อุลามาอ์ยุคสลัฟทำอย่างไรเมื่อมีความขัดแย้งกัน  (อ่าน 14042 ครั้ง)

บ่าวตัวน้อย

  • บุคคลทั่วไป
 salam อาจารย์อาลีครับ
ผมเห็นโต๊ะครูหลายคน ไม่ว่าจะสำนักไหน กลุ่มไหน ในประเทศไทยทำไมพอมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ไม่ว่าเรื่องอะไรก็แล้วแต่ ทำไมไม่ไปคุยให้เครีย รึไม่ก็ไปนั่งคุยกันก่อนในวงแคบๆให้เข้าใจกันก่อนว่าเรื่องที่ขัดแย้งหรือที่สอนชาวบ้านตาดำๆนั้น นบีว่าอย่างไร สลัฟว่าอย่างไร แล้วค่อยมาสอนชาวบ้าน  แต่เที่ยวไปอ้างโน้นอ้างนี่  พาดพิงคนโน้นทีคนนี้ทีว่าโต๊ะครูคนนั้นสอนผิด สอนเพี้ยน ลำพังพวกเขานั้นไม่เท่าไรหรอก แต่ชาวบ้านนี่สิ บอกตามตรงว่าสับสน ชาวบ้านบางคนถึงขั้นประชดว่า กูไม่ฟัง ไม่เรียนมันแล้ว ไม่รู้อันไหนผิดอันไหนเพี้ยน ไม่ชงไม่เชื่อมันแล้ว"  แต่สำหรับผมนั้นแน่นอนว่าสัจธรรมมันก็คือสัจธรรม ฉะนั้นอยากถามอาจารย์ว่า บรรดาสลัฟฟุศศอและห์ เมื่อเขาวินิจฉัยขัดแย้งกันในประเด็นเดียวกัน หลักฐานเดียวกัน พวกเขาเหล่านัันมีวิธีการอย่างไร?เพื่อไม่เกิดความวุ่นวาย สับสนหรือฟิตนะห์ในสังคม ไม่ว่าจะนั่งคุยกัน หรือโต้กัน  มีบ้างไหม ประเภทที่ว่าไปปราศัยโจมตีอีกฝ่ายหนึ่งอย่างเสียๆหายๆ กะแหนะกะแหนดูถูก แล้วมีบ้างไหมบรรดาสี่อิหม่าม เขามีวิธีการยังไร ทั่่งๆที่บางประเด็นในการฟัตวาของพวกเขาก็ไม่ได้เหมือนกัน มีตัวอย่างไม่ครับอาจารย์ในการไกล่เกลี่ย ประณีประณอม
 ส่วนบ้านเมืองเรา บอกเลยว่าเพลียสุดๆ สายเก่านะไม่เท่าไร แต่สายใหม่นี่สิ สะระนัว นะซิกาบูเลยล่ะ ทุกวันนี้ก็ได้แต่ดุอาอ์ให้อยู่ในหนทางที่ถูกต้องที่สุด ให้การงานต่างๆได้รับการตอบรับจากอัลลอฮ์ ใครจะว่าอะไรก็ชั่ง ผมทำดีที่สุดของผมแค่นี้
   ขอมะอัฟ และญะซากั้ลลอฮ์นะครับที่มีพื้นที่ให้ผมได้ระบายความรู้สึก สุดท้ายผมขอให้อาจารย์สุขภาพแข็งแรง ยืนหยัดทำงานศาสนา สืบทอดเจตนารมณ์ของท่านร่อซูลอย่างมั่นคงตลอดไป
วัสลามครับ

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
Re: อุลามาอ์ยุคสลัฟทำอย่างไรเมื่อมีความขัดแย้งกัน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2016, 10:56:27 pm »
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

บรรดาปราชญ์ยุคสะลัฟศอลิหฺที่เป็นอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺด้วยกัน เวลามีทัศนะในเรื่องปลีกย่อย (ฟุรูอฺ) ต่างกัน พวกท่านจะยอมรับในเบื้องต้นว่า ทัศนะในการวิเคราะห์ผลลัพธ์จากตัวบทที่ไม่เด็ดขาด (นัศ กอฏอียฺ) ในการชี้ขาดนั้นมีความแตกต่างได้เป็นปรกติ เพราะการวิเคราะห์ (อิจญ์ติฮาด) เป็นสิ่งที่เห็นต่างกันได้เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างเป็นองค์ประกอบ เช่น ภูมิความรู้ กฏเกณฑ์ในการวิเคราะห์ การรับรู้ถึงหลักฐาน และการยอมรับสถานภาพของหลักฐานที่เป็นตัวบท เป็นต้น


เพราะภูมิความรู้ต่างกัน ความเข้าใจในการวิเคราะห์และหาผลลัพธ์จึงต่างกัน เพราะอาศัยกฏเกณฑ์ทางนิติศาสตร์ในการวิเคราะห์ต่างกัน จึงได้ผลลัพธ์ต่างกัน เพราะรับรู้ถึงหลักฐานและไม่รู้ถึงหลักฐานในขณะทำการวิเคราะห์ จึงได้ผลลัพธ์ต่างกัน เพราะให้ความเชื่อถือต่อสายรายงานและคุณสมบัติของผู้รายงานหลักฐานต่างกัน จึงได้ผลลัพธ์ต่างกัน


เมื่อมีความเห็นและมุมมองจากการวิเคราะห์ต่างกัน พวกท่านก็จะแสวงหาเหตุผลเพื่อเป็นข้อแก่ต่างให้แก่อีกฝ่ายว่าเพราะอะไรจึงเห็นต่าง เช่น ที่ท่านผู้นั้นชี้ขาดเช่นนั้น ซึ่งต่างจากเรา เป็นเพราะหลักฐานที่น่าเชื่อถือมาไม่ถึงการรับรู้ของท่านผู้นั้น ท่านจึงได้ชี้ขาดเช่นนั้นตามองค์ความรู้ที่มีอยู่ หากว่าท่านผู้นั้นได้รับรู้ถึงหลักฐานที่น่าเชื่อถือแล้ว ท่านผู้นั้นก็ย่อมไม่ชี้ขาดเช่นนั้น เป็นต้น นี่เรียกว่าแก้ต่างให้แก่กัน


ในบางประเด็นเมื่อพวกท่านเห็นต่าง ก็จะมีการอภิปรายซักถามและซักค้านกันในเชิงวิชาการ เรียกว่า การมุนาซาเราะฮฺ (المناظرة) ซึ่งแปลง่ายๆ ว่า มาร่วมพิจารณาด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อหาข้อยุติ เมื่อได้ข้อยุติหรือได้ข้อสรุปแล้วก็ไม่มีผู้แพ้หรือผู้ชนะ มีแต่ผู้ได้ประโยชน์ ฝ่ายหนึ่งก็ได้ตรวจสอบผ่านการซักค้านนั้นแล้ว ว่าทัศนะฝ่ายตนแข็งแรงและตกผลึก สามารถผ่านการตรวจสอบซักค้านได้ครบกระบวนความ อีกฝ่ายก็ได้ทบทวนและพิจารณาใหม่อีกครั้งว่ายังมีข้อบกพร่องบางอย่างในกระบวนความคิดของตน และการยอมรับว่าพลาดไป และยอมรับว่าอีกฝ่ายถูกต้อง ย่อมถือเป็นความกล้าหาญเชิงจริยธรรม ไม่ถือเอาความเห็นหรือทัศนะของตนเป็นใหญ่ แต่เอาความถูกต้องเป็นใหญ่


คนที่ยอมรับความผิดพลาดของตน ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ชนะตัวเอง และยอมรับผู้อื่นว่าดีกว่า รู้กว่า ถูกต้องกว่า เพราะเหนือผู้ที่รู้ย่อมมีผู้ที่รู้ยิ่งกว่า ปราชญ์โดยแท้จริงจะไม่ปิดกั้นประโยชน์ทางวิชาการที่ตนจะได้รับจากผู้อื่น ถึงแม้ว่าตนอาจจะรู้มากกว่าในบางเรื่อง แต่ก็ใช่ว่าจะรู้และชำนาญไปเสียทุกเรื่อง คนอื่นอาจจะรู้ไม่เท่าตนในบางเรื่อง แต่ก็อาจจะรู้มากกว่าตนในบางเรื่องหรือหลายๆ เรื่องเช่นกัน


เมื่อถือหลักคิดอย่างนี้ ปราชญ์ในยุคสะลัฟศอลิหฺก็จะไม่ปฏิเสธคุณงามความดีในระหว่างกัน ยอมรับว่าต่างฝ่ายต่างก็มีดี ต่างฝ่ายต่างก็มีหลักวิชาการและความรู้ที่สามารถแลกเปลี่ยนและเติมเต็มในระหว่างกันได้ ดังกรณีของท่านอิมามอัช-ชาฟิอียฺ (ร.ฮ.) กับอิมามมาลิก (ร.ฮ.) หรืออิมามอัช-ชาฟิอียฺ (ร.ฮ.) กับอิมามุฮัมมัด อิบนุ อัล-หะสัน อัช-ชัยบานียฺ (ร.ฮ.) หรืออิมามมาลิก (ร.ฮ.) กับอิมามอัล-ลัยษฺ อิบนุ สะอฺด์ (ร.ฮ.) เป็นต้น


ส่วนที่ถามว่า ทำไมผู้รู้ในบ้านเราจึงไม่คุยให้เคลียร์ในวงเล็กก่อนจะสอนชาวบ้านตาดำๆ จนกระทั่งเกิดฟิตนะฮฺในสังคมอย่างที่รู้กัน คำตอบก็คือ เพราะผู้รู้ในสมัยเรามิใช่ปราชญ์ในยุคสะลัฟ ศอลิหฺ ไม่มีภาวะการยอมรับในคุณงามคงามดีและความรู้ของผู้อื่น ถือฝ่ายและแบ่งพวก ยึดติดในทัศนะที่ตนชอบและเห็นด้วย กล่าวอ้างว่าความถูกต้องเป็นสิทธิสงวนเอาไว้เฉพาะฝ่ายตน และกล่าวหาว่าฝ่ายที่เห็นต่างผิดเพี้ยนไปเสียทุกเรื่อง


ลูกศิษย์ลูกหาก็ยึดมั่นถือมั่นในครูตน ครูตนรู้มากไร้เทียมทาน ใครเห็นไม่เหมือนที่ครูของตนเห็น ก็กร่นด่า สาปแช่งและโจมตี ครูเป็นอย่างไรลูกศิษย์ก็เป็นอย่างนั้น ลูกศิษย์เป็นอย่างนั้นก็บ่งชี้ว่าครูก็เป็นอย่างนั้น นิซิกราบูที่มันเค็มจนกลืนไม่ลง ก็เพราะคนปรุงใส่น้ำบูดูจนเกินขนาด ใส่มะพร้าวคั่วเสียมากจนกระเดือกไม่ลงเพราะติดคอ คนปรุงก็กลืนไม่เข้าเพราะปรุงเองเสียอย่างนั้น ครั้นจะให้คนอื่นมาลองชิมก็เบือนหน้า นาซิกราบูนั้นของอร่อย มีประโยชน์ มีคุณค่า แต่ถ้าปรุงไม่ดีก็เข้าอีหรอบที่ว่า สังคมทุกวันนี้ก็เข้าอีกหรอบนั้นแล

والله ولي التوفيق