การอ่านตะละเก็น  (อ่าน 13294 ครั้ง)

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
การอ่านตะละเก็น
« เมื่อ: กันยายน 26, 2010, 09:44:32 pm »
อัสลามมูอาลัยกุมค๋ะอาจารย์  ดิฉันอยากทราบว่าการอ่านตะละเก็นมีหรือเปล่าในซุนนะของท่านนบี(ซ.ล.)เพราะผู้รู้บงคนบอกว่าไม่มีในซุนนะ
ขอขอบคุณค่ะ

ถามโดย - แนลลี่ « เมื่อ: ตุลาคม 25, 2008, 09:00:26 pm »

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
การอ่านตะละเก็น
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 26, 2010, 09:44:58 pm »
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

การตัลกีน (สอน) ถ้อยคำ لاإله الاالله ให้แก่ผู้จะสิ้นใจ (อัลมุฮฺตะฎ๊อร) นั้นมีซุนนะฮฺให้กระทำเพราะมีรายงานระบุมาในหะดีษของท่านอบูสะอีด อัลคุดรี่ย์ (ร.ฎ.) ว่า ท่านร่อซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้กล่าวว่า (لَقِّنُواموتاكم لاإله الاالله) “พวกท่านทั้งหลายจงสอน (لاإله الاالله) แก่คนใกล้ตายของพวกท่าน” (รายงานโดยมุสลิม) ท่านอิหม่ามอันนะวาวีย์ (ร.ฮ.) อธิบายคำว่า (موتاكم) หมายถึง مَنْ قَرُبَ مَوْتُه (คนใกล้ตาย) เป็นการเรียกสิ่งนั้น ๆ ด้วยสิ่งที่มันจะกลายเป็นสิ่งนั้น (ดูอัลมัจญ์มูอฺ ชัรฮุ้ล มุฮัซซับ , อันนะวาวีย์ เล่มที่ 5 หน้า 102) การตัลกีนในกรณีไม่มีขัดแย้งว่าเป็นซุนนะฮฺ


ส่วนการตัลกีนให้แก่ผู้ตายหลังเสร็จจากการฝังศพแล้ว (تَلْقِيْنُ المَيِّتِ بَعْدَ الدَّفْنِ) นั้นนักวิชาการมีความเห็นต่างกัน นักวิชาการกลุ่มหนึ่งจากอัศฮาบ อัชชาฟิอียะฮฺ กล่าวว่า : ส่งเสริม (มุสตะฮับ) ให้ตัลกีนแก่มัยยิตหลังจากการฝังเสร็จ ส่วนหนึ่งจากนักวิชาการฝ่ายนี้คือ อัลกอฎีย์ ฮุซัยน์ , อัลมุตะวัลลีย์ , ชัยค์ นัซร์ อัลมักดิซีย์ และอัรรอฟิอีย์ เป็นต้น ท่านอบูอัมร์ อิบนุ อัซซ่อลาฮฺ (ร.ฮ.) กล่าวว่า การตัลกีนคือสิ่งที่เราคัดเลือกและปฏิบัติ โดยอาศัยหลักฐานจากหะดีษของท่านอบี อุมามะฮฺ แต่หะดีษนี้ อิหม่ามอันนะวาวีย์ (ร.ฮ.) ระบุว่าเป็นหะดีษฎ่ออีฟ (อ่อน) กระนั้นหะดีษนี้ก็มีหะดีษประจักษ์พยาน (ชะวาฮิด) มาสนับสนุน  และพลเมืองชาม (ซีเรีย) ยังคงปฏิบัติกันในยุคของบุคคลที่ถือเอาอย่างได้จวบจนปัจจุบัน (อ้างแล้ว หน้า 274-275 โดยสรุป) นักวิชาการอีกฝ่ายหนึ่งถือว่าการตัลกีน หลังจากฝังมัยยิตแล้วเป็นอุตริกรรม (บิดอะฮฺ) เพราะไม่มีหะดีษที่ยืนยันและถูกต้องในเรื่องนี้ เรียกปัญหาข้อนี้ว่า ประเด็นปัญหาของเมืองฮิมซ์ (ชาม) –ดูสุบุลุซซลาม ชัรฮุ บุลูฆิ้ลมะรอม ; อัซซอนอานีย์ เล่มที่ 2 หน้า 577-578-


ท่านชัยคุลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮฺ (ร.ฮ.) ได้กล่าวว่า : การตัลกีนที่ถูกระบุถึงนี้ถูกถ่ายทอดมาจากซอฮาบะฮฺกลุ่มหนึ่งว่าพวกท่านเหล่านั้นได้ใช้ให้กระทำ เช่น อบีอุมามะฮฺ อัลบาฮิลี่ย์ , ท่านวาซิละฮฺ อิบนุ อัลอัสกออฺ และส่วนหนึ่งจากบรรดาอิหม่ามที่อนุโลมในเรื่องตัลกีนนั้นได้แก่ ท่านอิหม่ามอะฮฺมัด (ร.ฮ.) และกลุ่มหนึ่งจากสานุศิษย์ของท่านถือว่าเป็นสิ่งที่ชอบให้กระทำ และกลุ่มหนึ่งจากอัศฮาบของอิหม่ามอัชชาฟิอีย์ (ร.ฮ.) ส่วนตัวท่านอิหม่ามอัชชาฟิอีย์ (ร.ฮ.) นั้นไม่มีสิ่งที่ถูกถ่ายทอดจากท่านในเรื่องนี้ และส่วนหนึ่งจากบรรดานักวิชาการคือผู้ที่ถือว่า การตัลกีนเป็นสิ่งน่ารังเกียจ (มักรูฮฺ) เนื่องจากเชื่อว่าเป็นอุตริกรรม (บิดอะฮฺ) ดังนั้นคำพูดในเรื่องตัลกีนจึงมี 3 คำพูด คือ ส่งเสริมให้กระทำ (มุสตะฮับ) น่ารังเกียจ (มักรูฮฺ) และอนุญาต (อิบาฮะฮฺ) ข้อนี้เป็นคำพูดที่เป็นกลางที่สุด ท่านอิบนุตัยมียะฮฺ (ร.ฮ.) สรุปว่า ที่ตะฮฺกีก (ตรวจทานอย่างชัดเจนแล้ว) ถือว่าการตัลกีนเป็นสิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้ (ญาอิซฺ) มิใช่ซุนนะฮฺที่แข็งแรงแต่อย่างใด (ดู มัจญ์มูอะฮฺ อัลฟะตาวา เล่มที่ 24 หน้า 165-166 โดยสรุป)

والله أعلم