สารบัญปัญหาคาใจ > หมวด : ซะกาต

ภรรยาสามารถออกซะกาตฟิตเราะห์แทนสามีได้ใหม

(1/1)

adam1989:
  salam คับอาจารย์ คือผมอยากทราบว่า ภรรยาสามารถออกซะกาตฟิตเราะแทนสามีได้ใหม คือตัวผมทำงานอยู่ต่างประเทศ แล้วภรรยาอยู่ประเทศไทย อาจารย์ช่วยแนะนำหน่อยครับว่าผมควรทำยังไร

admin:
แอดมิน ได้สอบถามท่านอาจารย์ให้แล้ว ได้คำตอบว่า

"ให้สามีเป็นผู้ออกครับ ออกที่ต่างประเทศก็ได้ครับ"

อาลี เสือสมิง:
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

โดยหลักการแล้ว การออกซะกาตฟิฏร์ให้แก่ภรรยาเป็นหน้าที่ของสามี เนื่องจากภรรยาเป็นบุคคลที่สามีจำต้องจ่ายค่าเลี้ยงดู (นะฟะเกาะฮฺ) ตามทัศนะของปวงปราชญ์ (ส่วนมัซฮับอัล-หะนะฟียฺนั้นถือว่าสามีไม่จำเป็นต้องออกซะกาตฟิฏร์ให้แก่ภรรยา แต่ถ้าจะออกให้ก็เป็นที่อนุญาต) และการออกซะกาตฟิฏร์ให้แก่ภรรยาของสามีนั้น ผู้เป็นสามีสามารถออกซะกาตฟิฏร์นั้นได้เลยโดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากภรรยา (อัล-ฟิกฮุลอิสลามียฺ ว่า อะดิลละตุฮู ; ดร.วะฮฺบะฮฺ อัซ-ซุหัยลียฺ เล่มที่ 2 หน้า 903 , 904 , 905)


ดังนั้น เมื่อสามีกับภรรยาอยู่กันคนละที่ ดังกรณีของคุณadamที่ทำงานอยู่ต่างประเทศ ส่วนภรรยาอยู่ประเทศไทย คุณadamก็สามารถออกซะกาตฟิฏร์ให้แก่ภรรยาของคุณที่ต่างประเทศ (ทางโน้น) ได้เลย แต่ถ้าคุณadamจะมอบให้ภรรยาออกซะกาตฟิฏร์แทนที่ประเทศไทยก็สามารถกระทำได้ เพราะนักวิชาการมีความเห็นตรงกันว่า อนุญาตให้มอบหมาย (เตากีล) ในการจ่ายซะกาตได้ โดยมีเงื่อนไขว่าผู้มอบหมาย (มุวักกิล) จะต้องมีเจตนา (นียะฮฺ) การจ่ายซะกาตในขณะที่ทำการมอบหมายนั้น (อ้างแล้ว 2/890)


ดังนั้น หากคุณadamเลือกวิธีที่สองนี้ ก็ให้คุณติดต่อถึงภรรยาผ่านโทรศัพท์แล้วก็กล่าวคำมอบหมายในการออกซะกาตแล้วให้ภรรยากล่าวรับคำมอบหมายให้เรียบร้อย โดยมอบหมายให้ภรรยาจัดการออกซะกาตของตัวคุณและของภรรยาด้วย พร้อมกับโอนเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อข้าวสารสำหรับออกซะกาตฟิฏร์นั้นด้วย ในกรณีที่ไม่มีเงินสำรองจ่ายซึ่งให้ไว้แก่ภรรยาที่เมืองไทย และอย่าลืมตั้งเจตนาการออกซะกาตในขณะที่มีการมอบหมายทางโทรศัพท์ วิธีที่สองนี้ยุ่งหน่อย จึงขอแนะนำให้ใช้วิธีการแรกครับ (คือออกที่โน้นเลย)

والله أعلم بالصواب

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

Go to full version