การที่บิดาห้ามลูกชายแต่งงานกับหญิงผู้ศรัทธาที่เข้ารับอิสลามนานแล้ว  (อ่าน 3584 ครั้ง)

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
อัสลามูอาลัยกุมครับ

ผมมีปัญหาอยากทราบว่า มีฮุกมอย่างไรบ้างหากว่า บิดานั้นได้ตั้งกฎข้อห้ามมิให้ลูกชายแต่งงานกับหญิงมุอัลลัฟไม่ว่าจะเป็น หญิงมุสลิมะห์ที่เคร่งครัดแค่ไหนก้อตาม  คือที่ห้ามเพราะเขามีอดีตเป็นกาฟิร(เท่านั้น)  ซึ่งกรณีนี้หากลูกชายฝ่าฝืนแล้ว ถือว่าเป็นการทรยศต่อบิดาตัวเองหรือไม่  

ขอรบกวนอาจารย์แค่นี้แหล่ะครับ  โปรดตอบด้วยนะครับ

วัสสลาม

ถามโดย - muhamad « เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2009, 09:08:27 pm »

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته


การนิกาฮฺกับสตรีมุอัลละฟะฮฺที่มีความเคร่งครัดในศาสนานั้นเป็นเรื่องที่อนุญาต  (มุบาฮฺ)  แต่การฏออัตเชื่อฟังบิดาหรือมารดานั้นเป็นเรื่องที่จำเป็น  (วาญิบ)  ถึงแม้ว่าการตั้งกฎของบิดาดังเช่นที่ว่ามาดูจะเป็นการเข้มงวดเกินไปก็ตาม  เมื่อบิดารังเกียจสตรีดังกล่าว  ผู้เป็นบุตรก็ควรหลีกเลี่ยงจากการนิกาฮฺกับสตรีคนนั้น  เพราะผู้เป็นบุตรจำเป็นต้องกตัญญูและให้เกียรติบิดามารดาของตน  แต่ถ้าผู้เป็นบุตรยืนกรานที่จะนิกาฮฺกับสตรีคนนั้น  บิดามารดาก็จะไม่พอใจและผู้เป็นบุตรก็จะเข้าข่ายเป็นลูกเนรคุณ  (عقوق)  ได้  


เรื่องเช่นนี้อาจจะเข้าใจว่าขัดกันในกรณีที่ว่าทำไมเมื่ออนุญาตให้นิกาฮฺกับสตรีมุอัลละฟะฮฺได้  แล้วทำไมต้องกลายเป็นการเนรคุณด้วยเมื่อพ่อแม่ไม่พอใจและเป็นการขัดคำสั่งบุคคลทั้งสอง  เรื่องนี้นักวิชาการระบุว่า  เป็นการยกเลิกฮุก่มหนึ่ง  (คืออนุญาตแต่งงาน)  ด้วยฮุก่มของอัลลอฮฺอีกข้อหนึ่ง  คือการที่วาญิบต้องเชื่อฟังบิดามารดานั่นเอง  


มีกรณีที่เคยเกิดขึ้นกับท่านอิบนุ  อุมัร  (ร.ฎ.)  ซึ่งท่านมีภรรยาสุดที่รักอยู่กินกัน  แต่ท่านอุมัร  (ร.ฎ.)  ผู้เป็นพ่อไม่ชอบนาง  จึงบอกให้อิบนุ  อุมัร  (ร.ฎ.)  หย่านางเสีย  อิบนุ  อุมัร  ก็ไม่ยอม  ท่านอุมัร  (ร.ฎ.)  จึงไปหาท่านนบี  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)  และเล่าเรื่องที่เกิดให้ท่านนบี  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)  ทราบ  ท่านนบี  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)  จึงบอกให้ท่านอิบนุ  อุมัร  (ร.ฎ.)  หย่าภรรยาของตนเสีย  (หะดีษรายงานโดยอบูดาวูด,  อัตติรมีซีย์  ซึ่งกล่าวว่า  เป็นหะดีษหะซันซ่อฮีฮฺ)  


นี่ขนาดว่าเป็นภรรยาอยู่กินกันแล้ว  บุตรยังต้องหย่าตามความปรารถนาของพ่อ  แล้วกรณีที่ยังไม่ได้นิกาฮฺกันเล่า  ก็ย่อมเป็นเรื่องที่สมควรยิ่งกว่าที่จะต้องเชื่อฟังผู้เป็นบิดา  หากบุตรชายยังคงยืนกรานที่จะนิกาฮฺกับสตรีผู้นั้น  เพราะว่าเธอเป็นคนดี  เป็นคนที่รักศาสนา  ถึงแม้ว่าอดีตของเธอจะมิใช่มุสลิม  แต่การเข้ารับอิสลามได้ยกเลิกเรื่องในอดีตไปหมดสิ้นแล้ว  ก็จงขอดุอาอฺต่ออัลลอฮฺ  (ซ.บ.)  อย่างมุ่งมั่น  ขอให้พระองค์ทรงเปลี่ยนใจของผู้เป็นพ่อ  จากเกลียดเป็นรัก  และจงอดทนรอคอย  ถ้าพระองค์ทรงตอบรับ  และสตรีผู้นั้นเป็นคู่กัน  ก็คงไม่แคล้วกัน  


ผู้หญิงที่จะนิกาฮฺด้วยมีให้เลือกอีกมากมาย  แต่พ่อของเรามีคนเดียว  ที่สำคัญ  เมื่อเรามีครอบครัวแล้วเรามิได้อยู่กับภรรยาเพียงสองคนแต่มีพ่อแม่พี่น้องที่จะเป็นปู่เป็นย่าของลูกอีกด้วย  จงมั่นในดุอาอฺและจงมั่นในการเชื่อฟังพ่อและแม่  อินชาอัลลอฮฺ  พระองค์จะทรงประทานทางออกให้  ทุกอย่างอาจจะจบอย่างแฮปปี้แอนดิ้งก็ได้  ขอเป็นกำลังใจกับชายผู้นั้น!


والله ولي التو فيق