโปรตุเกสก็เข้ายึดครองโอมานเป็นอาณานิคมของตน ในช่วงนั้นอะหฺมัด บิน สะอีดก็สถาปนาอำนาจการปกครองอิสระขึ้นในโอมานในปี ค.ศ. 1741 และแผ่อิทธิพลไปถึงเซนซิบาร์ในแอฟริกาตะวันออก


ต่อมาเซนซิบารฺ (ซันญิบารฺ – Zanzibar) ก็ตกอยู่ใต้อาณัติของอังกฤษในปี ค.ศ. 1890 และได้รับเอกราชในปี ค.ศ. 1964 ปัจจุบันโอมานเป็นรัฐสุลต่านที่ปกครองโดยสุลต่านกอบูส บิน สะอีด (ถือกำเนิด ค.ศ. 1940 ในเมืองซุฟ๊ารฺ) ดำรงตำแหน่งสุลต่านในปี ค.ศ. 1970 ภายหลังพระราชบิดาคือสุลต่านสะอีด บิน ตัยมู๊ร สละ ราชบัลลังก์

والله أعلم بالصواب