การละหมาดดุฮา การอาบนำ้ละหมาด การซิกรุลอฮฺ  (อ่าน 10519 ครั้ง)

เบาปัญญา

  • บุคคลทั่วไป
 salam รบกวนอาจารย์สอบถามสามข้อนะครับ

 1. อยากทราบว่าการละหมาดอิสเราะกับดุฮาอันเดียวกันหรือไม่ครับและ การละหมาดดุฮาไม่สงเสริมให้ทำเป็นประจำหรือครับ
สำหรับฮาดิษบทนี้หมายถึงอย่างไรครับ


รายงานจากอบี ดัรดาอฺ  ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ  เขาได้กล่าวว่า

‏أَوْصَانِي حَبِيبِي ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏بِثَلَاثٍ لَنْ أَدَعَهُنَّ مَا عِشْتُ بِصِيَامِ ثَلَاثَةِ أَيَّامٍ مِنْ كُلِّ شَهْرٍ وَصَلَاةِ الضُّحَى وَبِأَنْ لَا أَنَامَ حَتَّى أُوتِرَ

"มิตรสหายรักของฉันได้กำชับฉัน 3 ประการ  ซึ่งฉันไม่เคยทิ้งมันเลยตราบที่มีชีวิตอยู่  คือ  ถือศีลอด 3 วันของทุกเดือน  ละหมาดดุฮา  และไม่นอนจนกว่าทำละหมาดวิติร"  รายงานโดยมุสลิม (1183)

2. การอาบนำ้ละหมาดที่ถูกต้องใช้นำ้เดียวแล้วถูให้ทั่ว หรือต้องราดนำ้ให้ผ่านตลอดครับ เช่น กรณีล้างแขนตักนำ้แล้วถูให้ทั่วหรือต้องปล่อยให้นำ้ไหลผ่านหรือจุ่มลงถูในนำ้ครับ กรณีเป็นคราบนำ้มันดำๆตามลายนิ้วมือต้องถูให้เกลี้ยงเลยหรือเปล่าครับซึ่งสามารถทำได้แต่ต้องใช้เวลานานมาก เพราะต้องล้างแล้วถูหลายๆเที่ยวจนมือมันเปื่อยละครับ

3. กรณีในละหมาดอีหม่านอ่านเราไม่รู้ความหมายสามารถที่จะซิกรุลอฮฺในใจระหว่างรอรูกั๊วได้หรือไม่ครับ ป้องกันจิตใจคิดฟุ้งซ่าน :smilie:

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
Re: การละหมาดดุฮา การอาบนำ้ละหมาด การซิกรุลอฮฺ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2015, 10:30:42 pm »
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

ข้อ 1

ท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อับบาส (ร.ฎ.) กล่าวว่า

" صَلَاةُ الإشْرَاقِ صَلَاةُالضُّحى "

“การละหมาดอัล-อิชรอกคือการละหมาดอัฏ-ฏุหา”


และนี่เป็นคำกล่าวที่ถูกยึดถือ (มุอฺตะมัด) ในมัซฮับอัชชาฟิอียฺ (อิอานะตุฏฏอลิบีน ; อัด-ดุมยาฏีย์ 1/293  ) ส่วนอิมามอัล-เฆาะซาลียฺ (ร.ฮ.) และผู้ที่เห็นด้วยกับท่านกล่าวว่า ละหมาดอัล-อิชรอกเป็นละหมาดอื่นที่มิใช่ละหมาดอัฎ-ฏุหา (อ้างแล้ว 1/295 ) ดังปรากฏในตำราชัรหุ อัล-อุบ๊าบ ว่า (رَكْعَتَاالْإِشْرَاقِ غَيْرُالضُّحى) สองรอกอะฮฺของอัลอิชรอกนั้นอื่นจากอัฎ-ฎุหา (อ้างแล้ว 1/293 )


และในสายรายงานหะดีษละหมาดอัล-อิชรอกนั้นมีอิบรอฮีม อิบนุ หิบบาน ซึ่งนักวิชาการหะดีษระบุว่า สากิฏ  (سَاقِط) บ้างก็ว่า เฎาะอีฟ ชอบเล่าหะดีษเมาวฺฏอฺจากบรรดาบุคคลที่เชื่อถือได้ (อัล-ฟะวาอิด อัล-มัจญ์มูอะฮฺ ; อัช-เชากานียฺ หน้า 68 หะดีษเลขที่ 162/122 )


อิมามอิบนุ หะญัร อัล-ฮัยษะมียฺ (ร.ฮ.ป ระบุว่า : ในการที่อิมามอัล-เฆาะซาลียฺ (ร.ฮ.) กำหนดละหมาดอัล-อิชรอกว่าเป็นละหมาดอื่นนอกจากอัฎ-ฎุหานั้นมีประเด็นที่ต้องพิจารณา...และตามข้อชี้ขาดของมัซฮับ ไม่อนุญาตให้ทำละหมาดอัล-อิชรอกด้วยการตั้งเจตนาละหมาดอัล-อิชรอก เพราะไม่มีสิ่งใดระบุมาในเรื่องละหมาดอัล-อิชรอก...” (อัล-ฟะตาวา อัล-กุบรอ อัล-ฟิกฮิยะฮฺ ; อัล-อัยษะมียฺ  1/268 โดยสรุป)


ดังนั้นหากถือตามคำกล่าวที่ถูกยึดถือ (มุอฺตะมัด) ในมัซฮับ การละหมาดอัล-อิชรอกโดยเอกเทศนั้นไม่มี เนื่องจากหลักฐานมีปัญหา จึงให้ถือว่าละหมาดอัล-อิชรอกเป็นช่วงเวลาต้นของละหมาดอัฎ-ฎุหา และเป็นละหมาดอัฎ-ฎุหานั่นเอง


บรรดานักวิชาการสังกัดมัซอับอัช-ชาฟิอียฺกล่าวว่า : การละหมาดอัฎ-ฎุหาเป็นสุนนะฮฺ มุอักกะดะฮฺ (กิตาบอัล-มัจญ์มูอฺ ชัรหุลมุฮัซซับ ; อัน-นะวาวียฺ 3/529 ) และหลักฐานที่ยืนยันว่า ละหมาดอัฎ-ฎุหาเป็นสุนนะฮฺคือ อัล-ดีษที่รายงานโดยท่านอบูฮุรอยเราะฮฺ (ร.ฎ.) และอบู อัด-ดัรฺดาอฺ (ร.ฎ.) ดังที่อ้างมา การเป็นสุนนะฮฺมัชรูอียะฮฺของละหมาดอัฎ-ฎุหาเป็นทัศนะของปวงปราชญ์สะลัฟ และบรรดานักวิชาการฟิกฮฺรุ่นหลังทั้งหมด แต่มีรายงานจากท่านอิบนุ อุมัรฺ (ร.ฎ.) ว่าท่านเห็นว่าการละหมาดอัฎ-ฎุหาเป็นบิดอะฮฺ และมีรายงานจากท่านอิบนุ มัสอูด (ร.ฎ.) เช่นกัน (กิตาบอัล-มัจญ์มูอฺ ชัรฺหุลมุฮัซซับ 3/531)


อิมาม อัน-นะวาวียฺ (ร.ฮ.) ระบุว่า....แท้จริงท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ท่านเคยละหมาดอัฎ-ฎุหาในบางเวลาและทิ้งการละหมาดอัฎ-ฎุหาในบางเวลา เนื่องจากเกรงผู้คนจะเชื่อว่าละหมาดอัฎ-ฎุหาเป็นวาญิบหรือเกรงว่า (ถ้าท่านกระทำเป็นเนืองนิตย์) ละหมาดอัฎ-ฎุหาจะถูกบัญญัติเป็นฟัรฎูเหนือพวกเขา เหมือนกับกรณีละทิ้งการกระทำสม่ำเสมอของการละหมาดตะรอวีห์ อันเนื่องมาจากความหมายนี้...” (กิตาบอัล-มัจญ์มูอฺ 3/530 )


นี่คือเหตุผลที่นักวิชาการอธิบายว่า ทำไมท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) จึงไม่ได้กระทำละหมาดอัฎ-ฎุหาเป็นประจำ แต่ที่ละหมาดอัฎ-ฎุหาเป็นสุนนะฮฺมุอักกะดะฮฺนั่นเป็นเพราะมีสุนนะฮฺเกาวฺลียะฮฺ (หะดีษอันเป็นคำพูดของท่าน) ถูกต้องและปรากฏอยู่ในศอฮีหฺอัล-บุคอรียฺและมุสลิม



ข้อ 2

การอาบน้ำละหมาดที่ถูกต้องคือล้างอวัยวะที่จำต้องล้างให้ทั่ว จะตักน้ำราดหรือจุ่มลงในน้ำหรือปล่อยให้น้ำผ่านก็ตาม ส่วนการถูนั้นเป็นสุนนะฮฺ ส่วนกรณีที่มีคราบน้ำมันต่างๆ ตามลายนิ้วมือ ต้องล้างคราบน้ำมันให้หมดและต้องถูให้เกลี้ยงจนค่อนข้างแน่ใจว่าน้ำทั่วถึงอวัยวะมือและไม่เหลือคราบน้ำมันมากันน้ำนั้น หากกระทำอย่างสุดความสามารถแล้ว เช่น คนที่เป็นช่างฟิต ก็ถือว่าใช้ได้แล้ว ที่ดีควรจัดการล้างและถูคราบน้ำมันนั้นให้เกลี้ยงเสียก่อนแล้วจึงค่อยอาบน้ำละหมาด ไม่ใช่ไปถูหรือล้างในขณะอาบน้ำละหมาด


ข้อ 3

เมื่ออิมามอ่านซูเราะฮฺ ให้มะอฺมูมตั้งใจฟังไม่ว่ามะอฺมูมจะเข้าใจความหมายของซูเราะฮฺที่อิมามอ่านหรือไม่ก็ตาม และในกรณีนี้ไม่มีสุนนะฮฺให้มะอฺมูมกล่าวซิกรุลลอฮฺใดๆ แต่ให้เงียบและตั้งใจฟังการอ่านของอิมาม


والله اعلم بالصواب