วลีเตาลียะห์  (อ่าน 9649 ครั้ง)

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
วลีเตาลียะห์
« เมื่อ: ตุลาคม 05, 2010, 11:00:36 pm »
อัสสลามุอลัยกุมครับท่านอาจารย์
จากคำถามคุณ
Zaid
เรืองนิกะห์
อาจารย์ตอบดังนี้
zaid
บุคคลทั่วไป
  การนิกาฮ
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2009, 08:07:43 pm »

--------------------------------------------------------------------------------
หญิงมุอัลลัฟทำการนิกาฮโดยที่พ่อแม่ไม่ยินยอม หรือไม่ได้บอกกล่าวให้พ่อแม่ตนรู้ ถือว่าการนิกาฮนั้นใช้ได้หรือไม่

ยาซากิลลาฮุคอยรอน
 
 แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล    บันทึกการเข้า
 
 

 
 
อ.อาลี เสือสมิง
Global Moderator
Newbie

กระทู้: 2


  Re: การนิกาฮ
« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2009, 06:29:54 pm »

--------------------------------------------------------------------------------

الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد...؛


เข้าใจ ว่า  หญิงมุอัลละฟะฮฺที่จะทำการนิกาฮฺนี้  พ่อของเธอมิใช่มุสลิม  คือ  ถือกันคนละศาสนา  ถ้าเป็นไปตามความเข้าใจนี้  (เพราะคุณ  zaid มิได้ระบุมา)  พ่อของเธอก็ไม่มีสิทธิเป็นวะลีย์  (ผู้ปกครองฝ่ายหญิง)  แต่อย่างใด  และถือว่าหญิงมุอัลละฟะฮฺนี้ไม่มีวะลีย์ในการนิกาฮฺ  ก็ต้องให้นางแต่งตั้งวะลีย์ที่เป็นมุสลิมทำการนิกาฮฺ  ซึ่งจะเป็นวะลีย์มุฮักกัมหรือวะลีย์เตาลียะฮฺก็แล้วแต่กรณี

และ เมื่อพ่อของนางไม่ยินยอมในการนิกาฮฺของนางก็ไม่มีผลแต่อย่างใด  เพราะพ่อที่ถือกันคนละศาสนาไม่มีสิทธิในการเป็นวะลีย์หญิงมุสลิมะฮฺอยู่ แล้ว  หากการดำเนินการนิกาฮฺครบเงื่อนไขและกระทำอย่างถูกต้อง  ก็ถือว่าการนิกาฮฺนั้นใช้ได้  พ่อจะยอมหรือไม่ก็ตาม  จะรู้เรื่องหรือไม่ก็ตาม  ไม่มีผลใด ๆ แต่ที่ดีก็ควรบอกกล่าวให้พ่อและแม่ของฝ่ายหญิงรับรู้  ส่วนเมื่อรับรู้แล้วจะยินยอมหรือไม่  กรณีนี้ไม่มีผลในการนิกาฮฺดังที่กล่าวมาแล้ว


والله أعلم بالصواب
 
 
 
เรียนขอความกรุณาให้รายละเอียดเกี่ยวกับ  \"วลีเตาลียะห์\"  ดังนี้ครับ
ความหมาย
ประเภท  เกี่ยวกับเรื่องนิกะห์  หรือประเภทอื่น ๆ ด้วย
ฮุกม
สำหรับการนิกะห์มีสำนวนอย่างไร
ผม ใช้ในลักษณะตั้งมุฮักกัม  ส่วนเตาลียะห์มีข้อมูลไม่ละเอียดทราบจากการบรรยายและการตอบปัญหาว่าทำได้จึง เรียนท่านอาจารย์ช่วยให้รายละเอียดด้วยครับ


ถามโดย - นักศึกษา « เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2009, 09:26:48 am »

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ตอบ : วลีเตาลียะห์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 05, 2010, 11:01:19 pm »
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد...؛


คำว่า  “เตาลียะฮฺ”  (تَوْلِيَة)  เป็นอาการนาม  (مَصْدَر)  ของกริยา  วัลลา  (وَلّى)  เช่น  ใช้สำนวนว่า  (وَلّى فلانًاالأمرَ)  หมายถึงกำหนดให้ชายผู้หนึ่งเป็นผู้ปกครองเหนือเขา  (جعَله وَالِيًا عَلَيْهِ)  ในกรณีของการนิกาฮฺก็คือ  ตั้งให้ชายผู้นั้นเป็นวะลีย์ในการทำการตกลงนิกาฮฺ  (อักดุนฺนิกาฮฺ)  


ส่วนคำว่า  “ตะฮฺกีม”  (تَحْكِيْم)  เป็นอาการนาม  (مصدر)  ของกริยา  ฮักฺกะม่า  (حكَّمْ)  เช่นใช้สำนวนว่า  ( حكمه فى الأمْرِْ) หมายถึง  มอบหมายการชี้ขาดไปยังเขาในเรื่องนั้น  ๆ  (فوَّض إليه الحكْمَ فيه)  หรือ  หมายถึง  ตั้งให้เขาดำรงตำแหน่งฮากิม  (ผู้ปกครอง)  (وَلاّ ه وأقامَه حاكِمًا)  เรียกคนที่ถูกแต่งตั้งว่า  مُحَكَّم  (มุฮักฺกัมฺ)  ในกรณีของการนิกาฮฺคือ  บุคคลที่ทั้งฝ่ายชาย  (ผู้สู่ขอ,  เจ้าบ่าว)  และฝ่ายหญิง  (เจ้าสาว)  ที่จะสมรสกันตั้งให้เป็นวะลีย์  เรียกกันว่า  วะลีย์ตะฮฺกีม  (وَلِيُّ تحكيم)  


ทั้ง  2 กรณีเป็นข้ออนุโลมตามมัซฮับอัชชาฟิอีย์สำหรับฝ่ายหญิงที่ไม่มีวะลีย์ค็อส  (وَلِيٌّ خاصٌّ)  เช่น  บิดา  ปู่  เป็นต้นตามลำดับของผู้มีสิทธิเป็นวะลีย์ที่ถูกกำหนดไว้ให้ตั้งบุคคลที่มีความยุติธรรมขึ้นทำหน้าที่ในการทำข้อตกลงนิกาฮฺ  (อักดุนนิกาฮฺ)  แก่ฝ่ายหญิง  เพราะตามมัซฮับอัชชาฟิอีย์ไม่อนุญาตให้ฝ่ายหญิงทำข้อตกลงการนิกาฮฺด้วยตัวนางเองโดยตรง  เมื่อนางต้องการนิกาฮฺก็จำต้องตั้งผู้ทำหน้าที่เป็นวะลีย์แก่ตัวนาง  


ซึ่งมีอยู่  2 กรณีคือ
(1)  นางตั้งให้ชายผู้มีความยุติธรรม (عَدْل)  และเป็นเสรีชน  (حُرٌّ)  ทำหน้าที่ดังกล่าว  เรียกวะลีย์ประเภทนี้ว่า  “วะลีย์เตาลียะฮฺ”  คือวะลีย์ที่ทำหน้าที่ในการทำข้อตกลงนิกาฮฺ  (อักดุนนิกาฮฺ)  เท่านั้น  โดยข้อพิเศษของวะลีย์เตาลียะฮฺนี้อยู่ที่ว่า  ฝ่ายหญิงเป็นผู้ตั้งฝ่ายเดียว  โดยที่ฝ่ายชายไม่ต้องร่วมในการแต่งตั้งด้วย  และเงื่อนไข  (شُرُوط)  หรือคุณสมบัติของวะลีย์เตาลียะฮฺนี้มีไม่มากและไม่เข้มงวดเท่ากับวะลีย์ประเภทตะฮฺกีม


(2)  ให้นางและผู้สู่ขอนาง  (เจ้าบ่าว)  ตั้งบุคคลที่มีความยุติธรรมเสรีชนทำหน้าที่นิกาฮฺบุคคลทั้งสอง  วะลีย์ประเภทนี้เรียกว่า  วะลีย์ตะฮฺกีม  ซึ่งมีเงื่อนไขว่าต้องไม่มีวะลีย์อาม  (وَلِيٌّ عَامٌّ)  เช่น  ฮากิม  (ผู้ปกครอง,  เจ้าเมือง)  หรือกอฎีย์  เป็นต้น  หรือมีแต่ปรากฏว่าวะลีย์อามนั้นเรียกร้องสินจ้างในการทำข้อตกลงนิกาฮฺสูงเกินควรหรือวะลีย์อามนั้นอยู่ห่างจากสถานที่ประกอบพิธีนิกาฮฺเกินกว่าระยะทางที่อนุญาตให้ละหมาดย่อได้  (ประมาณ 96 ก.ม.)  


นักวิชาการในมัซฮับอัชชาฟิอีย์บางท่านระบุว่า  ผู้ทำหน้าที่เป็นวะลีย์ตะฮฺกีม หรือ มุฮักกัมต้องเป็นผู้ทรงปัญญา  (มุจญ์ตะฮิด)  ในกรณีที่มีกอฎีย์ทำหน้าที่อยู่  ฉะนั้นถ้าหากมีกอฎีย์ทำหน้าที่อยู่  วะลีย์ตะฮฺกีมหรือมุฮักกัมจะต้องเป็นผู้ทรงภูมิปัญญา  (มุจญ์ตะฮีด)  การทำการนิกาฮฺของวะลีย์ตะฮฺกีมถึงจะเซาะฮฺ  (ใช้ได้)  แต่ถ้าไม่มีกอฎีย์  การแต่งตั้งวะลีย์ตะฮฺกีมให้ทำหน้าที่ดังกล่าวถือว่าใช้ได้ถึงแม้ว่าวะลีย์ตะฮฺกีมนั้นจะไม่ใช่ผู้ทรงภูมิปัญญา  (มุจญ์ตะฮิด)  ก็ตาม  (อิอานะตุตตอลิบีน    เล่มที่  3  หน้า  364-365)  


ในบางตำราระบุคำว่า  ฮากิม  (ผู้ปกครอง, เจ้าเมือง)  แทนคำว่า  กอฎีย์  กล่าวคือ  ถ้าหากไม่มีฮากิม  ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงก็มีสิทธิที่จะตะฮฺกีม  (ตั้งมุฮักกัม)  ผู้มีความยุติธรรมให้ทำหน้าที่อะก็อดให้แก่บุคคลทั้งสองได้ถึงแม้ว่าผู้ทำหน้าที่นั้นจะไม่ใช่มุจญ์ตะฮิดก็ตาม แต่ถ้ามีฮากิมถึงแม้จะเป็นฮากิมฎ่อรูเราะฮฺ  บุคคลทั้งสองจะต้องไม่ตะฮฺกีมนอกจากผู้ที่เป็นมุจญ์ตะฮิดเท่านั้น  (บินญัยริมีย์  อะลัลคอฏีบ  เล่มที่  3  หน้า  342)  


จะเห็นได้ว่าคุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้เป็นวะลีย์ตะฮฺกีมหรือมุฮักกัมนั้นมีความเข้มงวดมากกว่าวะลีย์เตาลียะฮฺในประเภทแรก  และการตะฮฺกีมต้องเกิดจาก  2 ฝ่ายคือ ตะฮฺกีมทั้งฝ่ายเจ้าสาวและฝ่ายเจ้าบ่าว  (อิอานะตุตตอลิบีน  เล่มที่  3  หน้า  364)  ต่างจากกรณีของการเตาลียะฮฺ  ซึ่งเป็นการแต่งตั้งวะลีย์จากฝ่ายหญิงเท่านั้น  ทั้งนี้โดยอาศัยลักษณะปรากฏของตัวบท  (ظَاهِرُالنَّصِّ)  ที่มีรายงานจากท่านอิหม่ามอัชชาฟิอีย์  (ร.ฮ.)  โดยท่านยูนุส  อิบนุ  อับดิลอะอฺลา  เป็นผู้รายงาน  ซึ่งตัวบทดังกล่าวนี้เป็นหลักฐานในมัซฮับสำหรับการตั้งวะลีย์ทั้ง  2 ประเภทดังที่กล่าวมา  (กิฟายะตุ้ลอัคย๊าร,  อัลฮุซฺนีย์  หน้า  356)  


ทั้งนี้ถึงแม้ว่าจะมีการอธิบายตัวบทของท่านอิหม่ามอัชชาฟิอีย์  (ร.ฮ.)  ดังกล่าวในเชิงชี้ชัดว่าเป็นการตั้งวะลีย์แบบตะฮฺกีมเพียงประการเดียวก็ตาม  แต่ลักษณะปรากฏของตัวบท  (ظَاهِرُالنَّصِّ)  นั้นมีสำนวนและนัยบ่งชี้ถึงการตั้งวะลีย์แบบเตาลียะฮฺอยู่ด้วย  (ดูรายละเอียดในอัลฟะตาวา  อัลกุบรอ  อัลฟิกฮียะฮฺ  อะลา  มัซฮับ  อัลอิหม่ามอัชชาฟิอีย์ของอิบนุฮะญัร  อัลฮัยตะมีย์  เล่มที่  4  หน้า  11-17  กิตาบอันนิกาฮฺ;  ดารุ้ลกุตุบ  อัลอิลมียะฮฺ  เบรุต)  


กรณีการตั้งวะลีย์เตาลียะฮฺนี้ในบ้านเรามิค่อยรู้จักและนำมากระทำกันทั้ง ๆ ที่สะดวกและง่ายกว่าการตั้งวะลีย์ตะฮฺกีม  แต่เท่าที่ผมจำได้จากคำบอกเล่าของครูของผม  ซึ่งท่านเป็นศิษย์ของท่านอาจารย์อับดุลกะรีม  หลังสัน  (ร.ฮ.)  ท่านเล่าว่า  อาจารย์กะรีมและอาจารย์อิสมาแอล  โซ๊ะเฮง  (ครูแอ  โซ๊ะเฮง)  (ร.ฮ.)  ท่านถือในการตั้งวะลีย์แบบเตาลียะฮฺ  และเคยมีผู้รู้บางท่านเคยคัดค้านในเรื่องนี้  


แต่อาจารย์อับดุลกะรีม  (ร.ฮ.)  ก็บอกให้ลูกศิษย์ของท่านนำกิตาบตุฮฺเฟาะฮฺ  มาเปิดอ่านต่อหน้าท่านครูเหล่านั้น  ซึ่งหลังจากฟังแล้วท่านครูเหล่านั้นก็มิได้คัดค้านแต่อย่างใด  ท่านอาจารย์ทั้งสองนั้นท่านเป็นนักเรียนกลันตันที่มีความเก่งกาจในเรื่องฟิกเกาะฮฺเป็นอันมาก  จึงเป็นไปได้ว่าท่านทั้งสองพบหลักฐานในเรื่องนี้  (วะลีย์เตาลียะฮฺ)  จากตำรับตำราใหญ่ ๆ ในมัซฮับอัชชาฟิอีย์  


ในส่วนของตำราตุฮฺเฟาะฮฺนั้นผมไม่มีจึงไม่อาจนำข้อความมาอ้างอิงได้  อย่างไรก็ตามเรื่องนี้เป็นเรื่องของความเข้าใจ  เป็นเรื่องของทัศนะในภาควิชาฟิกฮฺ  ซึ่งเป็นเรื่องที่เปิดกว้าง  สามารถเลือกได้ตามความเหมาะสม  กรณีที่คุณ zaid  ใช้ลักษณะตั้งมุฮักกัมนั้นก็เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้อยู่แล้ว  เพราะเป็นสิ่งที่รับรู้กันโดยทั่วไป  เรื่องก็มีอยู่เพียงแค่นี้!


والله أعلم بالصواب