ลูกซีนา (นิกะฮฺ,วะลีในการนิกะฮฺ)  (อ่าน 7384 ครั้ง)

ลูกซีนา

  • บุคคลทั่วไป
ลูกซีนา (นิกะฮฺ,วะลีในการนิกะฮฺ)
« เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2014, 03:00:41 pm »
ลูกซีนา ถ้าจะทำการนิกะห์ ต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ แล้วใครจะเป็นวลีให้ค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 06, 2014, 08:08:52 pm โดย อ.อาลี เสือสมิง »

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
Re: ลูกซีนา (นิกะฮฺ,วะลีในการนิกะฮฺ)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2014, 08:07:52 pm »
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

ลูกซินา หากเป็นผู้ชายที่บรรลุศาสนภาวะ (มุกัลลัฟ) และมีสติสัมปัชชัญญะสมบูรณ์ ถ้าจะกระทำการนิกาห์ก็ไม่มีปัญหา เพราะมีสิทธิในการปกครองตนเองและกล่าวคำสนอง (เกาะบุล) รับการนิกาห์ได้ด้วยตนเอง

หากเป็นฝ่ายหญิงก็เท่ากับว่านางไม่มีพ่อตามบัญญัติของศาสนา (อัล-อับ อัช-ชัรฺอียฺ) และการที่นางไม่มีพ่อตามบัญญัติของศาสนาเนื่องจากนางเป็นลูกซินา (ลูกนอกสมรส) ย่อมทำให้นางไม่มีสายสัมพันธ์ทางเครือญาติ (นะสับ) เกี่ยวพันไปถึงพ่อของพ่อซินา และพี่น้องผู้ชายของพ่อซินา


(กล่าวคือ พ่อซินาไม่ใช่พ่อตามบัญญัติศาสนา พ่อของพ่อซินาที่อ้างว่าเป็นปู่ก็ไม่ใช่ปู่ตามบัญญัติศาสนา พี่น้องผู้ชายของพ่อซินาที่อ้างว่าเป็นลุงหรืออาก็ไม่ใช่ลุงหรืออาจริงๆ ตามบัญญัติศาสนา)


และพี่น้องผู้ชายร่วมบิดาและมารดาสำหรับนางก็ไม่มี หากถือตามมัซฮับอัช-ชาฟิอียฺ , อัล-มาลิกียฺ และอัล-หัมบาลียฺ นางก็ไม่สามารถให้ญาติฝ่ายแม่ เช่น พ่อของแม่ (ตา) หรือแม่ของนาง หรือแม่ของแม่ของนาง (ยาย) หรือพี่น้องร่วมแม่ของนางหรือพี่น้องของแม่ของนางมาเป็นวะลียฺให้แก่นางในการนิกาห์ ส่วนในมัซฮับอัล-หะนะฟียฺนั้นอนุญาตให้ไล่เรียงลำดับกลุ่มบุคคลข้างต้นตามลำดับความใกล้ชิดเป็นวะลียฺในการนิกาห์ของนางได้กรณีที่นางไม่มีญาติฝ่ายพ่อ


ดังนั้น หากถือตามมัซอับทั้งสามซึ่งเป็นปราชญ์ส่วนใหญ่ (ยุมฮูร อัล-อุละมาอฺ) ก็เท่ากับว่านางอยู่ในสถานะของหญิงที่ไม่มีวะลียฺในการนิกะห์ให้แก่นาง ดังนั้น ก็ให้นางตั้งบุคคลที่มีความเหมาะสมและมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขในการเป็นวะลียฺให้เป็นวะลียฺในการนิกะห์ให้แก่ตัวนาง ซึ่งมี 2 วิธี คือ

1- ให้นางตั้งบุคคลเป็นวะลียฺเฉพาะเรื่องในการทำข้อตกลงนิกาห์ เรียกว่า วะลียฺ เตาลียะฮฺ กรณีนี้นางตั้งวะลียฺเพียงฝ่ายเดียวโดยเจ้าย่าวไม่ต้องร่วมตั้งวะลียฺผู้นั้น

2- ให้นางและเจ้าบ่างร่วมกันตั้งบุคคลผู้หนึ่งที่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขในการเป็นวะลียฺให้ผู้นั้นเป็นวะลียฺ เรียกว่า วะลียฺ ตะห์กีม (อนุญาโตตุลาการ) โดยนางและเจ้าบ่าวจะต้องแต่งตั้งและมอบอำนาจในการเป็นวะลียฺแก่ชายผู้นี้ในการทำหน้าที่เป็นวะลียฺนิกาห์ด้วยกันทั้งคู่ มิใช่ฝ่ายหญิงตั้งเพียงอย่างเดียว และถ้าหากว่านางอยู่ในเขตพื้นที่ที่มีกอฎียฺ หรือดะโต๊ะยุติธรรมทำหน้าที่ในเรื่องการนิกาห์แก่หญิงที่ไม่มีวะลียฺนั่นก็ย่อมเป็นสิ่งที่ดีที่สุด โดยให้กอฎียฺหรือดะโต๊ะยุติธรรมทำนห้าที่ในการเป็นวะลียฺนิกาห์ให้แก่นาง

والله ولي التو فيق