การขอดุอาอฺก่อนให้สลามจากการละหมาดและในขณะซู่ญูด  (อ่าน 7298 ครั้ง)

ชุกรี่

  • บุคคลทั่วไป
السلام عليكم ورحمة الله وبركاته
อ. อาลี เสือสมิง ครับ
ผมขอถามอาจารย์เกี่ยวกับการขอดุอาอฺก่อนให้สลามจากละหมาดและขณะซู่ญูด
1. การขอดุอาก่อนให้สลาม เราสามารถขอดุอาอฺที่นอกเหนือจากดุอาอฺที่มีแบบอย่างเจาะจงมาจากท่านนบีศ้อลฯที่ท่านได้ดุอาอฺไว้ เช่น
اللهم اغفر لي ماقدمت ومااخرت .........
เราสามารถใช้สำนวนดุอาอฺอื่นที่ไม่ได้เจาะจงว่านบีท่านอ่านก่อนให้สลามแต่ว่าเป็นดุอาอฺที่มีแบบมาจากท่านนบีได้หรือไม่ เช่น
اللهم إني أسالك علما نافعا .....
และอีกประเด็นเราสามารถดุอาอฺซึ่งใช้สำนวนที่เราแต่งเองได้หรือไม่ครับ
2. การขอดุอาในซูญูด เราสามารถขอดุอาได้โดยเปล่งเสียงออกมาเป็นภาษาอาหรับได้ใช่หรือเปล่าครับ กรณีนี้ เราสามารถเอาดุอานบีมาขอในซู่ญูดได้หรือไม่ และสามารถเอาดุอาแต่งเองมาขอได้หรือไม่


อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

1) อิมามอัช-ชาฟิอีย์ (ร.ฮ.) และบรรดาสานุศิษย์ของท่านเห็นตรงกันว่า ส่งเสริม (มุสตะหับ) ให้ขอดุอาอฺหลังการตะชะฮ์ฮุด และการเศาะละวาตแก่ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ก่อนการให้สลาม


อิมามอัช-ชาฟิอีย์ (ร.ฮ.) และเหล่าสานุศิษย์ของท่านกล่าวว่า : และผู้ละหมาดสามารถขอดุอาอฺได้ตามที่ประสงค์จากเรื่องราวของอาคิเราะฮ์และดุนยา แต่เรื่องของอาคิเราะฮ์นั้นดีกว่า และผู้ละหมาดสามารถขอดุอาอ์ด้วยบรรดาดุอาด์มะอ์ษูเราะฮ์ (ที่มีรายงานระบุมา) ในสถานที่ตรงนี้ (ก่อนให้สลาม) และดุอาอ์ มะอ์ษูเราะฮ์ (ที่มีรายงานมา) ในสถานที่อื่น และมีสิทธิขอดุอาอ์ด้วยดุอาอ์ที่มิใช่มะอฺษูเราะฮ์ตลอดจนสิ่งที่มีความประสงค์จากเรื่องราวของอาคิเราะฮ์และดุนยา นี่เป็นทัศนะที่ถูกต้องซึ่งบรรดานักวิชาการสังกัดมัซฮับอัช-ชาฟิอีย์ส่วนใหญ่เห็นตรงกัน เนื่องจากมีบรรดาหะดีษที่เศาะฮีหฺเป็นหลักฐาน (กิตาบ อัล-มัจญ์มูอ์ ชัรหุลมุฮัซซับ ; อัน-นะวาวีย์ 3/451)


ดังอัล-หะดีษที่รายงานโดยอัล-บุคอรีย์และมุสลิมจากท่านอะลี (ร.ฎ.) จากท่านรสูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ซึ่งตอนท้ายระบุว่า .... ต่อมาผู้นั้นก็จงเลือกจากดุอาอ์ ในอีกสำนวนหนึ่งระบุว่า (ثُمَّ لِيَتَخَيَّرْ مِنَ الدُّعَاءِ)”ต่อมาผู้นั้นก็เลือกจากดุอาอ์” ในอีกสำนวนหนึ่งระบุว่า (ثُمَّ يَتَخَيَّرُمِنَ الْمَسْأَلَةِماشَاءَ) “ต่อมาผู้นั้นก็เลือกจากการการวิงวอนขอตามที่เขาประสงค์” (อ้างแล้ว 3/452)


ดังนั้นที่ถามมาทุกกรณีสามารถทำได้ครับ


2) ได้ครับ ทั้งนี้มีเงื่อนไขว่าต้องเป็นภาษาอาหรับ และมิใช่สำนวนโต้ตอบ (คิฏอบ) กับมัคลูก นักวิชาการสังกัดมัซฮับอัช-ชาฟิอีย์ระบุว่า “ส่วนบรรดาดุอาอ์ที่เป็นภาษาอาหรับนั้นไม่ทำให้เสียการละหมาด ไม่ว่าดุอาอ์นั้นเป็นดุอาอ์มะษูรหรือมิใช่ก็ตาม” (กิตาบอัล-มัจญ์มูอ์ 4/15) และนี่เป็นทัศนะของอิมามมาลิก , อัษเษารีย์ , อบูเษาริน และอิสหาก (อ้างแล้ว 3/454)


ส่วนอิมามอบูหะนีฟะฮ์และอิมามอะห์มัด มีทัศนะว่า ไม่อนุญาตให้ขอดุอาอ์ในละหมาดนอกเสียจากด้วยบรรดาดุอาอ์มะอ์ษูเราะฮ์ที่สอดคล้องกับอัล-กุรอาน (อ้างแล้ว 3/454) สำหรับหลักฐานของฝ่ายอัช-ชาฟิอีย์ คืออัล-หะดีษของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ที่ว่า

(وَأَمَّاالسُّجُوْدُفَاجْتَهِدُوْافيه مِن الدعاءِ)
“ส่วนการสุหญูดนั้น พวกท่านจงเพียรขอดุอาอ์ในการสุหญูดนั้น” และในอัล-หะดีษที่ว่า

(فَاكْثِرُوامِن الدعاءِ)
“ดังนั้น พวกท่านก็จงขอดุอาอ์มากๆ” ทั้งสองบทเป็นหะดีษเศาะฮีหฺ ซึ่งมีนัยกว้างๆ ที่สั่งใช้ให้ขอดุอาอ์ในสุหญูดโดยไม่มีเงื่อนไขกำกับ จึงรวมการขอดุอาอ์ทั้งหมดที่เรียกว่า ดุอาอ์ จะเป็นดุอาอ์มะอ์ษูรหรือเป็นดุอาอ์ที่แต่งเองเป็นภาษาอาหรับก็ได้ (อ้างแล้ว 3/454)

والله أعلم بالصواب