การให้สลามในการละหมาด  (อ่าน 8253 ครั้ง)

azmah

  • บุคคลทั่วไป
การให้สลามในการละหมาด
« เมื่อ: สิงหาคม 07, 2015, 10:18:55 am »
อัสสลามมูอลัยกุมวะเราะฮ์มะตุ้ลลอฮฺ

รบกวนสอบถามอาจารย์อาลีค่ะ
การให้สลามเมื่อเสร็จสิ้นการละหมาด ให้กล่าวว่า อัสลามุ่อะลัยกุม ซึ่งก่อนหน้านี้ ดิฉัน อ่านว่า อัสลา[/color] มู่อะลัยกุม กลายเป็นว่า มี มีม สอง ตัว มาโดยตลอด และเพิ่งได้มาเรียนรู้ทีหลัง แล้วอย่างนี้ตลอดมาในการละหมาดถือว่าใช้ได้หรือไม่คะ และควรทำอย่างไรดีคะ
แต่ตอนนี้อ่านถูกต้องแล้ว

รบกวนอาจารย์แนะแนวทางด้วยค่ะ
ญาซากัลลอฮ์ค่ะ

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
Re: การให้สลามในการละหมาด
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 10, 2015, 01:57:08 am »
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

การให้สล่ามครั้งที่ 1 (อัต-ตัสลีมะฮิ อัล-อูลา) เพื่อออกจากการละหมาดเป็นองค์ประกอบหลัก (รุกน์) ประการหนึ่งของการละหมาด และนักวิชาการมัซฮับอัช-ชาฟิอียฺกำหนดเงื่อนไขในการให้สล่ามครั้งที่ 1 ว่าจะใช้ได้หรือไม่เอาไว้ 9 เงื่อนไขด้วยกัน (อัล-บัยญูรียฺ 1/303 – 304)


และการให้สล่ามอย่างน้อยที่สุดที่จะใช้ได้คือกล่าวว่า (السَّلام عليكم) “อัสสะลามุอะลัยกุม” 1 ครั้ง จึงไม่อนุญาตในการทำให้อักษรหนึ่ง (อัล-หุรฺฟ์) ตกไปจากสำนวนนี้ของการกล่าวสล่าม และไม่อนุญาตให้เปลี่ยนอักษรหนึ่งจากสำนวนการให้สล่ามด้วยอักษรอื่น (อ้างแล้ว 1/304)


ดังนั้น สิ่งที่ถามมาว่า การกล่าวสล่ามว่า อัสสะลามฺ มุ่อะลัยกุม (السَّلَامَّ عليكم) โดยมีการเพิ่มมีมมาอีกหนึ่งอักษรในการอิดฆอม (กล้ำอักษรมีม) ทำให้เสียการให้สล่ามหรือไม่ หรือว่าให้สล่ามเช่นนี้ใช้ได้หรือไม่ ค้นดูในตำราฟิกฮฺแล้วไม่มีการระบุถึงการกล่าวสล่ามในลักษณะเช่นนี้ว่ามีผลต่อการให้ สล่ามว่าใช้ได้หรือไม่


แต่พอจะเทียบได้กับกรณีของการกล่าวสล่ามว่า อัสสิลฺมุ (السِّلْمُ) โดยใส่สระกัสเราะฮฺที่ตัวอักษรซีน หรือกล่าวว่า อัสสัลมุ (السَّلْمُ) โดยใช้สระฟัตหะฮฺที่ตัวอักษรซีนและในสุกูนที่ตัวอักษรลามหรือกล่าวว่า อัส-สะละมุ (السَّلَمُ) โดยใส่สระฟัตหะฮฺทั้งที่ตัวอักษรซีนและลาม ในตำราฟิกฮฺระบุว่า หากกล่าว สล่ามด้วยคำในลักษณะดังกล่าว โดยมุ่งหมาย (กอศด์) ว่าเป็นการให้สล่ามเช่นเดียวกับคำว่า อัสสะลามุ (السَّلَامُ) ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว (คือใช้ได้) ตามทัศนะที่ถูกยึดถือ (มุอฺตะมัด) ในมัซฮับ (อ้างแล้ว 1/304)


ก็พอจะกล่าวได้ว่า การกล่าวสล่ามว่า “อัสสะลามฺ มุอะลัยกุม” ตามที่ถามมาก็น่าจะใช้ได้หากมุ่งหมายว่าเป็นการให้ สล่าม กอปรกับการกล่าวในลักษณะดังกล่าวเป็นไปโดยไม่รู้และไม่มีเจตนา จึงไม่น่าจะมีผลเสียในการให้ สล่ามตามที่ถาม ถึงแม้ว่าจะไม่ถูกต้องในการออกเสียงก็ตาม ถ้าถือตามที่ให้คำตอบโดยการเทียบเคียงข้างต้นก็ถือว่าละหมาดที่ผ่านพ้นมาใช้ได้โดยไม่ต้องเกาะฎออฺ (ชดใช้) แต่อย่างใด

والله اعلم بالصواب