การประเดิมซื้อของ  (อ่าน 5929 ครั้ง)

มุอาวียะฮ์

  • บุคคลทั่วไป
การประเดิมซื้อของ
« เมื่อ: สิงหาคม 09, 2015, 03:30:55 pm »
อัสลามุอาลัยกุม
มีมุสลิมมะมาซื้อเงาะผม
เนื่องจากนิเขามาซื้อเป็นคนแรก
แล้วนิเขาก็พูดว่า "นิประเดิมให้ขายดี"
มุสลิมมะท่านนี้จะเสียอะกีดะหรือไม่ครับอาจารย์
แล้วผมผู้ขายจะเสียอะกีดะหรือไม่ครับอาจารย์

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
Re: การประเดิมซื้อของ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 10, 2015, 02:01:51 am »
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته

ประเดิมเป็นคำกริยา หมายถึงเริ่มต้นหรือเริ่มแรกในการซื้อหรือขายเป็นต้น เช่น ประเดิมซื้อ ประเดิมขาย ประเดิมฝาก (มักใช้ในลักษณะที่เกี่ยวกับพิธีการหรือโชคลาง) คำว่า พิธีการหมายถึงการที่เกี่ยวกับพิธีและแบบหรือหนังสือทางทูต คนละความหมายกับคำว่าพิธีกรรม ซึ่งเป็นคำนาม หมายถึงการบูชา


ดังนั้นการที่นิคนนั้นมาซื้อเงาะของคุณเป็นคนแรกจึงเป็นการประเดิมซื้อ ซึ่งขณะที่นิประเดิมซื้อก็พูดว่า “นิประเดิมให้ขายดี” เป็นประโยคที่ตีความได้


กล่าวคือ เป็นประโยคในเชิงขอดุอาอฺที่มุ่งหมายว่า “ขอให้ขายดี” กรณีนี้ไม่เสียอะกีดะฮฺแน่นอน เพราะเป็นคำพูดที่ดีและเข้าอยู่ในประเภทตะฟาอุล (تَفَائُل) หรือ อัล-ฟะอฺลุ (الْفَأْلُ) ซึ่งมี หะดีษระบุว่า หมายถึงคำพูดที่ดีซึ่งคนหนึ่งในหมู่พวกท่านได้ยินคำพูดนั้น (บันทึกโดย อัล- บุคอรียฺ) แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องไม่ยึดถือเอาเป็นเกณฑ์ต่อคำพูดนั้น และจะต้องไม่ถือเอาเป็นสิ่งที่ถูกมุ่งหมายโดยเจตนา


แต่ให้ถือว่าเป็นคำที่ดีเท่านั้น โดยผู้ขายที่ได้ยินคำพูดนั้นจะมีอิอฺติกอดว่า การขายดีเป็นการดลบัลดาลของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) เป็นริซกีที่พระองค์ประทานให้ และผู้พูดก็มุ่งหมายในคำพูดของตนว่าเป็นดุอาอฺที่ขอให้ขายดี ถ้าตีความหมายคำพูดในทำนองนี้ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่พูดได้ ทั้งผู้พูดและผู้ฟังไม่เสียอะกีดะฮฺแต่อย่างใด


แต่ถ้าตีความในทำนองเป็นโชคลางว่าขายดีเพราะคำพูดนั้น หรือยึดมั่นว่าเพราะคำพูดนั้นจะดลบันดาลให้ขายดีด้วยตัวของมัน ไม่ได้มุ่งหมายว่าเป็นดุอาอฺ แต่มุ่งหมายว่าเป็นคำให้โชคหรือเป็นผู้ให้โชค อย่างนี้ก็เข้าข่ายว่าเป็นการถือในโชคลางหรืออัฏ-ฏิยะเราะฮฺ (الطيرة) ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของการตั้งภาคี (ซิรฺก์) โดยเป็นชิรฺก์ อัศฆอรฺ คือเป็นบาปใหญ่ แต่ถ้ายึดมั่นว่าคำพูดที่เป็นโชคลางนี้ให้คุณให้โทษด้วยตัวของมันก็จะกลายเป็น ชิรฺก์ อักบัรฺ ในที่สุด วัล-อิยาซุบิลลาฮฺ

والله اعلم بالصواب