จะนิกะได้หรือไม่  (อ่าน 6573 ครั้ง)

สุลัยมาน

  • บุคคลทั่วไป
จะนิกะได้หรือไม่
« เมื่อ: กันยายน 12, 2014, 05:28:24 pm »
 salamท่านอาจารย์ ผมมีปัญหาที่เกิดขึ้นจริง สมมุติปัญหาว่า นาย ก แต่งงานกับ นาง ข ซึ่งนาง ข มีพี่สาว(พ่อเดียวแม่เดียวกัน)ชื่อนาง ค ซึ่งนาง ค มีลูกสาว ๑ คน ชื่อว่า นางสาวแดง อยากถามท่านอาจารย์ดังนี้
๑ เมื่อนาย ก ได้หย่ากับนาง ข แล้ว นาย ก จะสามารถแต่งงานกับ นางสาวแดงได้หรือไม่
๒ นาย ก กับนางสาวแดง บาตายน้ำสมายังหรือไม่(ทั้งกรณีที่นาย ก ยังไม่หย่าหรือหย่ากับนาง ข)
ขอให้ท่านอาจารย์มีสุขภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรง มีอีหม่านตลอดไป 

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
Re: จะนิกะได้หรือไม่
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2014, 08:23:32 pm »
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

นางสาวแดงเป็นลูกสาวของนางคราม (ค.) และนางครามเป็นพี่สาวของนางขาว (ข.) นางสาวแดงจึงมีศักดิ์เป็นหลานสาว (ลูกของพี่สาวแท้ๆ) ของนางขาว และนางขาวก็มีศักดิ์เป็นน้าสาวแท้ๆ ของนางสาวแดง เมื่อนางขาวแต่งงานกับนายกระ (ก.) นายกระก็ย่อมมีศักดิ์เป็นน้องเขยของนางคราม และเป็นน้าเขยของนางสาวแดง ศาสนาบัญญัติห้ามไม่ให้นายกระรวมเอานางขาวและนางครามมาเป็นภรรยาของตนในคราวเดียวกัน


และหากสมมุติว่านางขาวเป็นชาย นางครามเป็นหญิง 2 คนนี้ก็แต่งงานกันไม่ได้อยู่แล้ว เพราะทั้งสองคนเป็นพี่น้องกัน จึงห้ามมิให้นายกระรวมเอานางขาวและนางครามมาเป็นภรรยาของตนในคราวเดียวกัน


และหากสมมุตินางขาวเป็นชาย นางสาวแดงเป็นหญิง 2 คนนี้ก็แต่งงานกันไม่ได้อยู่แล้ว เพราะนางขาวที่ถูกสมมุติเป็นชายมีศักดิ์เป็นน้า (คือน้องชายของนางครามผู้เป็นแม่ของนางสาวแดง) และนางสาวแดงก็เป็นหลานสาว (คือลูกของนางครามซึ่งเป็นพี่ของนางขาวที่ถูกสมมุติเป็นชาย) เหตุนั้นนายกระจึงไม่อาจรวมนางขาวกับนางสาวแดงมาเป็นภรรยาของตนในคราวเดียวกัน


กล่าวคือ ศาสนาห้ามรวมพี่น้องผู้หญิงทั้งสองหรือผู้หญิงกับพี่น้องของพ่อ (ป้า) หรือผู้หญิงกับพี่น้องของแม่ (น้า) มาเป็นภรรยาของคนๆ หนึ่งในคราวเดียวกัน ทั้งนี้ถือตามเกณฑ์ (กออิดะฮฺ) สำหรับการห้ามรวม (ในการแต่งงาน) ระหว่างผู้เป็นมะหฺร็อม (อัล-มะหาริม) ที่ว่า : ห้ามรวมระหว่างผู้หญิงสองคน (ในการแต่งงาน)


หากสมมุติว่าหนึ่งในสองคนของหญิงนั้นเป็นผู้ชาย ไม่อนุญาตให้ชายที่ถูกสมมุตินั้นแต่งงานกับอีกคนหนึ่ง (ที่เป็นหญิง) จากทั้ง 2 ฝ่ายทั้งหมด หรือกฏที่ว่า ห้ามรวมระหว่างทุกหญิง 2 คน ที่คนหนึ่งใน 2 คนนั้นถูกสมมุติให้เป็นชาย อีกคนหนึ่งก็เป็นที่ต้องห้ามเหนือคนที่ถูกสมมุติให้เป็นชายนั้น (อัล-บะดาอิอฺ 2/262 , อัด-ดุรฺรุลมุคต๊ารฺ 2/391 , มุฆนียฺ อัล-มุหฺตาจญ์ 3/180 , อัล-มุฮัซซับ 2/42 , บิดายะฮฺตุลมุจญ์ตะฮิด 2/40 -42, อัล-มุฆนียฺ 6/574)



ดังนั้นที่ถามว่า
1.เมื่อนายกระ (ก.) ได้หย่ากับนางขาว (ข.) แล้ว นายกระจะสามารถแต่งงานกับนางสาวแดงได้หรือไม่?

คำตอบ นักวิชาการเห็นตรงกันว่าอนุญาตให้รวมระหว่างหญิงกับบรรดามะหฺร็อมของนางภายหลังการที่หญิงนั้นแยกจากกันแล้ว (ฟุรฺเกาะฮฺ) ด้วยเหตุการเสียชีวิตของคนหนึ่งจากสองฝ่ายนั้น (ฝ่ายหญิงกับมะหฺร็อมของนาง) ดังนั้น หากภรรยาของชายคนหนึ่งเสียชีวิตลง ก็อนุญาตให้ชายนั้นแต่งงานกับพี่สาวหรือน้องสาวของภรรยาที่เสียชีวิตนั้นหรือแต่งงานกับป้าของภรรยาที่เสียชีวิตนั้นเป็นต้น โดยไม่ต้องรอคอยช่วงเวลาใดๆ ภายหลังการเสียชีวิตของภรรยานั้น


และนักวิชาการเห็นตรงกันว่าไม่อนุญาตให้รวมระหว่างผู้หญิง (ที่เป็นภรรยา) กับบรรดามะหฺร็อมของนางในระหว่างการครองอิดดะฮฺ (ของหญิงที่เป็นภรรยา) อันเนื่องมาจากการเฏาะล๊ากแบบรอจญ์อียฺ (คือการหย่าที่ยังสามารถกลับคืนดีกันได้ เช่น หย่าเพียง 1 ครั้งหรือ 2 ครั้ง และฝ่ายหญิงที่ถูกหย่ายังคงอยู่ในอิดดะฮฺของนาง)


ดังนั้น หากสามีเฏาะล๊ากภรรยาของตนแบบเฆาะล๊ากรอจญ์อียฺ ก็ไม่อนุญาตให้ชายนั้นสมรสกับหญิงคนหนึ่งคนใดจากบรรดามะหฺร็อมของภรรยาที่ถูกเฏาะล๊ากแบบรอจญ์อียฺนั้น ยกเว้นภายหลังสิ้นสุดช่วงเวลาการครองอิดดะฮฺของภรรยาที่ถูกหย่าแล้วเท่านั้น เพราะในระหว่างการครองตนในช่วงอิดดะฮฺของนาง นางยังคงอยู่ในข้อชี้ขาดของการแต่งงานที่มีมาก่อนนั้น



และนักวิชาการมีความเห็นต่างกันในการรวมระหว่างผู้เป็นมะหฺร็อมมาเป็นภรรยาในคราวเดียวกัน เมื่อปรากฏว่าหนึ่งในบรรดามะหฺร็อมที่ห้ามรวมในการแต่งงานนั้นเป็นหญิงที่อยู่ในช่วงการครอง อิดดะฮฺจากการเฏาะล๊ากแบบบาอิน (หย่าขาด)


นักวิชาการสังกัดมัซฮับอัล-หะนะฟียฺและอัล-หัมบะลียฺกล่าวว่า : ห้ามรวมระหว่างพี่น้องผู้หญิง 2 คนและบุคคลที่อยู่ในข้อชี้ขาดเดียวกันกับบุคคลทั้งสอง (ในการแต่งงาน) เมื่อปรากฏว่าหญิงคนหนึ่งจาก 2 คนนั้นอยู่ในระหว่างการครองอิดดะฮฺอันเนื่องมาจากการหย่า (เฏาะล๊าก) ทั้งแบบบัยนูนะฮฺ ศุฆรอ (พ้นอิดดะฮฺแล้วสามีไม่คืนดี) และแบบบัยนูนะฮฺ กุบรอ (หย่าภรรยา 3 ครั้ง) ดร.วะฮฺบะฮฺ อัซ-ซุหัยลียฺ ระบุว่า ทัศนะนี้มีน้ำหนัก (รอญิหฺ)


ส่วนนักวิชาการสังกัดมัซฮับอัล-มาลิกียฺและอัช-ชาฟิอียฺกล่าวว่า : ใช้ได้ในการแต่งงานกับพี่น้องผู้หญิงของภรรยาที่ถูกหย่าและบุคคลที่อยู่ในข้อชี้ขาดเดียวกับนางจากบรรดามะหฺร็อม (ของนาง) ในระหว่างการอิดดะฮฺ (ของหญิงที่ถูกสามีหย่า) อันเนื่องมาจากการหย่า (เฏาะล๊าก) ทั้งแบบบัยนูนะฮฺศุฆรอหรือบัยนูนะฮฺกุบรอ เนื่องจากผลของการแต่งงานที่มีมาก่อนขาดตอนลงแล้ว นางจึงไม่เป็นที่อนุญาตสำหรับสามีที่หย่านางนอกเสียจากด้วยการทำข้อตกลงนิกาห์ใหม่ (อักดุน ญะดีด) และในขณะนั้นถือว่าไม่เป็นการรวมเอาหญิง 2 คนมาอยู่ในข้อชี้ขาดของการร่วมที่หลับนอนเดียวกัน (อัล-ฟิกฮุล อิสลามียฺ ว่าอะดิลละตุฮู ; ดร.วะฮฺบะฮฺ อัว-ซุหัยลียฺ เล่มที่ 7 หน้า 164)



ดังนั้น นายกระ (ก.) จะสามารถแต่งงานกับนางสาวแดงได้ก็ต่อเมื่อนางขาว (ข.) ซึ่งเป็นน้าสาวของนางสาวแดงสิ้นสุดช่วงเวลาการครองตนในอิดดะฮฺของนางขาวแล้วเท่านั้น ตามทัศนะที่มีน้ำหนัก หรือนายกระจะต้องไม่กลับไปคืนดีกับนางขาวอีกในช่วงเวลาการครองตนในอิดดะฮฺของนางขาว คือต้องปล่อยให้นางขาวหมดอิดดะฮฺไปหรือตั้งใจว่าจะไม่คืนดีกับนางขาวอีก การแต่งงานของนายกระกับนางสาวแดงถึงจะใช้ได้ถึงแม้ว่านางขาวจะคงอยู่ในช่วงเวลาการครองตนในอิดดะฮฺก็ตาม ตามทัศนะในมัซฮับอัล-มาลิกียฺและอัช-ชาฟิอียฺ



2.นายกระ (ก.) กับนางสาวแดงกระทบกันโดยไม่มีสิ่งขวางกันจะเสียน้ำละหมาดหรือไม่?

คำตอบ หากถือตามมัซฮับอัล-หะนะฟียฺ , อัล-มาลิกียฺ และอัล-หัมบาลียฺได้สรุปๆ ถือว่าการเพียงแต่สัมผัสกระทบจับต้องระหว่างชายหญิงไม่ทำให้เสียน้ำละหมาด (อัล-ฟิกฮุลอิสลามียฺ ว่าอะดิลละตุฮู ; ดร.วะฮฺบะฮฺ อัซ-ซุหัยลียฺ เล่มที่ 1 หน้า 275) และดร.วะฮฺบะฮฺ อัซ-ซุหัยลียฺ ระบุว่า “และเป็นที่ปรากฏสำหรับข้าพเจ้าว่าแท้จริงการสัมผัสที่เกิดขึ้นโดยไม่มีเจตนาหรือเป็นการสัมผัสที่ไม่มีกามรสหรือไม่มีอารมณ์ทางเพศในการสัมผัสนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ทำให้เสียน้ำละหมาด ส่วนการสัมผัสซึ่งมีอารมณ์ทางเพศเกิดขึ้นควบคู่กับการสัมผัสนั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่ทำให้เสียน้ำละหมาด และสิ่งนี้ในการประเมินของข้าพเจ้าถือว่าเป็นสิ่งที่มีน้ำหนักที่สุดของบรรดาทัศนะ (ในเรื่องนี้) (อัล-ฟิกฮุลอิสลามียฺฯ อ้างแล้ว 1/227)


แต่ถ้าถือตามมัซอับอัช-ชาฟิอียฺก็ถือว่าการกระทบ สัมผัสผิวโดยไม่มีสิ่งขวางกั้นระหว่างนายกระ (ก.) กับนางสาวแดงทำให้เสียน้ำละหมาด ไม่ว่านายกระจะยังคงเป็นสามีของนางขาว (ข.) หรือหย่านางขาวแล้วก็ตาม เพราะความเป็นมะหฺร็อมระหว่างนางสาวแดงกับนายกระเป็นแบบมะหฺเราะมียะฮฺ มุอักเกาะตะฮฺ (คือชั่วคราวมิใช่ห้ามแต่งงานด้วยตลอดกาล)


ดังนั้นการเป็นมะหฺร็อม (คือห้ามแต่งงานระหว่างกันและกระทบไม่เสียละหมาด) ด้วยเหตุการแต่งงาน (มุศอฮะเราะฮฺ) จะต้องเป็นการเกี่ยวดองด้วยการแต่งงานที่ห้ามแต่งงานด้วยตลอดกาล เช่น แม่ของภรรยา (แม่ยาย) เป็นต้น (คือแม่ยายกับลูกเขย) หรือพ่อผัวกับลูกสะใภ้ กรณีนี้กระทบไม่เสียน้ำละหมาด ต่างจากกรณีเมื่อการเกี่ยงดองด้วยการแต่งงาน (มุศอฮะเราะฮฺ) นั้นก่อให้เกิดสภาพการเป็นมะหฺร็อมที่ไม่ใช่แบบตลอดกาล (คือ ชั่วคราว) เช่น พี่สาวหรือน้องสาวของภรรยาของชายคนนั้น การไปกระทบสัมผัสนางโดยไม่มีสิ่งขวางกั้นย่อมทำให้เสียน้ำละหมาด (ดูหาชิยะฮฺ อิอานะตุฏฏอลิบีน ; อัต-ดุมยาฏียฺ เล่มที่ 1 หน้า 79)

والله أعلم بالصواب